นวัตกรรมเมืองสีเขียว "Green and Smart City Innovation" การบูรณาการนวัตกรรมเพื่อสังคม (Social Innovation) และนวัตกรรมเพื่อเมืองอัจฉริยะ (Innovation for Smart City) อย่างเป็นรูปธรรมในพื้นที่ต้นแบบ จ.เชียงราย โดยมีฐานการวิจัยและพัฒนาการเรียนรู้ในพื้นที่แบบสหวิทยาการ (Interdisiplinary collabarative learning approach) โดยชุมชน เพื่อชุมชนอันมีกลไกของหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องช่วยหนุนเสริม และขับเคลื่อน วัฒนผลิตภัณฑ์สู่่การประยุกต์ใช้ในงานออกแบบสถาปัตยกรรม Project Title : “APOLE” Cultural Product Design: The Cultural Product Design Beyond. เสาอัจฉริยะ A POLE ตอบโจทย์ SMART CITY ครอบคลุมวิถีชีวิตคนรุ่นใหม่ “การพัฒนาเมืองที่มีความประสงค์ที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยการเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการ การบริหารจัดการเมือง การลดค่าใช้จ่าย และการใช้ทรัพยากร โดยเน้นกลไกการมีส่วนร่วมของภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และภาควิชาการ ภายใต้แนวคิดการพัฒนาเมืองน่าอยู่ ทันสมัย อย่างยั่งยืน ให้ประชาชนในเมืองมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นเครื่องมือ” เพื่อก้าวสู่เมืองอัจฉริยะ Smart City ในอนาคต ภาครัฐบาลใช้เทคโนโลยีมาเป็นตัวขับเคลื่อน โดยเน้นการสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นอยู่ของคนในท้องถิ่น โดยดำเนินการวางโครงสร้างพื้นฐานสื่อสารโทรคมนาคม เสาอัจฉริยะ การจัดระเบียบสายไฟฟ้าและสายสื่อสารลงดิน การติดตั้งระบบกล้องวงจรปิดอัจฉริยะ ระบบปรับปรุงคุณภาพอากาศ อุปกรณ์ Internet of Things (IoT) และระบบการควบคุมเทคโนโลยี Internet of Things (IoT) ซึ่งช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนให้สามารถใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพมากขึ้น เสาไฟอัจฉริยะ A Pole สามารถรองรับนวัตกรรมที่ทันสมัยได้อย่างไร้ขีดจำกัดและมีประสิทธิภาพ เป็นหนึ่งสัญญาณหลักว่าเมืองกำลังพัฒนาไปสู่ยุคเทคโนโลยีอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อพัฒนาไปสู่ความเป็นเมืองอัจฉริยะ
พัฒนาเสาอัจฉริยะcและระบบปรับปรุงคุณภาพอากาศเพื่อใช้ในพื้นที่สาธารณะของเมือง โดยมีอรรถประโยชน์ ในการตรวจประเมินสภาพแวดล้อม การตรวจพื้นที่ด้วยกล้องวงจรปิด CCTV เป็นแหล่งจ่ายพลังงานไฟฟ้า เป็นต้น
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
สารสกัดเปลือกมังคุด (Garcinia mangostana Linn.) โดยใช้น้ำร้อน (MPE) ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีศักยภาพในการต่อต้านแบคทีเรียในลูกปลากะพงขาว (Lates calcarifer) ที่เลี้ยงในน้ำจืดซึ่งติดเชื้อ Aeromonas hydrophila การศึกษาในหลอดทดลองพบว่า MPE มีความเข้มข้นต่ำสุดในการยับยั้ง (MIC) อยู่ที่ 25 ppm และความเข้มข้นต่ำสุดในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (MBC) อยู่ที่ 25 ppm สำหรับ In vivo ลูกปลากะพงขาวจะถูกแช่ใน MPE ความเข้มข้นต่างๆ กันที่ 0 ppm (ควบคุม), 20 ppm, 40 ppm และ 60 ppm ตามลำดับ เป็นเวลา 7 วันด้วย A. hydrophila ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่ากลุ่มที่ได้รับ MPE มีอัตราการรอดชีวิตสูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม พารามิเตอร์ทางโลหิตวิทยาแสดงให้เห็นว่ากลุ่มที่ได้รับ MPE มีระดับเม็ดเลือดแดง (RBC), เม็ดเลือดขาว (WBC) และความเข้มข้นของฮีโมโกลบิน (Hb) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม นอกจากนี้ พารามิเตอร์คุณภาพน้ำไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ยกเว้นความเข้มข้นของแอมโมเนีย โดยที่ MPE ความเข้มข้นของแอมโมเนียที่ 60 ppm ถือเป็นระดับต่ำสุด ผลลัพธ์ทั้งหมดสามารถบ่งชี้ได้ว่า MPE สามารถปรับปรุงศักยภาพในการต่อต้านแบคทีเรียและศักยภาพในการเพาะเลี้ยงลูกปลากะพงได้
วิทยาลัยนวัตกรรมการผลิตขั้นสูง
งานวิจัยเรื่องการพัฒนาวัสดุปูพื้นระบายน้ำได้จากตะกรันเหลือทิ้ง มีวัตถุประสงค์ในการนำตะกรันเหลือทิ้งมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางอุตสาหกรรมและช่วยลดปัญหาน้ำท่วมน้ำขังหรือแอ่งน้ำได้ โดยปัจจุบันตะกรันที่เหลือจากการถลุงเหล็กหรือหลอมเหล็กมักถูกนำมาใช้เป็นส่วนผสมของวัสดุก่อสร้าง เช่น ผิวทางถนน อย่างไรก็ตาม ตะกรันเหล่านี้มีคุณสมบัติที่ทำให้น้ำซึมผ่านได้ยาก ส่งผลให้เกิดปัญหาน้ำท่วมและการระบายน้ำไม่ดี โครงการวิจัยนี้มุ่งเน้นศึกษาการปรับปรุงคุณสมบัติของวัสดุปูพื้นให้มีความแข็งแรงและสามารถระบายน้ำได้ดีขึ้น โดยการปรับโครงสร้างทางกายภาพหรือการเติมสารเคมี เช่น HPMC เพื่อช่วยเพิ่มช่องว่างในการซึมน้ำและระบายน้ำได้ตามมาตรฐานที่ต้องการ การใช้ตะกรันเหลือทิ้งไม่เพียงช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประโยชน์ในการใช้งาน แต่ยังช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
คณะแพทยศาสตร์
โครงการวิจัยนี้ศึกษาผลของสาร CBD ต่อความไวของเซลล์ประสาทในการรับรู้ความเจ็บปวดจากหนู โดยใช้วิธี Whole Cell Patch Clamp เพื่อวัดพารามิเตอร์ทางไฟฟ้าสรีรวิทยาของเซลล์ที่ได้รับการเพาะเลี้ยงด้วย CBD ขนาด 0.5 uM เป็นเวลา 24 ชั่วโมงเทียบกับกลุ่มควบคุม