เนื่องจากความต้องการพลังงานที่มีมากขึ้น แต่เชื้อเพลิงฟอสซิลซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักมีอยู่อย่างจำกัดและเป็นสาเหตุหนึ่งของมลพิษและภาวะโลกร้อน ดังนั้นพลังงานทางเลือกจึงเป็นกุญแจสำคัญเพื่อความยั่งยืนด้านพลังงาน ประเทศไทยมีศักยภาพของพลังงานชีวมวลจากเกษตรกรรม ดังนั้นการพัฒนาระบบผลิตไฟฟ้าที่มลพิษต่ำและสามารถใช้ได้กับแหล่งพลังงานทดแทนจึงจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเครื่องยนต์สเตอร์ลิงซึ่งมีโครงสร้างชิ้นส่วนไม่ซับซ้อน ปราศจากการสันดาปภายในเครื่องยนต์จึงเป็นเครื่องยนต์ที่มีศักยภาพผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานสะอาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อ งานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นพัฒนาออกแบบและสร้างต้นแบบเครื่องยนต์สเตอร์ลิงร่วมกับแหล่งพลังงานทดแทนหรือพลังงานสะอาดเพื่อผลิตไฟฟ้าและสาธิตการทำงานจริง เกิดองค์ความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีเครื่องยนต์ผลิตไฟฟ้าปราศจากมลพิษในประเทศ ตลอดจนสามารถขยายผลนำไปใช้ประโยชน์กับคนไทย
เนื่องจากความต้องการพลังงานที่มีมากขึ้น แต่เชื้อเพลิงฟอสซิลซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักมีอยู่อย่างจำกัดและเป็นสาเหตุหนึ่งของมลพิษและภาวะโลกร้อน ดังนั้นพลังงานทางเลือกจึงเป็นกุญแจสำคัญเพื่อความยั่งยืนด้านพลังงาน ประเทศไทยมีศักยภาพของพลังงานชีวมวลจากเกษตรกรรม ดังนั้นการพัฒนาระบบผลิตไฟฟ้าที่มลพิษต่ำและสามารถใช้ได้กับแหล่งพลังงานทดแทนจึงจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเครื่องยนต์สเตอร์ลิงซึ่งมีโครงสร้างชิ้นส่วนไม่ซับซ้อน ปราศจากการสันดาปภายในเครื่องยนต์จึงเป็นเครื่องยนต์ที่มีศักยภาพผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานสะอาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและความสำเร็จของโรงไฟฟ้าเครื่องยนต์สเตอร์ลิง ในประเทศไทย เพื่อคนไทย
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสูตรสารเคลือบที่เหมาะสมสำหรับมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง โดยใช้กัมอารบิก (GA) 10% ร่วมกับสารสกัดจากเปลือกมังคุด (MPE) ในความเข้มข้นต่างๆ (1%, 3%, 5%) เปรียบเทียบกับชุดควบคุม (น้ำกลั่น) ภายใต้การเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้อง 14 วัน ผลการทดลองพบว่า การเคลือบผิวด้วย GA 10% ร่วมกับ MPE สามารถลดการเปลี่ยนแปลงสีของเนื้อผล ลดการเกิดโรค และคงความแน่นเนื้อได้ดี นอกจากนี้ยังช่วยชะลอการเปลี่ยนแปลงของ TSS, TA, วิตามินซี, แคโรทีนอยด์ และฟีนอลิก โดยเฉพาะสูตรที่ใช้ GA 10% + MPE 1% มีประสิทธิภาพสูงสุดในการยืดอายุการเก็บรักษาและเพิ่มความเงางามของผลมะม่วง
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของระดับความเค็มที่แตกต่างกันต่ออัตรารอดและการเจริญเติบโตของหอยเชอรี่สีทอง (Pomacea canaliculata) โดยทำการทดลองเลี้ยงในระบบน้ำที่มีระดับความเค็ม 0, 5, 10 และ 15 พีพีที แต่ละชุดการทดลองมี 4 ซ้ำ ใช้ระยะเวลาทดลอง 8 สัปดาห์ ผลการศึกษาพบว่าหอยเชอรี่สีทองที่เลี้ยงในน้ำที่มีความเค็ม 5-10 พีพีที มีอัตรารอดและการเจริญเติบโตไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมที่เลี้ยงในน้ำจืด (0 พีพีที) ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ในการพัฒนาการเลี้ยงหอยเชอรี่สีทองในระบบน้ำกร่อยและการเลี้ยงแบบผสมผสานร่วมกับสัตว์น้ำกร่อยชนิดอื่น
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี
นวัตกรรมเมืองสีเขียว "Green and Smart City Innovation" การบูรณาการนวัตกรรมเพื่อสังคม (Social Innovation) และนวัตกรรมเพื่อเมืองอัจฉริยะ (Innovation for Smart City) อย่างเป็นรูปธรรมในพื้นที่ต้นแบบ จ.เชียงราย โดยมีฐานการวิจัยและพัฒนาการเรียนรู้ในพื้นที่แบบสหวิทยาการ (Interdisiplinary collabarative learning approach) โดยชุมชน เพื่อชุมชนอันมีกลไกของหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องช่วยหนุนเสริม และขับเคลื่อน วัฒนผลิตภัณฑ์สู่่การประยุกต์ใช้ในงานออกแบบสถาปัตยกรรม Project Title : “APOLE” Cultural Product Design: The Cultural Product Design Beyond. เสาอัจฉริยะ A POLE ตอบโจทย์ SMART CITY ครอบคลุมวิถีชีวิตคนรุ่นใหม่ “การพัฒนาเมืองที่มีความประสงค์ที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยการเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการ การบริหารจัดการเมือง การลดค่าใช้จ่าย และการใช้ทรัพยากร โดยเน้นกลไกการมีส่วนร่วมของภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และภาควิชาการ ภายใต้แนวคิดการพัฒนาเมืองน่าอยู่ ทันสมัย อย่างยั่งยืน ให้ประชาชนในเมืองมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นเครื่องมือ” เพื่อก้าวสู่เมืองอัจฉริยะ Smart City ในอนาคต ภาครัฐบาลใช้เทคโนโลยีมาเป็นตัวขับเคลื่อน โดยเน้นการสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นอยู่ของคนในท้องถิ่น โดยดำเนินการวางโครงสร้างพื้นฐานสื่อสารโทรคมนาคม เสาอัจฉริยะ การจัดระเบียบสายไฟฟ้าและสายสื่อสารลงดิน การติดตั้งระบบกล้องวงจรปิดอัจฉริยะ ระบบปรับปรุงคุณภาพอากาศ อุปกรณ์ Internet of Things (IoT) และระบบการควบคุมเทคโนโลยี Internet of Things (IoT) ซึ่งช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนให้สามารถใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพมากขึ้น เสาไฟอัจฉริยะ A Pole สามารถรองรับนวัตกรรมที่ทันสมัยได้อย่างไร้ขีดจำกัดและมีประสิทธิภาพ เป็นหนึ่งสัญญาณหลักว่าเมืองกำลังพัฒนาไปสู่ยุคเทคโนโลยีอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อพัฒนาไปสู่ความเป็นเมืองอัจฉริยะ