KMITL Innovation Expo 2025 Logo

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นปลาจากปลาหมอคางดำ

รายละเอียด

เนื่องจากมีการระบาดของปลาหมอคางดำ ทำให้มีผลกระทบต่อระบบนิเวศโดยรวมของธรรมชาติ เพราะปลาหมอคางดำมีการแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว และมีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ส่งผลให้ปลาหมอคางดำมีจำนวนประชากรมากเกินไป ทำให้มีการแย่งชิงของอาหารและที่อยู่อาศัยของปลาพื้นถิ่น อีกทั้งพฤติกรรมการกินที่หลากหลายของปลาหมอคางดำอาจส่งผลให้เกิดการลดลงของสัตว์น้ำขนาดเล็กหรือพืชน้ำที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศอีกด้วย

วัตถุประสงค์

เนื่องจากปลาหมอคางดำมีการแพร่กระจายของประชากรได้อย่างรวดเร็ว จึงต้องมีการควบคุมประชากรของปลาหมอคางดำด้วยการนำไปใช้ประโยชน์ จึงมีการทดลองนำปลาหมอคางดำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นปลา เพราะลูกชิ้นปลาเป็นอาหารที่เข้าถึงได้ง่าย และโปรตีนสูงอีกทั้งยังเป็นอาหารที่เหมาะสมสำหรับทุกเพศทุกวัย

นวัตกรรมอื่น ๆ

บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การออกแบบห้องครัวภายในบ้านพักอาศัย

คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี

บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การออกแบบห้องครัวภายในบ้านพักอาศัย

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การออกแบบห้องครัวภายในบ้านพักอาศัย สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี สาขาการออกแบบสภาพแวดล้อมภายใน ภาควิชาครุศาสตร์สถาปัตยกรรมและการออกแบบ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จำนวน 20 คน ปีการศึกษา 2567 เพื่อเป็นสื่อสำหรับการเรียนรู้ด้วยตนเองและเพื่อสร้างความเข้าใจให้แก่ผู้เรียนมากยิ่งขึ้น โดยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนี้ จะมีเนื้อหาการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบห้องครัวภายในบ้านพักอาศัย แบบฝึกทักษะการเรียนรู้และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อีกทั้งยังมีการโต้ตอบระหว่างผู้เรียนกับบทเรียนได้ด้วยตนเอง เพื่อทำให้ผู้เรียนมีความสนใจบทเรียนมากยิ่งขึ้น โดยมีสมมุติฐานการวิจัยว่า บทเรียนนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชา การออกแบบสภาพแวดล้อมภายใน 1 เรื่อง การออกแบบห้องครัวภายในบ้านพักอาศัย มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E1/E2 ไม่ต่ำกว่า 80/80 เนื่องจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การออกแบบห้องครัวภายในบ้านพักอาศัยเน้นการพัฒนาทางด้านความรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชา การออกแบบสภาพแวดล้อมภายใน 1 เรื่อง การออกแบบห้องครัวภายในบ้านพักอาศัยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิจัย พบว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ วิชา การออกแบบสภาพแวดล้อมภายใน 1 เรื่อง การออกแบบห้องครัวภายในบ้านพักอาศัย มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 71.50/89.00 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนของผู้เรียนสูงกว่าก่อนเรียน

สวีปซาก้า

คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ

สวีปซาก้า

แอปที่ถูกออกแบบมาเพื่อกระตุ้นให้ผู้ใช้งานมีส่วนร่วมในการทำความสะอาดโดยนำเสนอในรูปแบบเกมที่สนุกสนานที่ให้ผู้ใช้เลือกภารกิจทำความสะอาด ติดตามค่าฝุ่น และสะสมคะแนนรางวัล

การกำจัดไบโอฟิล์มในช่องปากที่เกิดจากเชื้อโรคปริทันต์อย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้ DNase I และเปปไทด์ต้านจุลชีพมนุษย์ที่ถูกดัดแปลง D-LL-31: ศักยภาพในการพัฒนาเป็นน้ำยาบ้วนปาก

คณะทันตแพทยศาสตร์

การกำจัดไบโอฟิล์มในช่องปากที่เกิดจากเชื้อโรคปริทันต์อย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้ DNase I และเปปไทด์ต้านจุลชีพมนุษย์ที่ถูกดัดแปลง D-LL-31: ศักยภาพในการพัฒนาเป็นน้ำยาบ้วนปาก

Aggregatibacter actinomycetemcomitans เป็นเชื้อก่อโรคหลักของโรคปริทันต์ โดยสามารถทำลายเอ็นยึดปริทันต์และกระดูกเบ้าฟันผ่านการสร้างไบโอฟิล์ม D-LL-31 ซึ่งเป็นเปปไทด์ต้านจุลชีพที่ถูกดัดแปลงทางวิศวกรรม แสดงศักยภาพที่สูงในการกำจัดเชื้อที่ฝังตัวในไบโอฟิล์มได้ดีกว่าวิธีรักษาแบบดั้งเดิม ขณะที่ DNase I ช่วยเสริมประสิทธิภาพโดยการสลายเมทริกซ์ของไบโอฟิล์ม โดยวัตถุประสงศ์ของงานวิจัยนี้ต้องศึกษาผลของ D-LL-31 ร่วมกับ DNase I ต่อไบโอฟิล์มของ A. actinomycetemcomitans ผลการทอลองพบว่า D-LL-31 สามารถกำจัดไบโอฟิล์มได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเมื่อใช้ร่วมกับ DNase I จะช่วยเพิ่มการทำลายไบโอฟิล์มได้มากขึ้น โดยไม่ก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อเซลล์เยื่อบุเหงือก ดังนั้นการใช้ D-LL-31 ร่วมกับ DNase I มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นน้ำยาบ้วนปาก เพื่อช่วยรักษาสุขภาพช่องปากและลดความเสี่ยงของโรคปริทันต์