ไผ่เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีศักยภาพในการเพิ่มมูลค่าผ่านการแปรรูปเป็นถ่านชีวมวล ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงและมีประโยชน์ในหลายอุตสาหกรรม งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพของถ่านไม้ไผ่ โดยเปรียบเทียบการผลิตถ่านจากเตาเผาไม้ไผ่ต้นแบบกับเตาเผาอุตสาหกรรม วิเคราะห์ผลผลิตที่ได้และประสิทธิภาพเชิงความร้อนของแต่ละสภาวะการเผา พบว่าการทดสอบเตาเผาต้นแบบที่สภาวะที่ 3 อุณหภูมิ 500 องศาเซลเซียส ระยะเวลา 8 ชั่วโมง ให้ผลลัพธ์ใกล้เคียงกับเตาเผาอุตสาหกรรม โดยมีประสิทธิภาพเชิงความร้อนร้อยละ 37.05 และ 41.29 ตามลำดับ ถ่านชีวมวลที่ได้มีคุณภาพสูง โดยมีปริมาณคาร์บอนอินทรีย์ร้อยละ 73.92 และ 75.24 โดยน้ำหนักตามลำดับ และมีอัตราส่วนโมลของไฮโดรเจนต่อคาร์บอนอินทรีย์ 0.51 และ 0.29 ตามลำดับ ซึ่งจัดอยู่ในมาตรฐานถ่านชีวมวลระดับสูงสุด (IBI Standard) อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ พบว่าต้นทุนการผลิตยังค่อนข้างสูง จึงเหมาะสมกับผู้ที่มีชีวมวลไม้ไผ่เหลือใช้จากกิจกรรมอื่น
ไผ่ถือเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่ทางภาครัฐเร่งส่งเสริมให้ปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจหลัก จึงมีการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต มารองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมไผ่ การแปรรูปที่สามารถเพิ่มมูลค่าของลำไม้ไผ่ได้มากกว่าการขายไผ่สด คือ การแปรรูปไม้ไผ่เป็นถ่านไม้ไผ่ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลายมากขึ้น เช่น เป็นเชื้อเพลิงสำหรับหุงต้มอาหารใน และการใช้ถ่านในด้านการเกษตร ปัจจุบันมีเทคโนโลยีการเผาถ่านที่หลากหลาย ทั้งแบบใช้ในครัวเรือนและในอุตสาหกรรม เตาแต่ละประเภทมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป ซึ่งเตาที่ใช้ในประเทศไทยทั่วไปสามารถทำงานได้ แต่คุณภาพของถ่านที่ได้ในแต่ละครั้งไม่แน่นอน ซึ่งเตาเผาในระดับอุตสาหกรรมของต่างประเทศสามารถควบคุมการทำงานได้ ทำให้ถ่านที่ได้มีคุณภาพค่อนข้างคงที่ สร้างมูลค่าทางการตลาดได้สูง การควบคุมกระบวนการการผลิตให้เหมาะสม มีผลต่อคุณภาพและร้อยละผลผลิตของถ่าน ดังนั้นการศึกษาตัวแปรในการออกแบบเตา และควบคุมกระบวนการการผลิตได้อย่างเหมาะสม เพื่อให้เตาในระดับครัวเรือนสามารถทำงานได้ดียิ่งขึ้นจึงมีความสำคัญ และสามารถขยายผลต่อไปยังด้านอุตสาหกรรมได้ในอนาคต การศึกษานี้จึงมุ่งเน้นการวิเคราะห์ตัวแปรที่มีผลต่อคุณภาพของถ่ายไม้ไผ่ในกระบวนการผลิต โดยเปรียบเทียบเตาเผาต้นแบบกับเตาเผาที่ใช้ในระดับอุตสาหกรรม เพื่อให้ได้เตาเผาที่สามารถควบคุมกระบวนการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถนำไปประยุกต์ใช้และถ่ายทอดสู่ภาคอุตสาหกรรม อีกทั้งยังเป็นองค์ความรู้ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในเชิงวิชาการ และพัฒนาเป็นเครื่องมือที่ นำไปสู่การสร้างรายได้ที่ยั่งยืนแก่ชุมชนต่อไป
คณะวิศวกรรมศาสตร์
งานวิจัยนี้นำเสนอการออกแบบเครื่องมือระบบการนับยุง ยุงที่ถูกนับตายเพื่อไม่ให้วัดข้อมูลการนับซ้ำ ทันทีที่เครื่องนับแหล่งที่มาอินพุตตรวจจับยุงได้ สัญญาณทริกเกอร์เดี่ยวจะถูกส่งไปยังระบบ IOT เพื่อขัดจังหวะเซิร์ฟเวอร์ทันที จำนวนยุงจริงไม่ได้ส่งสัญญาณไปยัง IOT แต่เป็นเพียงสัญญาณรบกวนเซิร์ฟเวอร์เท่านั้น เซิร์ฟเวอร์จะบันทึกจำนวนสัญญาณขัดจังหวะด้วยนาฬิกาแบบเรียลไทม์ จากนั้นข้อมูลขัดจังหวะจะได้รับการจัดการต่อไป เครื่องนับส่วนหน้าประกอบด้วยเครื่องสร้างไฟฟ้าแรงสูงที่มีค่าแรงดันไฟฟ้าและระยะห่างของอิเล็กโทรดที่เหมาะสมกับขนาดยุงที่ต้องการ สัญญาณพัลส์ทริกเกอร์ต่ำของยุงที่ถูกฆ่าด้วยไฟฟ้าแรงสูงจะถูกส่งไปยังชุดควบคุม ทันที สัญญาณการนับจำนวนยุงรบกวนจะถูกส่งไปยังการรวบรวมข้อมูลกระแสใหญ่บนระบบ IOT โดยเทคนิคการประทับเวลา สร้างผลการตรวจวัดตัวอย่างยุงตัวเป็นๆ จำนวน 10 ตัว ในกล่องพื้นที่จำกัดในการบิน โดยเครื่องนับแสดงว่าผลการนับถูกต้อง 100%
คณะทันตแพทยศาสตร์
วัตถุประสงค์ และที่มา โรคฟันผุยังคงเป็นปัญหาทางทันตกรรมที่สำคัญทั่วโลก โดยมีอัตราการเกิดสูงถึง 90% ในเด็ก และผู้ใหญ่ เชื้อแบคทีเรีย Streptococcus mutans ทำให้เกิดฟันผุโดยผ่านกระบวนการเมตาบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต และสร้างไบโอฟิล์ม ซึ่งเป็นกระบวนการที่กำจัดได้ยาก Histatin-5 (HST-5) เป็นเปปไทด์ต้านเที่ชื้อพบในน้ำลายมนุษย์ ซึ่งแสดงฤทธิ์ต้านเชื้อราและแบคทีเรียหลายชนิด Phytosphingosine (PHS) เป็นสฟิงโกลิพิดที่สามารถพบในเชื้อรา พืช และมนุษย์ ซึ่งมีคุณสมบัติในการต้านเเช่นชื้อเเบคทีเรียเช่นกัน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความสามารถในการฆ่าเชื้อของ HST-5 และเมื่อใช้ร่วมกับ PHS ต่อ S. mutans ภายใต้สภาวะการสร้างไบโอฟิล์ม วิธีการ ประเมินฤทธิ์การต้านต่อเชื้อ S. mutans ในรูปแบบพลางค์โทนิกโดยใช้วิธี time-kill assay และตรวจสอบความสามารถในการสร้างไบโอฟิล์มโดยการย้อมด้วยคริสตัลไวโอเลต ความสามารถในการฆ่าเชื้อของสารต่อไบโอฟิล์มที่เกิดขึ้น 24 ชั่วโมง ถูกประเมินโดยใช้ Transferable Solid Phase (TSP) pin lid model การส่งเสริมฤทธิ์ระหว่าง HST-5 และ PHS ถูกประเมินโดยใช้ checkerboard technique นอกจากนี้ความเป็นพิษต่อเซลล์ไฟโบรบลาสต์ของเหงือกมนุษย์ (hGFs) ถูกประเมินหลังจากบ่มกับสาร 1 ชั่วโมง โดยใช้ MTT assay ผลการศึกษา การทดสอบ time-kill assay แสดงให้เห็นว่า HST-5 และ PHS มีฤทธิ์ต้านเชื้อ S. mutans แบบขึ้นอยู่กับเวลาและความเข้มข้น โดยที่ PHS สามารถฆ่าเชื้อได้มากกว่า 90% ภายใน 15 นาที ที่ความเข้มข้น 5 μg/ml ในขณะที่ HST-5 ต้องใช้เวลา 30 นาที เพื่อฆ่าเชื้อ 90% ที่ความเข้มข้น 20 μM ความสามารถในการสร้างไบโอฟิล์มของ S. mutans ได้รับการยืนยัน ค่าความเข้มข้นที่สามารถยับยั้งการสร้างไบโอฟิล์มได้ครึ่งหนึ่ง (IC50) ของ HST-5 และ PHS คือ 25 μM และ 13.5 μg/ml ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่าการใช้ HST-5 และ PHS ร่วมกันให้ผลเสริมฤทธิ์ โดยค่า IC50 ลดลง 8 และ 16 เท่า ตามลำดับ สุดท้ายนี้ทั้งสองสารไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์ hGFs ที่ความเข้มข้นที่ใช้ในการออกฤทธิ์เสริมกัน สรุปผล ดังนั้น การใช้ HST-5 และ PHS ร่วมกันอาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของสารต้านจุลชีพต่อไบโอฟิล์มของ S. mutans ซึ่งอาจมีศักยภาพในการป้องกันการเกิดโรคฟันผุ
วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์
การศึกษาปรสิตในปลาหมอคางดำและการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า ปรสิตเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อสุขภาพของปลาและความสมดุลของระบบนิเวศทางทะเล การศึกษาปรสิตในปลาจึงมีบทบาทสำคัญในการประเมินสถานภาพประชากรปลาและผลกระทบต่อระบบนิเวศ งานวิจัยนี้มุ่งเน้นการสำรวจปรสิตเบื้องต้นในปลาหมอคางดำ (Sarotherodon melanotheron) ในน่านน้ำจังหวัดชุมพร เพื่อตรวจสอบว่าปลาชนิดนี้มีการติดเชื้อปรสิตหรือไม่ ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาจะช่วยเป็นแนวทางสำคัญสำหรับการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเล รวมถึงแนวทางในการนำปลาหมอคางดำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร เพื่อลดจำนวนประชากรของปลาชนิดนี้ในระบบนิเวศ หนึ่งในแนวทางการแปรรูปปลาหมอคางดำ คือ ผลิตภัณฑ์ "นายฮ้อยหัวฟู" ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อนำเนื้อปลามาทอดให้กรอบและฟู ก่อนนำมายำกับมะม่วงเพื่อเพิ่มรสชาติให้น่ารับประทานมากยิ่งขึ้น การแปรรูปนี้ไม่เพียงช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับปลา แต่ยังเป็นแนวทางในการบริหารจัดการประชากรปลาหมอคางดำที่อาจมีผลกระทบต่อระบบนิเวศ จากผลการศึกษา พบว่าไม่มีการติดเชื้อปรสิตทั้งภายในและภายนอกของปลาหมอคางดำที่เก็บตัวอย่าง ซึ่งบ่งชี้ว่าสภาพแวดล้อมทางทะเลในพื้นที่ศึกษามีความเหมาะสมต่อสุขภาพของปลา อย่างไรก็ตาม ควรมีการศึกษาต่อเนื่องเพื่อเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศในระยะยาว และประเมินผลกระทบของปลาหมอคางดำต่อความสมดุลของระบบนิเวศ เพื่อให้สามารถจัดการทรัพยากรได้อย่างยั่งยืน