ปัจจุบันการประกอบคอมพิวเตอร์ถือได้ว่าเป็นสิ่งใกล้ตัวผู้คนมากมาย ทุกคนมีโอกาสจับต้องได้ ซึ่งความรู้ในองค์ประกอบต่างๆของคอมพิวเตอร์ และทักษะในการประกอบคอมพิวเตอร์ 2 สิ่งที่กล่าวไปเป็นสิ่งที่บุคคลทั่วไปควรมีความรู้และความเข้าใจพื้นฐาน สำหรับการประกอบคอมพิวเตอร์ด้วยตนเอง เราจึงอยากที่จะให้ความรู้แก่บุคคลทั่วไปที่ต้องการที่จะเรียนรู้วิธีการประกอบ คอมพิวเตอร์ รวมไปข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับองค์ประกอบ ผ่านการนำเสนอให้ออกมาในรูปแบบของสื่อการเรียนรู้บนเทคโนโลยี VR ซึ่งจะช่วยลดปัญหาด้านความผิดพลาด และทรัพยากรที่จะใช้ในการประกอบลงไปได้ พร้อมสร้างความตื่นเต้นให้กับผู้ใช้งานด้วยการจำลองการประกอบคอมพิวเตอร์ให้ผู้ใช้ได้มีปฏิสัมพันธ์ภายในโลกเสมือน สร้างประสบการณ์ และให้ความรู้ก่อนที่จะนำไปปฏิบัติจริงกับอุปกรณ์จริง โครงงานนี้จึงถูกสร้างขึ้นเพื่อให้ผู้ที่สนใจในการประกอบคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะบุคคลที่ไม่มีประสบการณ์ในการประกอบคอมพิวเตอร์มาก่อน รวมไปถึงบุคคลที่อยากมีโอกาสได้ลองประกอบคอมพิวเตอร์ด้วยตนเอง
ในการประกอบคอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่องนั้นจำเป็นต้องมีอุปกรณ์จริงในการประกอบ หากไม่มีก็ไม่สามารถทำได้ อีกทั้งผู้ที่จะประกอบไม่มีความรู้อาจส่งผลให้ต้องใช้เวลานานในการประกอบ และ ในการปฏิบัติจริงในบางกรณีอาจส่งผลเสียกับอุปกรณ์กรณีที่ประกอบผิดขั้นตอน ซึ่งโครงงานนี้จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถได้ทดลองประกอบคอมพิวเตอร์ได้ด้วยตนเอง พร้อมกับให้ความรู้เบื้องต้น โดยผ่านการนำเสนอในรูปแบบสื่อการสอนด้วยเทคโนโลยีความจริงเสมือน เพื่อให้ผู้ใช้ได้มีปฏิสัมพันธ์ และ ได้จำลองสถานการณ์ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าใจ และ ได้ความรู้ในการประกอบคอมพิวเตอร์มากยิ่งขึ้น ก่อนที่จะนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติกับอุปกรณ์จริงได้อย่างถูกต้อง
คณะวิศวกรรมศาสตร์
เนื่องจากระบบเมืองสมัยใหม่ มีความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าที่มีเสถียรภาพสูงมากกว่าในอดีต ทำให้มีการนำระบบการส่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าด้วยสายเคเบิลใต้ดินมาใช้งานกันอย่างแพร่หลายแทนที่การส่งพลังงานไฟฟ้าด้วยสายส่งเหนือหัว อย่างไรก็ตามการส่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าด้วยสายเคเบิลใต้ดินยังมีปัญหาในการใช้งานอยู่หลายประการเช่น การลงทุนที่สูงกว่าการส่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าเหนือหัวอยู่หลายเท่า การใช้เวลาแก้ไขเป็นระยะเวลานานเมื่อเกิดความล้มเหลวของระบบส่งจ่าย ความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหาที่จำกัด ความสามารถในการรับภาระเพิ่มเติมเป็นต้น โครงการวิจัยนี้ออกแบบมาเพื่อศึกษาปัญหาของสายเคเบิลใต้ดินระบบ 22 kV XLPE โดยอาศัยเทคนิค การวิเคราะห์กระแสโพลาไรซ์และกระแสดีโพลาไรซ์ซึ่งเป็นเทคนิคการวิเคราะห์ฉนวนสมัยใหม่
คณะแพทยศาสตร์
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบโครงข่ายประสาทเทียมแบบคอนโวลูชัน (Deep Convolutional Neural Networks - CNNs) สำหรับการระบุเม็ดยาอย่างแม่นยำ เพื่อแก้ไขข้อจำกัดของการพิสูจน์เอกลักษณ์เม็ดยาด้วยทรัพยากรมนุษย์ โดยใช้ข้อมูลรูปภาพจำนวน 1,250 ภาพ จากยาสามัญประจำบ้าน 10 ชนิด นำมาทดสอบกับโมเดล YOLO ที่แตกต่างกันภายใต้เงื่อนไขต่างๆ ผลการทดลองพบว่า การใช้แสงธรรมชาติให้ผลดีกว่าเมื่อทดสอบด้วยระบบโครงข่ายประสาทเทียมแบบคอนโวลูชัน เมื่อเปรียบเทียบกับแสงจากกล่องสตูดิโอ นอกจากนี้ โมเดล YOLOv5-tiny แสดงความแม่นยำสูงสุดในการตรวจจับเม็ดยา ขณะที่โมเดล EfficientNet_b0 ให้ผลลัพธ์ดีที่สุดในการจำแนกเม็ดยา แม้ว่าระบบโครงข่ายประสาทเทียมแบบคอนโวลูชันที่พัฒนาขึ้นนี้จะให้ผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจ แต่ยังมีข้อจำกัดในเรื่องชนิดของเม็ดยาและจำนวนภาพที่ใช้ในการศึกษา อย่างไรก็ตาม งานวิจัยนี้มีศักยภาพในการส่งเสริมความปลอดภัยในการใช้ยาทั้งในระบบสาธารณสุขและผู้ป่วยนอก รวมถึงลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ยาผิดพลาด
คณะวิศวกรรมศาสตร์
การตรวจวินิจฉัยโรคดีซ่าน ซึ่งเป็นภาวะที่พบได้ทั่วไปในทารกเนื่องจากระดับบิลิรูบินในเลือดที่สูงขึ้น มักต้องการการวินิจฉัยและการตรวจสอบอย่างรวดเร็วเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง โดยเฉพาะในทารกแรกเกิด วิธีการวินิจฉัยแบบดั้งเดิมสามารถใช้เวลานานและอาจเกิดข้อผิดพลาดจากมนุษย์ได้ งานวิจัยนี้เสนอแนวทางในการตรวจวินิจฉัยโรคดีซ่านแบบเรียลไทม์โดยใช้เทคนิคการประมวลผลภาพขั้นสูงและอัลกอริทึมแมชชีนเลิร์นนิง โดยการวิเคราะห์ภาพที่ถ่ายในพื้นที่สี RGB จะมีการสกัดและประมวลผลค่าพิกเซลผ่านการปรับค่าเกณฑ์ของ Otsu และการดำเนินการทางสัณฐานวิทยาเพื่อตรวจจับรูปแบบสีที่บ่งบอกถึงโรคดีซ่าน จากนั้นตัวจำแนกจะถูกฝึกฝนเพื่อแยกแยะระหว่างภาวะปกติและภาวะดีซ่าน นำเสนอนวัตกรรมเครื่องมือวินิจฉัยที่แม่นยำและมีประสิทธิภาพ การทำงานแบบเรียลไทม์ทำให้ระบบนี้เหมาะสำหรับสถานพยาบาล โดยให้ข้อมูลเชิงลึกที่ทันเวลาแก่บุคลากรทางการแพทย์เพื่อปรับปรุงผลลัพธ์ของผู้ป่วย วิธีการที่เสนอนี้เป็นนวัตกรรมสำคัญในด้านการดูแลสุขภาพ โดยการรวมปัญญาประดิษฐ์และการถ่ายภาพทางการแพทย์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจวินิจฉัยและจัดการโรคดีซ่านได้เร็วขึ้น ลดการพึ่งพาการแทรกแซงแบบแมนนวล และปรับปรุงการให้บริการด้านสุขภาพโดยรวม