KMITL Innovation Expo 2025 Logo

อีโค่-สมาร์ตแดมเปอร์จากส่วนผสมยางธรรมชาติเพื่อลดเสียงและการสั่นสะเทือนบนทางรถไฟ

อีโค่-สมาร์ตแดมเปอร์จากส่วนผสมยางธรรมชาติเพื่อลดเสียงและการสั่นสะเทือนบนทางรถไฟ

รายละเอียด

ระบบขนส่งทางรางมีบทบาทสำคัญในการดำเนินชีวิตของประชาชนรวมทั้งการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในปัจจุบัน ส่งผลให้เกิดการก่อสร้างโครงการระบบขนส่งทางรางไปทั่วประเทศ ทั้งนี้การขยายตัวแบบก้าวกระโดดดังกล่าว ย่อมส่งผลให้มลภาวะทางเสียงและการสั่นสะเทือนจากทางรถไฟมีมากขึ้นเป็นเงาตามตัว ซึ่งมลภาวะดังกล่าวอาจส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียงได้ ในต่างประเทศการแก้ปัญหาทำได้หลายวิธีแต่วิธีที่เป็นที่นิยมกันในปัจจุบันคือการลดเสียงที่แหล่งกำเนิดหรือการปรับการสั่นสะเทือนด้วยการใส่แท่งสลายพลังงาน (Track Damper) ที่รางรถไฟโดยถือเป็นข้อแนะนำในการแก้ปัญหาเรื่องเสียงและการสั่นสะเทือนในหลายประเทศในทวีปยุโรปและออสเตรเลียเนื่องจากมีราคาถูกและได้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ที่ผ่านมาบริษัท AUT ประเทศไทย เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนสำคัญคือแท่งดังกล่าวให้กับเจ้าของเทคโนโลยีส่งออกไปต่างประเทศมากกว่า 300,000 ชิ้นและมีความต้องการสูงขึ้นเรื่อยๆ จากการขยายตัวของระบบรางทั่วโลก โดยวัสดุส่วนใหญ่จะนำเข้าจากต่างประเทศเป็นวัสดุสังเคราะห์ซึ่งมีแหล่งกำเนิดที่ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ดังนั้นโครงการวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาต่อยอดจากผลิตภัณฑ์ดังกล่าวโดยเพิ่มความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วยการแทนที่เนื้อวัสดุบางอย่างด้วยวัสดุที่ในประเทศสองชนิดคือยางพาราและเศษยางรถยนต์เก่า และเพิ่มฟังก์ชั่นการใช้งานที่มีความอัจฉริยะด้วยการติดตั้งเซ็นเซอร์ตรวจวัดและวิเคราะห์การเคลื่อนผ่านของการรถไฟด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์และไอโอที ทำให้นอกจากเพิ่มมูลค่าจากความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแล้วระบบเซ็นเซอร์ฝังตัวอัจฉริยะยังสามารถใช้เป็นระบบตรวจวัดเพื่อการแจ้งเตือนและเป็นข้อมูลเพื่อวางแผนบำรุงรักษาได้อีกด้วย ทั้งนี้ในการดำเนินงานวิจัยจะมีการทำงานร่วมกันกับผู้ประกอบการอย่างใกล้ชิด ตั้งแต่การออกแบบ การผลิตและการทดสอบ ยกระดับจาก TRL 8-9 ในฐานะผู้ผลิตบางชิ้นส่วนของผู้ประกอบการเป็นเจ้าของเทคโนโลยีในระดับ TRL 7-8 เพื่อการแข่งขันในตลาดระบบรางระดับสากลต่อไป

วัตถุประสงค์

ปัญหาด้านเสียงรบกวนนั้นถูกจัดเป็นหนึ่งในปัญหาด้านมลพิษที่ได้รับการร้องเรียนมากที่สุด มลพิษทางเสียงเกิดขึ้นได้จากหลายแหล่ง เช่น เสียงรบกวนอันเกิด จากกิจกรรม เสียงรบกวนจากการก่อสร้าง เสียงรบกวนจากการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม เสียงรบกวนจากการคมนาคมขนส่งทางน้ำ ทางอากาศ และทางถนน รวมถึงการขนส่งระบบรางด้วยเช่นกัน มีการทำการศึกษาและจัดทำมาตรฐานการตรวจวัดรวมถึงพิจารณาออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเสียงรบกวนในระบบรางเพื่อบังคับใช้ตามความเหมาะสมในแต่ละประเทศ ในประเทศไทยมีความเป็นได้สูงที่จะประสบปัญหาเสียงรบกวนในลักษณะเดียวกันกับประเทศอื่นๆ เหมือนกัน ในระบบยานพาหนะระบบรางจะมักเกิดเสียงรบกวน 2 ส่วน ได้แก่ เสียงรบกวนภายนอก (Exterior Noise) และเสียงรบกวนภายใน (Interior Noise) โดยเสียงรบกวนภายนอกนั้นหมายถึงเสียงรบกวนจากแหล่งกำเนิด แหล่งกำเนิดเสียงหลัก ๆ ของพาหนะระบบรางนั้นอาจเกิดได้จากปฏิสัมพันธ์ระหว่างล้อและรางในขณะวิ่งบนรางตรง (Rolling Noise), เกิดจากการจากการเสียดสีแบบลื่นไถลระหว่างล้อและรางเมื่อพาหนะทำการลากภาระ(Traction Noise) หรือเป็นเสียงรบกวนอันเกิดจากอากาศพลศาสตร์ (Aerodynamic Noise) อย่างไรก็ตามการควบคุมการเกิดเสียงรบกวนในรูปแบบต่าง ๆ ที่กล่าวไว้ข้างต้นนั้นย่อมต้องการเทคนิคการควบคุมเสียงรบกวนที่แตกต่างกันไป แท่งสลายพลังงาน (Rail Damper) ซึ่งถูกนำเสนอในโครงการวิจัยนี้โดยมีความเหมาะสมในการลดเสียงรบกวนในส่วนของ Rolling Noise และ Traction Noise เป็นสำคัญ สำหรับผู้ประกอบการในประเทศไทยที่เป็นผู้ผลิตและประกอบแท่งสลายพลังงาน (Rail Damper) อาทิ Silent TrackTM มียอดการผลิตสูงและมีแนวโน้มที่จะมียอดสั่งผลิตเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อย่างไรก็ตามการรับจ้างผลิตให้เจ้าของเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียวทำให้ไม่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มของตัวผลิตภัณฑ์ได้ อีกทั้งวัสดุที่ใช้ทำจากวัสดุสังเคราะห์ที่ต้องนำเข้ามา 100% ดังนั้นโครงการวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาต่อยอดจากผลิตภัณฑ์ดังกล่าวโดยเพิ่มความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วยการแทนที่เนื้อวัสดุบางอย่างด้วยวัสดุ ในประเทศสองชนิด คือ ยางพาราและเศษยางรถยนต์เก่า (Crumb Rubber) ทั้งนี้ในการดำเนินงานวิจัยได้ทำงานร่วมกันกับผู้ประกอบการอย่างใกล้ชิด ตั้งแต่การออกแบบ การผลิตและการทดสอบเพื่อยกระดับจาก TRL 8-9 ในฐานะผู้ผลิตบางชิ้นส่วนของผู้ประกอบการเป็นเจ้าของเทคโนโลยีในระดับ TRL 7-8 เพื่อการแข่งขันในตลาดระบบรางระดับสากลต่อไป

นวัตกรรมอื่น ๆ

การพัฒนาตัวรับรู้เชิงสีเม็ดบีทสองชั้นของเคอร์คูมินสำหรับวิเคราะห์ ไพริดอกซีน (วิตามินบี6)ในผลิตภัณฑ์อาหารเสริมโดยใช้ร่วมกับการตรวจวัดด้วย การประมวลผลภาพถ่าย

คณะวิทยาศาสตร์

การพัฒนาตัวรับรู้เชิงสีเม็ดบีทสองชั้นของเคอร์คูมินสำหรับวิเคราะห์ ไพริดอกซีน (วิตามินบี6)ในผลิตภัณฑ์อาหารเสริมโดยใช้ร่วมกับการตรวจวัดด้วย การประมวลผลภาพถ่าย

การพัฒนาเม็ดบีทไฮโดรเจลแบบสองชั้นสำหรับใช้เป็นเซ็นเซอร์เชิงสีในการวิเคราะห์หาปริมาณวิตามินบี6 ในผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเสริมวิตามิน และทำการตรวจวัดโดยใช้โทรศัพท์มือถือ โดยในการสร้างเม็ดบีทจะอาศัยแรงประจุไฟฟ้าในการทำให้เกิดเม็ดบีทไฮโดรเจลแบบสองชั้น

เสื้อระบายความร้อนที่มีระบบแลกเปลี่ยนความร้อนจากการไหลแบบสองเฟส

วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์

เสื้อระบายความร้อนที่มีระบบแลกเปลี่ยนความร้อนจากการไหลแบบสองเฟส

เสื้อระบายความร้อนที่มีระบบแลกเปลี่ยนความร้อนจากการไหลแบบสองเฟส เป็นนวัตกรรมใหม่ ถูกออกแบบ เพื่อระบายความร้อนให้กับนักดับเพลิง, นักแข่งรถ และ ผู้ที่ต้องสวมใส่ชุด PPE (Personal Protective Equipment) ในการทำงาน ระบบสามารถทำความเย็น ในระดับ 18-20 องศาเซลเซียส ได้อย่างต่อเนื่อง และมีกลไกการฉีดแก๊สเข้าไปในของเหลวเพื่อเพิ่มความสามารถในการถ่ายเทความร้อน

การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของหัวสร้างออกซิเจนชนิดนาโนกับขนาดกำลังปั๊มที่ต่างกันในบ่ออนุบาลปลากะพง

คณะเทคโนโลยีการเกษตร

การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของหัวสร้างออกซิเจนชนิดนาโนกับขนาดกำลังปั๊มที่ต่างกันในบ่ออนุบาลปลากะพง

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของหัวสร้างออกซิเจนชนิดหัวนาโนที่ ใช้ขนาดกำลังปั้มต่างกันในบ่ออนุบาลปลากะพง โดยทดลองใช้หัวสร้างออกซิเจนในขนาด กำลังปั้มหลายระดับเพื่อตรวจสอบการกระจายของออกซิเจนที่ละลายในน้ำและ ผลกระทบต่อ สุขภาพการเจริญเติบโตและอัตราการรอดของปลากะพงผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าขนาดกำลังปั้มที่ต่างกันส่งผลต่อระดับออกซิเจนที่ละลายในน้ำโดยขนาดกำลังปั้มที่เหมาะสมช่วยเพิ่มการกระจาย ตัวของออกซิเจนในบ่อเลี้ยงทำให้ปลากะพงมีอัตราการรอด และการเจริญเติบโตที่ดีขึ้น ผลการวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการเลือกใช้หัวสร้างออกซิเจนและขนาดปั้มที่เหมาะสมในระบบบ่ออนุบาลปลา การทดลองนี้แบ่งออกเป็น 2 สภาวะ คือ 1.สภาวะไม่มีปลาทดสอบความสามารถในการเติมออกซิเจนค่าสัมประสิทธิ์ในการเติมออกซิเจนอัตราการถ่ายเทออกซิเจนเเละค่าประสิทธิภาพการถ่ายเทออกซิเจนที่ได้จากปั๊มที่กำลังต่างกัน 3 ขนาด 2.สภาวะมีปลาสภาวะนี้จะทดสอบความเพียงพอ ของออกซิเจนที่ได้จากปั๊มกำลังที่ต่างกัน 3 ขนาดโดยทดลอง วัดจากอัตราการเจริญเติบโต และอัตรารอดของปลาในบ่อ นับค่าโลหิตเพื่อตรวจภูมิคุ้มกัน ข้อมูลที่ได้จะนำไปวิเคระห์ข้อมูลทางสถิติ โดยวิเคราะห์ข้อมูล แบบ RCBD ในสภาวะไม่มีปลา เเละวิเคราะห์ข้อมูลแบบบ CRD ในสภาวะที่มีปลาผ่านโปรแกรม SPSS