คณะวิศวกรรมศาสตร์
เนื่องจากความต้องการพลังงานที่มีมากขึ้น แต่เชื้อเพลิงฟอสซิลซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักมีอยู่อย่างจำกัดและเป็นสาเหตุหนึ่งของมลพิษและภาวะโลกร้อน ดังนั้นพลังงานทางเลือกจึงเป็นกุญแจสำคัญเพื่อความยั่งยืนด้านพลังงาน ประเทศไทยมีศักยภาพของพลังงานชีวมวลจากเกษตรกรรม ดังนั้นการพัฒนาระบบผลิตไฟฟ้าที่มลพิษต่ำและสามารถใช้ได้กับแหล่งพลังงานทดแทนจึงจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเครื่องยนต์สเตอร์ลิงซึ่งมีโครงสร้างชิ้นส่วนไม่ซับซ้อน ปราศจากการสันดาปภายในเครื่องยนต์จึงเป็นเครื่องยนต์ที่มีศักยภาพผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานสะอาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อ งานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นพัฒนาออกแบบและสร้างต้นแบบเครื่องยนต์สเตอร์ลิงร่วมกับแหล่งพลังงานทดแทนหรือพลังงานสะอาดเพื่อผลิตไฟฟ้าและสาธิตการทำงานจริง เกิดองค์ความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีเครื่องยนต์ผลิตไฟฟ้าปราศจากมลพิษในประเทศ ตลอดจนสามารถขยายผลนำไปใช้ประโยชน์กับคนไทย
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี
นวัตกรรมเมืองสีเขียว "Green and Smart City Innovation" การบูรณาการนวัตกรรมเพื่อสังคม (Social Innovation) และนวัตกรรมเพื่อเมืองอัจฉริยะ (Innovation for Smart City) อย่างเป็นรูปธรรมในพื้นที่ต้นแบบ จ.เชียงราย โดยมีฐานการวิจัยและพัฒนาการเรียนรู้ในพื้นที่แบบสหวิทยาการ (Interdisiplinary collabarative learning approach) โดยชุมชน เพื่อชุมชนอันมีกลไกของหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องช่วยหนุนเสริม และขับเคลื่อน วัฒนผลิตภัณฑ์สู่่การประยุกต์ใช้ในงานออกแบบสถาปัตยกรรม Project Title : “APOLE” Cultural Product Design: The Cultural Product Design Beyond. เสาอัจฉริยะ A POLE ตอบโจทย์ SMART CITY ครอบคลุมวิถีชีวิตคนรุ่นใหม่ “การพัฒนาเมืองที่มีความประสงค์ที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยการเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการ การบริหารจัดการเมือง การลดค่าใช้จ่าย และการใช้ทรัพยากร โดยเน้นกลไกการมีส่วนร่วมของภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และภาควิชาการ ภายใต้แนวคิดการพัฒนาเมืองน่าอยู่ ทันสมัย อย่างยั่งยืน ให้ประชาชนในเมืองมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นเครื่องมือ” เพื่อก้าวสู่เมืองอัจฉริยะ Smart City ในอนาคต ภาครัฐบาลใช้เทคโนโลยีมาเป็นตัวขับเคลื่อน โดยเน้นการสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นอยู่ของคนในท้องถิ่น โดยดำเนินการวางโครงสร้างพื้นฐานสื่อสารโทรคมนาคม เสาอัจฉริยะ การจัดระเบียบสายไฟฟ้าและสายสื่อสารลงดิน การติดตั้งระบบกล้องวงจรปิดอัจฉริยะ ระบบปรับปรุงคุณภาพอากาศ อุปกรณ์ Internet of Things (IoT) และระบบการควบคุมเทคโนโลยี Internet of Things (IoT) ซึ่งช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนให้สามารถใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพมากขึ้น เสาไฟอัจฉริยะ A Pole สามารถรองรับนวัตกรรมที่ทันสมัยได้อย่างไร้ขีดจำกัดและมีประสิทธิภาพ เป็นหนึ่งสัญญาณหลักว่าเมืองกำลังพัฒนาไปสู่ยุคเทคโนโลยีอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อพัฒนาไปสู่ความเป็นเมืองอัจฉริยะ
คณะวิศวกรรมศาสตร์
ระบบขนส่งทางรางมีบทบาทสำคัญในการดำเนินชีวิตของประชาชนรวมทั้งการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในปัจจุบัน ส่งผลให้เกิดการก่อสร้างโครงการระบบขนส่งทางรางไปทั่วประเทศ ทั้งนี้การขยายตัวแบบก้าวกระโดดดังกล่าว ย่อมส่งผลให้มลภาวะทางเสียงและการสั่นสะเทือนจากทางรถไฟมีมากขึ้นเป็นเงาตามตัว ซึ่งมลภาวะดังกล่าวอาจส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียงได้ ในต่างประเทศการแก้ปัญหาทำได้หลายวิธีแต่วิธีที่เป็นที่นิยมกันในปัจจุบันคือการลดเสียงที่แหล่งกำเนิดหรือการปรับการสั่นสะเทือนด้วยการใส่แท่งสลายพลังงาน (Track Damper) ที่รางรถไฟโดยถือเป็นข้อแนะนำในการแก้ปัญหาเรื่องเสียงและการสั่นสะเทือนในหลายประเทศในทวีปยุโรปและออสเตรเลียเนื่องจากมีราคาถูกและได้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ที่ผ่านมาบริษัท AUT ประเทศไทย เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนสำคัญคือแท่งดังกล่าวให้กับเจ้าของเทคโนโลยีส่งออกไปต่างประเทศมากกว่า 300,000 ชิ้นและมีความต้องการสูงขึ้นเรื่อยๆ จากการขยายตัวของระบบรางทั่วโลก โดยวัสดุส่วนใหญ่จะนำเข้าจากต่างประเทศเป็นวัสดุสังเคราะห์ซึ่งมีแหล่งกำเนิดที่ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ดังนั้นโครงการวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาต่อยอดจากผลิตภัณฑ์ดังกล่าวโดยเพิ่มความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วยการแทนที่เนื้อวัสดุบางอย่างด้วยวัสดุที่ในประเทศสองชนิดคือยางพาราและเศษยางรถยนต์เก่า และเพิ่มฟังก์ชั่นการใช้งานที่มีความอัจฉริยะด้วยการติดตั้งเซ็นเซอร์ตรวจวัดและวิเคราะห์การเคลื่อนผ่านของการรถไฟด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์และไอโอที ทำให้นอกจากเพิ่มมูลค่าจากความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแล้วระบบเซ็นเซอร์ฝังตัวอัจฉริยะยังสามารถใช้เป็นระบบตรวจวัดเพื่อการแจ้งเตือนและเป็นข้อมูลเพื่อวางแผนบำรุงรักษาได้อีกด้วย ทั้งนี้ในการดำเนินงานวิจัยจะมีการทำงานร่วมกันกับผู้ประกอบการอย่างใกล้ชิด ตั้งแต่การออกแบบ การผลิตและการทดสอบ ยกระดับจาก TRL 8-9 ในฐานะผู้ผลิตบางชิ้นส่วนของผู้ประกอบการเป็นเจ้าของเทคโนโลยีในระดับ TRL 7-8 เพื่อการแข่งขันในตลาดระบบรางระดับสากลต่อไป
วิทยาลัยนวัตกรรมการผลิตขั้นสูง
งานวิจัยนี้นำเสนอตัวแบ่งกำลังของวิลคินสันโดยใช้ตัวเหนี่ยวนำร่วม โทโพโลยีแบบรวมกลุ่มใช้การสูญเสียตัวเหนี่ยวนำโดยธรรมชาติเป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบ ดังนั้นจึงสามารถละเว้นตัวต้านทานแบบเดิมสำหรับการแยกตัวสูงได้ ดังนั้นจึงสามารถบรรลุประสิทธิภาพการสูญเสียต่ำและการแยกสูงของวงจรขนาดกะทัดรัด ตัวแบ่งความถี่ 2.5 GHz ที่เสนอนั้นถูกนำไปใช้กับกระบวนการอุปกรณ์แบบพาสซีฟแบบรวมที่ใช้ซิลิคอน การวัดชิปต้นแบบมีค่าสัมประสิทธิ์การสะท้อนต่ำกว่า 18 dB ที่พอร์ตทั้งหมด การสูญเสียการแทรก 0.5 dB และการแยกสัญญาณที่สูงกว่า 28 dB ขนาดชิปเป็นเพียงความยาวคลื่น 0.011 x 0.019 ความยาวคลื่น
คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ
สถานการณ์ในปัจจุบันและความไม่แน่นอน นำมาสู่แนวคิดความมั่นคงทางอาหาร การนำเอานวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้เพื่อให้เกิดการให้ผลผลิตที่มากในพื้นที่จำกัด โดยปรับปรุงอาคารเก่าในพื้นที่เมืองที่ไม่ถูกใช้งานมาปรับปรุงให้เหมาะสมกับการปลูกพืช จัดทำเป็นพื้นที่เรียนรู้การปลูกพืชในเมือง นำเสนอวิธีการปลูกพืชแบบต่างๆ รวบรวมเป็นนวัตกรรมการปลูกพืชกว่า 35 รายการ สำหรับเผยแพร่ความรู้ เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร พึ่งพาตนเอง การอยู่อาศัยอย่างยั่งยืน
คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ
-
คณะบริหารธุรกิจ
ปัจจุบันปัญหาที่จอดรถในเขตเมืองเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความแออัดของจราจร การบริหารพื้นที่ และสิ่งแวดล้อม ระบบจอดรถอัตโนมัติ (Automated Parking System: APS) เป็นนวัตกรรมที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พื้นที่ ลดระยะเวลาค้นหาที่จอด และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก งานวิจัยนี้ศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับเทคโนโลยี APS โดยใช้กรอบแนวคิด UTAUT2 และตัวแปรสำคัญ เช่น ความคาดหวังด้านประสิทธิภาพ (Performance Expectancy), ความง่ายในการใช้งาน (Effort Expectancy), อิทธิพลทางสังคม (Social Influence), ความเชื่อมั่นในเทคโนโลยี (Trust in Technology) และจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Consciousness) โดยโครงการ APS Evolution นำเสนอโซลูชันการจอดรถอัจฉริยะที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พื้นที่ ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสร้างประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นสำหรับผู้ใช้ในเมือง โดยมุ่งเน้น การพัฒนาเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์พฤติกรรมผู้ใช้และการบริหารจัดการเมืองอัจฉริยะ
คณะวิศวกรรมศาสตร์
โครงการนี้นำหลักการของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ และ Deep Learning มาจัดทำระบบตำรวจอัจฉริยะ (Smart Police) เพื่อวิเคราะห์อัตลักษณ์บุคคลและยานพาหนะที่ต้องสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดเพื่อใช้รักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน โดยหลักการทำงานของระบบตำรวจอัจฉริยะ จะติดตั้งกล้อง CCTV ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงในกการโจรกรรม เพื่อตรวจจับบุคคลที่มีอำพรางอาวุธ โดยวิเคราะห์จากภาพจากกล้อง CCTV ด้วยการประมวลผลภาพและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ในการเฝ้าระวังและตรวจจับสิ่งที่อยู่ในเหตุการณ์ เมื่อมีการโจรกรรมหรือเหตุการผิดปกติ ระบบจะแจ้งเตือนเหตุการณ์เข้ามาที่ศูนย์เฝ้าระวังภายในสถานีตำรวจ เพื่อให้ตำรวจไปตรวจสอบความผิดเบื้องต้น และไปพื้นที่เกิดเหตุได้ทันเหตุการณ์เพื่อดำเนินการป้องกันหรือระงับเหตุ ในกรณีที่มีการหลบหนี ระบบจะติดตามรถยนต์ หรือ รถมอเตอร์ไซด์ พร้อมระบุเส้นทางที่สามารถใช้ในการหลบหนีโดยใช้การติดตามจากลักษณะของยานพาหนะ และป้ายทะเบียนของยานพาหนะที่ก่อเหตุ เพื่อทำการติดตามและระงับเหตุได้ ดังนั้นระบบตำรวจอัจฉริยะที่พัฒนาขึ้นเป็นการร่วมมือของคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, สำนักงานตำรวจภูธรภาค 2 มูลนิธิฉะเชิงเทราเพื่อการพัฒนา และสำนักงานเมืองอัจฉริยะจังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อป้องกันและป้องปรามการเกิดอาชญากรรม เพิ่มความปลอดภัยสาธารณะและความสงบเรียบร้อยให้แก่ประชาชนในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทราซึ่งเป็นพื้นที่ในเขต EEC ซึ่งเป็นแหล่งเศรษฐกิจของประเทศ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวใกล้กรุงเทพ และเป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทั้งภาครัฐ เอกชน และชุมชน ตลอดจนถ่ายทอดองค์ความรู้การใช้งานนวัตกรรมและการเขียนให้แก่ตำรวจและเจ้าหน้าที่ในการนำเทคโนโลยีไปใช้งานจริงและสามารถพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมได้ใช้เอง ซึ่งเป็นการพัฒนาแบบต่อเนื่องในระยะยาวเพื่อให้เกิดความยั่งยืนและนําข้อมูลไปใช้ประโยชน์ด้านการวางแผนการดำเนินการรักษาความปลอดภัยและแผนการท่องเที่ยวของจังหวัดฉะเชิงเทรา
คณะวิศวกรรมศาสตร์
ไผ่เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีศักยภาพในการเพิ่มมูลค่าผ่านการแปรรูปเป็นถ่านชีวมวล ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงและมีประโยชน์ในหลายอุตสาหกรรม งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพของถ่านไม้ไผ่ โดยเปรียบเทียบการผลิตถ่านจากเตาเผาไม้ไผ่ต้นแบบกับเตาเผาอุตสาหกรรม วิเคราะห์ผลผลิตที่ได้และประสิทธิภาพเชิงความร้อนของแต่ละสภาวะการเผา พบว่าการทดสอบเตาเผาต้นแบบที่สภาวะที่ 3 อุณหภูมิ 500 องศาเซลเซียส ระยะเวลา 8 ชั่วโมง ให้ผลลัพธ์ใกล้เคียงกับเตาเผาอุตสาหกรรม โดยมีประสิทธิภาพเชิงความร้อนร้อยละ 37.05 และ 41.29 ตามลำดับ ถ่านชีวมวลที่ได้มีคุณภาพสูง โดยมีปริมาณคาร์บอนอินทรีย์ร้อยละ 73.92 และ 75.24 โดยน้ำหนักตามลำดับ และมีอัตราส่วนโมลของไฮโดรเจนต่อคาร์บอนอินทรีย์ 0.51 และ 0.29 ตามลำดับ ซึ่งจัดอยู่ในมาตรฐานถ่านชีวมวลระดับสูงสุด (IBI Standard) อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ พบว่าต้นทุนการผลิตยังค่อนข้างสูง จึงเหมาะสมกับผู้ที่มีชีวมวลไม้ไผ่เหลือใช้จากกิจกรรมอื่น