KMITL Innovation Expo 2025 Logo

รายการนวัตกรรม

รวมสุดยอดนวัตกรรมแห่งอนาคต ที่พัฒนาโดยนักวิจัยไทย! พบกับเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดจาก KMITL ที่จะเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตและอุตสาหกรรมของเรา

การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของหัวสร้างออกซิเจนชนิดนาโนกับขนาดกำลังปั๊มที่ต่างกันในบ่ออนุบาลปลากะพง

คณะเทคโนโลยีการเกษตร

การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของหัวสร้างออกซิเจนชนิดนาโนกับขนาดกำลังปั๊มที่ต่างกันในบ่ออนุบาลปลากะพง

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของหัวสร้างออกซิเจนชนิดหัวนาโนที่ ใช้ขนาดกำลังปั้มต่างกันในบ่ออนุบาลปลากะพง โดยทดลองใช้หัวสร้างออกซิเจนในขนาด กำลังปั้มหลายระดับเพื่อตรวจสอบการกระจายของออกซิเจนที่ละลายในน้ำและ ผลกระทบต่อ สุขภาพการเจริญเติบโตและอัตราการรอดของปลากะพงผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าขนาดกำลังปั้มที่ต่างกันส่งผลต่อระดับออกซิเจนที่ละลายในน้ำโดยขนาดกำลังปั้มที่เหมาะสมช่วยเพิ่มการกระจาย ตัวของออกซิเจนในบ่อเลี้ยงทำให้ปลากะพงมีอัตราการรอด และการเจริญเติบโตที่ดีขึ้น ผลการวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการเลือกใช้หัวสร้างออกซิเจนและขนาดปั้มที่เหมาะสมในระบบบ่ออนุบาลปลา การทดลองนี้แบ่งออกเป็น 2 สภาวะ คือ 1.สภาวะไม่มีปลาทดสอบความสามารถในการเติมออกซิเจนค่าสัมประสิทธิ์ในการเติมออกซิเจนอัตราการถ่ายเทออกซิเจนเเละค่าประสิทธิภาพการถ่ายเทออกซิเจนที่ได้จากปั๊มที่กำลังต่างกัน 3 ขนาด 2.สภาวะมีปลาสภาวะนี้จะทดสอบความเพียงพอ ของออกซิเจนที่ได้จากปั๊มกำลังที่ต่างกัน 3 ขนาดโดยทดลอง วัดจากอัตราการเจริญเติบโต และอัตรารอดของปลาในบ่อ นับค่าโลหิตเพื่อตรวจภูมิคุ้มกัน ข้อมูลที่ได้จะนำไปวิเคระห์ข้อมูลทางสถิติ โดยวิเคราะห์ข้อมูล แบบ RCBD ในสภาวะไม่มีปลา เเละวิเคราะห์ข้อมูลแบบบ CRD ในสภาวะที่มีปลาผ่านโปรแกรม SPSS

การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล Young Smart Farmer จังหวัดจันทบุรี

คณะเทคโนโลยีการเกษตร

การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล Young Smart Farmer จังหวัดจันทบุรี

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์พัฒนาเว็บไซต์เก็บรวบรวมข้อมูลของ Young Smart Farmer จังหวัดจันทบุรี ใช้แบบสัมภาษณ์เก็บจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 ราย เพื่อการพัฒนาเว็บไซต์ โดยนำข้อมูลที่ได้มาจัดหมวดหมู่และใช้ข้อมูลดังกล่างในการพัฒนาเว็บไซต์เพื่อเผยแพร่แก่เกษตรกรและบุคคลที่สนใจ จากนั้นดำเนินการศึกษาความพึงพอใจต่อเว็บไซต์ โดยใช้แบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชายและเพศหญิงเท่ากัน มีอายุอยู่ระหว่าง 36-40 ปีมากที่สุด ร้อยละ 50.00 เป็น Young Smart Farmer อำเภอขลุง แหลมสิงห์ และแก่งหางแมวมากที่สุด ร้อยละ 13.33 สำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 60.00 ประกอบอาชีพหลักเป็นเกษตรกร ร้อยละ 73.33 ผลการศึกษาความพึงพอใจต่อเว็บไซต์เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล Young Smart Farmer พบว่ากลุ่มตัวอย่างพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยเรียงลำดับได้ดังนี้ 1) ด้านการใช้งานเว็บไซต์ (ค่าเฉลี่ย 4.97) 2) ด้านความพึงพอใจโดยภาพรวม (ค่าเฉลี่ย 4.93) 3) ด้านคุณภาพของเนื้อหา (ค่าเฉลี่ย 4.91) 4) ด้านประโยชน์และการนำไปใช้ (ค่าเฉลี่ย 4.87) และ 5) ด้านการออกแบบและการจัดรูปแบบมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.85) ตามลำดับ

การออกแบบสวนสาธารณะ :  ซีรีนอาร์เบอร์พาร์ค

คณะเทคโนโลยีการเกษตร

การออกแบบสวนสาธารณะ : ซีรีนอาร์เบอร์พาร์ค

การออกแบบสวนสาธารณะพื้นที่ 50 ไร่ ในแนวคินสวนป่าพื้นที่เขต ลาดกระบัง จังหวัด กรุงเทพมหาคร เป็นการนำเสนอสวนสาธารณะที่ใช้ในการเป็นพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจของคนเมืองในเขตลาดกระบังและผู้คนละแวกใกล้เคียง จึงมุ่งเน้นกลุ่มผู้ใช้งานเป็นกลุ่มนักเรียน นักศึกษา และกลุ่มคนทำงาน ที่มีการผสานกับแนวคิด Universal Design ในการออกแบบพื้นที่ให้ทุกคนในสังคม สามารถใช้งานร่วมกันได้อย่างเท่าเทียม แต่ยังคงมุ่งเน้นให้มีพื้นที่นันทนาการแบบกระฉับกระเฉงเพื่อตรงต่อความต้องการที่เล่นกีฬาและออกกำลังกายของกลุ่มนักเรียน นักศึกษา และกลุ่มคนทำงาน และการออกแบบพื้นที่เขตลาดกระบังเป็นพื้นที่ราบลุ่ม คล้ายแอ่งกระทะ จึงมีการออกแบบพื้นที่ให้มีพื้นที่รับน้ำ หน่วงน้ำ และบำบัดน้ำเพื่อใช้ในพื้นที่สวน โดยภายในพื้นที่ เน้นไปที่พื้นที่ออกกำลังกาย กีฬา วิ่ง เดิน ที่พักผ่อน และพื้นที่สวนเพื่อการเรียนรู้

คินเดอร์ฟอร์เรสต์ เกมสร้างสิ่งของและไขปริศนาด้วยเทคโนโลยีวีอาร์

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ

คินเดอร์ฟอร์เรสต์ เกมสร้างสิ่งของและไขปริศนาด้วยเทคโนโลยีวีอาร์

โครงงานเรื่อง คินเดอร์ฟอร์เรสต์ เกมสร้างสิ่งของและไขปริศนา ด้วยเทคโนโลยีวีอาร์ มีจุดประสงค์ในการจัดทำขึ้นเพื่อเป็นเกมส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหา และทักษะการประยุกต์ในระดับเบื้องต้น โดยนำเสนอในรูปแบบเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน เพื่อมุ่งเน้นให้ผู้เล่นได้มีส่วนร่วมทางร่างกายระหว่างการเล่นเกมพร้อมกับการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และทักษะการประยุกต์ระดับเบื้องต้น ทางคณะผู้จัดทำได้เลือกใช้ อันเรียลเอนจิน 5.1 (Unreal Engine 5.1)และแว่นตาโลกเสมือนโอคูลัส เควส 2 (Oculus Quest 2) มาพัฒนาเกมในรูปแบบเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือนโดยภายในตัวเกมจะมีด่านที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์และวิธีการในการผ่านด่านที่ต่างกันไป มีการจับเวลาในการทำภารกิจเพื่อผ่านด่าน ผู้เล่นจะขยับร่างกายเมื่อมีการเคลื่อนไหวภายในเกม อุปสรรคของผู้เล่นในแต่ละด่านจะทำให้ผู้เล่นต้องใช้การขยับร่างกายไปพร้อมกับการแก้ไขปัญหา เป็นต้น และเกมจะมีการแสดงผลลัพธ์การผ่านภารกิจในขั้นต่าง ๆ ทำให้ผู้เล่นได้รางวัลที่ต่างกันตามลำดับขั้น ซึ่งเมื่อผู้เล่นผ่านก็จะมีการแสดงผลลัพธ์ให้ผู้เล่นทราบอีกด้วย

แพลตฟอร์มสำหรับการเรียนรู้การทดสอบเจาะระบบ (เซอร์คิวเรี่ยนสะเฟียร์)

คณะวิศวกรรมศาสตร์

แพลตฟอร์มสำหรับการเรียนรู้การทดสอบเจาะระบบ (เซอร์คิวเรี่ยนสะเฟียร์)

เซอร์คิวเรี่ยนสะเฟียร์ (SecurionSphere) เป็นแพลตฟอร์มสำหรับการเรียนรู้การทดสอบเจาะระบบที่เน้นไปที่การโจมตีช่องโหว่บนเว็บแอปพลิเคชัน (Web Exploitation) แพลตฟอร์มนี้ถูกออกแบบมาเพื่อแก้ไขปัญหาที่พบในแพลตฟอร์มการทดสอบเจาะระบบอื่นๆ เช่น การแบ่งปันทรัพยากรที่อาจส่งผลกระทบกับผู้ใช้งานคนอื่น และการมีสภาพแวดล้อมที่เหมือนกันเสมอ ทำให้สามารถคัดลอกคำตอบจากผู้อื่นได้ โดยผู้ดูแลการสอน (Supervisor) สามารถใช้เทมเพลตสำหรับโจทย์รูปแบบต่างๆ ของรูปแบบการโจมตีช่องโหว่ของเว็บแอปพลิเคชั่น โดยผู้ใช้งานสามารถเลือกทำโจทย์ที่สร้างจากผู้ดูแลที่เลือกเทมเพลตไว้ และแพลตฟอร์มยังมีการสุ่มสภาพแวดล้อมในการทำโจทย์ ทำให้สภาพแวดล้อมและคำตอบของโจทย์มีความหลากหลายและแตกต่างกัน ช่วยให้ผู้ใช้งานได้ประสบการณ์การเรียนรู้ที่ใกล้เคียงกับชีวิตจริงมากขึ้น โดยไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับการกระทบทรัพยากรของผู้อื่น

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นปลาจากปลาหมอคางดำ

วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นปลาจากปลาหมอคางดำ

เนื่องจากมีการระบาดของปลาหมอคางดำ ทำให้มีผลกระทบต่อระบบนิเวศโดยรวมของธรรมชาติ เพราะปลาหมอคางดำมีการแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว และมีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ส่งผลให้ปลาหมอคางดำมีจำนวนประชากรมากเกินไป ทำให้มีการแย่งชิงของอาหารและที่อยู่อาศัยของปลาพื้นถิ่น อีกทั้งพฤติกรรมการกินที่หลากหลายของปลาหมอคางดำอาจส่งผลให้เกิดการลดลงของสัตว์น้ำขนาดเล็กหรือพืชน้ำที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศอีกด้วย

ผลของแคนนาบิไดออลต่อความไวในการกระตุ้นเซลล์ประสาทไทรเจมินัลของหนู

คณะแพทยศาสตร์

ผลของแคนนาบิไดออลต่อความไวในการกระตุ้นเซลล์ประสาทไทรเจมินัลของหนู

โครงการวิจัยนี้ศึกษาผลของสาร CBD ต่อความไวของเซลล์ประสาทในการรับรู้ความเจ็บปวดจากหนู โดยใช้วิธี Whole Cell Patch Clamp เพื่อวัดพารามิเตอร์ทางไฟฟ้าสรีรวิทยาของเซลล์ที่ได้รับการเพาะเลี้ยงด้วย CBD ขนาด 0.5 uM เป็นเวลา 24 ชั่วโมงเทียบกับกลุ่มควบคุม

สื่อการเรียนรู้การประกอบคอมพิวเตอร์ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสมือน

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ

สื่อการเรียนรู้การประกอบคอมพิวเตอร์ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสมือน

ปัจจุบันการประกอบคอมพิวเตอร์ถือได้ว่าเป็นสิ่งใกล้ตัวผู้คนมากมาย ทุกคนมีโอกาสจับต้องได้ ซึ่งความรู้ในองค์ประกอบต่างๆของคอมพิวเตอร์ และทักษะในการประกอบคอมพิวเตอร์ 2 สิ่งที่กล่าวไปเป็นสิ่งที่บุคคลทั่วไปควรมีความรู้และความเข้าใจพื้นฐาน สำหรับการประกอบคอมพิวเตอร์ด้วยตนเอง เราจึงอยากที่จะให้ความรู้แก่บุคคลทั่วไปที่ต้องการที่จะเรียนรู้วิธีการประกอบ คอมพิวเตอร์ รวมไปข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับองค์ประกอบ ผ่านการนำเสนอให้ออกมาในรูปแบบของสื่อการเรียนรู้บนเทคโนโลยี VR ซึ่งจะช่วยลดปัญหาด้านความผิดพลาด และทรัพยากรที่จะใช้ในการประกอบลงไปได้ พร้อมสร้างความตื่นเต้นให้กับผู้ใช้งานด้วยการจำลองการประกอบคอมพิวเตอร์ให้ผู้ใช้ได้มีปฏิสัมพันธ์ภายในโลกเสมือน สร้างประสบการณ์ และให้ความรู้ก่อนที่จะนำไปปฏิบัติจริงกับอุปกรณ์จริง โครงงานนี้จึงถูกสร้างขึ้นเพื่อให้ผู้ที่สนใจในการประกอบคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะบุคคลที่ไม่มีประสบการณ์ในการประกอบคอมพิวเตอร์มาก่อน รวมไปถึงบุคคลที่อยากมีโอกาสได้ลองประกอบคอมพิวเตอร์ด้วยตนเอง

การพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยในการผลิตและบริการอาหารของโรงอาหารภายใน สจล.

คณะอุตสาหกรรมอาหาร

การพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยในการผลิตและบริการอาหารของโรงอาหารภายใน สจล.

การปฏิบัติกิจกรรมการดำเนินงานของโครงการประกอบด้วยการตรวจเชื้อจุลินทรีย์ในตัวอย่างอาหาร สุขลักษณะมือผู้ปรุง/ผู้สัมผัสอาหาร ภาชนะ และอุปกรณ์ การอบรมให้ความรู้เรื่องสุขาภิบาลอาหารและสุขวิทยาส่วนบุคคล สภาพการสุขาภิบาลอาหารของโรงอาหารและสุขลักษณะร่างกายของผู้ปรุงอาหาร โดยทางหลักสูตรการจัดการความปลอดภัยอาหารร่วมกับสำนักงานบริหารทรัพย์สิน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังวางแผนปฏิบัติการประเมินสถานที่จำหน่ายอาหารตามหลักมาตรฐานความปลอดภัยอาหาร SAN 20 ข้อกำหนด ตรวจการปนเปื้อนเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหาร ภาชนะอุปกรณ์ มือผู้สัมผัสโดยใช้ชุดตรวจสอบ อ.13 จำนวน 6 ตัวอย่าง เช่น อาหารปรุงสำเร็จ พื้นที่เตรียมหน้าร้าน มือผู้สัมผัสอาหาร นอกจากนี้ยังมีการตรวจการปนเปื้อนเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในน้ำใช้ น้ำแข็งด้วยชุดตรวจสอบ อ.11 ผลวิเคราะห์ที่ได้ทั้งทางกายภาพ จุลินทรีย์และเคมีเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยในการผลิตและบริการอาหารของโรงอาหารภายในสถาบัน