KMITL Innovation Expo 2025 Logo

การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของหัวสร้างออกซิเจนชนิดนาโนกับขนาดกำลังปั๊มที่ต่างกันในบ่ออนุบาลปลากะพง

รายละเอียด

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของหัวสร้างออกซิเจนชนิดหัวนาโนที่ ใช้ขนาดกำลังปั้มต่างกันในบ่ออนุบาลปลากะพง โดยทดลองใช้หัวสร้างออกซิเจนในขนาด กำลังปั้มหลายระดับเพื่อตรวจสอบการกระจายของออกซิเจนที่ละลายในน้ำและ ผลกระทบต่อ สุขภาพการเจริญเติบโตและอัตราการรอดของปลากะพงผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าขนาดกำลังปั้มที่ต่างกันส่งผลต่อระดับออกซิเจนที่ละลายในน้ำโดยขนาดกำลังปั้มที่เหมาะสมช่วยเพิ่มการกระจาย ตัวของออกซิเจนในบ่อเลี้ยงทำให้ปลากะพงมีอัตราการรอด และการเจริญเติบโตที่ดีขึ้น ผลการวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการเลือกใช้หัวสร้างออกซิเจนและขนาดปั้มที่เหมาะสมในระบบบ่ออนุบาลปลา การทดลองนี้แบ่งออกเป็น 2 สภาวะ คือ 1.สภาวะไม่มีปลาทดสอบความสามารถในการเติมออกซิเจนค่าสัมประสิทธิ์ในการเติมออกซิเจนอัตราการถ่ายเทออกซิเจนเเละค่าประสิทธิภาพการถ่ายเทออกซิเจนที่ได้จากปั๊มที่กำลังต่างกัน 3 ขนาด 2.สภาวะมีปลาสภาวะนี้จะทดสอบความเพียงพอ ของออกซิเจนที่ได้จากปั๊มกำลังที่ต่างกัน 3 ขนาดโดยทดลอง วัดจากอัตราการเจริญเติบโต และอัตรารอดของปลาในบ่อ นับค่าโลหิตเพื่อตรวจภูมิคุ้มกัน ข้อมูลที่ได้จะนำไปวิเคระห์ข้อมูลทางสถิติ โดยวิเคราะห์ข้อมูล แบบ RCBD ในสภาวะไม่มีปลา เเละวิเคราะห์ข้อมูลแบบบ CRD ในสภาวะที่มีปลาผ่านโปรแกรม SPSS

วัตถุประสงค์

ประเทศไทยได้ประสบปัญหาในเรื่องของภัยธรรมชาติ ปัญหาการเปลี่ยนเเปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะปัญหาอุทกภัยและภัยเเล้ง สภาพอากาศแปรปรวน และยังมีปัญหาในด้านการทำประมงที่จำกัดดังนั้นการทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำเเบบลดความเสี่ยงจึงเป็นทางออกในการรักษาความมั่นคงของอาหาร ในปัจจุบันปลาที่สามารถปรับตัวให้อยู่ในน้ำจืดหรือน้ำกร่อยได้และเป็นที่นิยมในการรับประทานได้เเก่ปลากะพงขาว เนื่องจากเลี้ยงง่ายโตเร็ว เนื้อปลารสชาติดี และมีราคาสูงพอคุ้มค่ากับการลงทุน โดยศึกษาจากการใช้อุปกรณ์สร้างออกซิเจนชนิดหัวนาโนบับเบิ้ลเพื่อศึกษาว่าอุปกรณ์ให้ออกซิเจนชนิดหัวนาโนกับขนาดกำลังปั๊มน้ำที่ต่างกันขนาดใดมีความสามารถทำให้ออกซิเจนละลายในน้ำดีมากที่สุด อัตราการถ่ายเทออกซิเจนในน้ำ ค่าสัมประสิทธิ์ออกซิเจนที่ละลายในน้ำได้มีประสิทธิภาพมากที่สุด วัดความเจริญเติบโต อัตรารอดของปลากะพงและภูมิคุ้มกันของปลากะพง ประสิทธิภาพในการให้ ออกซิเจน ในบ่ออนุบาลปลากะพงได้ดีที่สุดและมีผลกระทบน้อยมากที่สุด

นวัตกรรมอื่น ๆ

โครงงานออกแบบของเล่นจากเศษไม้เหลือทิ้งจาก บริษัท พาเลท เมกเกอร์ กรุ๊ป จำกัด

คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ

โครงงานออกแบบของเล่นจากเศษไม้เหลือทิ้งจาก บริษัท พาเลท เมกเกอร์ กรุ๊ป จำกัด

โครงงานออกแบบของเล่นจากเศษไม้เหลือทิ้งจาก บริษัท พาเลท เมกเกอร์ กรุ๊ป จำกัด

การตรึงวัสดุนาโนโลหะบนตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยสลายอะฟลาทอกซิน บี1

คณะวิทยาศาสตร์

การตรึงวัสดุนาโนโลหะบนตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยสลายอะฟลาทอกซิน บี1

วัสดุตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงที่ตกแต่งด้วยวัสดุนาโนโลหะ (Bi-Metallic NPs/ Photocatalyst) ได้ถูกสังเคราะห์ ในการสลายอะฟลาทอกซิน บี1 ตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงที่ตกแต่งด้วยวัสดุนาโนโลหะถูกสังเคราะห์ด้วยคลื่นอัลตราโซนิก (Ultrasonic waves) วัสดุถูกนำมาศึกษาคุณลักษณะทางเคมีโดยการใช้เทคนิค Transmission electron microscope (TEM), X-ray photoelectron spectroscopy (XPS), X-ray diffraction analysis (XRD), Fourier transform infrared spectrometer (FT-IR), Zeta potential analyzer และ UV-visible spectrophotometer อนุภาคนาโนโลหะบนตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงถูกนำมาทดสอบประสิทธิภาพในการย่อยสลาย AFB1 ในน้ำเสียจากน้ำทิ้งครัวเรือนภายใต้แสงวิสิเบิล โดยนำมาวิเคราะห์ด้วยโครมาโตกราฟีของเหลวสมรรถนะสูง ช่วงความยาวคลื่น 365 นาโนเมตร พบว่าสามารถกำจัด AFB1 ได้อย่างมีประสิทธิภาพถึง 100 % ภายในเวลา 2 นาที ประสิทธิภาพที่เหนือชั้นนี้เป็นผลมาจาก โครงสร้างที่มีรูพรุนสูง พื้นที่ผิวจำเพาะที่เพิ่มขึ้น และอัตราการรวมตัวใหม่ของอิเล็กตรอน-โฮลที่ลดลง แสดงให้เห็นว่าวัสดุนาโนที่ได้พัฒนาประสบความสำเร็จในการสลาย AFB1

การประยุกต์ใช้การเรียนรู้ของเครื่อง กระบวนการเฟ้นสุ่ม และ  ทฤษฎีเกมในกลยุทธ์การลงทุนระยะสั้นในสินทรัพย์ทางการเงิน

คณะวิทยาศาสตร์

การประยุกต์ใช้การเรียนรู้ของเครื่อง กระบวนการเฟ้นสุ่ม และ ทฤษฎีเกมในกลยุทธ์การลงทุนระยะสั้นในสินทรัพย์ทางการเงิน

โครงงานนี้มุ่งเน้นการศึกษาและพัฒนาระบบการลงทุนระยะสั้นโดยซื้อขายทองคำในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โดยประยุกต์ใช้เทคนิคการเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning) เพื่อวิเคราะห์และคาดการณ์แนวโน้มของกราฟราคา ระบบที่พัฒนานี้ใช้กระบวนการเฟ้นสุ่ม (Stochastic Process) ในการกำหนดจุดตัดขาดทุน (Stop Loss) เพื่อเพิ่มค่าผลตอบแทนที่คาดหวังสูงสุด และใช้แนวคิดจากทฤษฎีเกม (Game Theory) ในการตัดสินใจเกี่ยวกับการถือครองหรือปิดคำสั่งซื้อขาย (Orders) ระบบดังกล่าวถูกพัฒนาและทดสอบบนแพลตฟอร์ม MetaTrader 5 (MT5) โดยโครงงานนี้นำเสนอรายละเอียดเกี่ยวกับกระบวนการทำงาน ตั้งแต่การเตรียมข้อมูล การฝึกสอนโมเดลเรียนรู้ของเครื่อง การสร้างแบบจำลองเพื่อประมาณการแจกแจงของทิศทางราคาทองคำ การกำหนดกลยุทธ์การวางจุดตัดขาดทุน การออกแบบแบบจำลองการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ตามทฤษฎีเกม ตลอดจนการพัฒนาโปรแกรมเทรดอัตโนมัติ และการทดสอบย้อนหลังเพื่อประเมินประสิทธิภาพของระบบ