KMITL Innovation Expo 2025 Logo

รายการนวัตกรรม

รวมสุดยอดนวัตกรรมแห่งอนาคต ที่พัฒนาโดยนักวิจัยไทย! พบกับเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดจาก KMITL ที่จะเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตและอุตสาหกรรมของเรา

การวิเคราะห์องค์ประกอบสำคัญของแผนปฏิบัติการบินที่ระดับความสูงต่ำ

วิทยาลัยอุตสาหกรรมการบินนานาชาติ

การวิเคราะห์องค์ประกอบสำคัญของแผนปฏิบัติการบินที่ระดับความสูงต่ำ

การวิเคราะห์นี้มุ่งเน้นไปที่องค์ประกอบที่สำคัญของแผนการบินเมื่อปฏิบัติการที่ระดับความสูงต่ำ การศึกษาสำรวจองค์ประกอบสำคัญที่นักบินและผู้ควบคุมการบินต้องพิจารณาเพื่อรับประกันความปลอดภัยของผู้โดยสาร ลูกเรือ และเครื่องบินขณะบินในระดับความสูงต่ำ ด้วยการตรวจสอบปัจจัยต่างๆ เช่น สภาพอากาศ ข้อจำกัดของน่านฟ้า การพิจารณาภูมิประเทศ และขั้นตอนฉุกเฉิน การวิเคราะห์นี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ข้อมูลเชิงลึกที่มีคุณค่าในการเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการวางแผนการบินสำหรับการปฏิบัติการในระดับความสูงต่ำ

เครื่องทำความร้อนด้วยการเหนี่ยวนำแบบขดลวดคู่สำหรับโรงงานเครื่องประดับที่พัฒนาด้วยการวิเคราะห์ทางแม่เหล็กไฟฟ้า

วิทยาลัยนวัตกรรมการผลิตขั้นสูง

เครื่องทำความร้อนด้วยการเหนี่ยวนำแบบขดลวดคู่สำหรับโรงงานเครื่องประดับที่พัฒนาด้วยการวิเคราะห์ทางแม่เหล็กไฟฟ้า

เครื่องทำความร้อนแบบเหนี่ยวนำ (Induction Heating Machine: IHM) เป็นอุปกรณ์สำคัญในอุตสาหกรรมเครื่องประดับ โดยใช้สนามแม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อให้ความร้อนและเชื่อมโลหะมีค่า งานวิจัยนี้มุ่งพัฒนาเครื่องทำความร้อนแบบเหนี่ยวนำขดลวดคู่ (Dual Coil IHM) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุนของโรงงานเครื่องประดับ โดยใช้ การวิเคราะห์แม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Analysis: EMA) ผ่านซอฟต์แวร์ Ansys Maxwell กระบวนการวิจัยเริ่มจากการทดสอบเครื่อง IHM แบบขดลวดเดี่ยวในสภาวะการทำงานจริง และใช้ EMA เพื่อวิเคราะห์ความหนาแน่นฟลักซ์แม่เหล็ก (B) ที่เกิดขึ้น จากนั้นได้ออกแบบและเปรียบเทียบการทำงานของขดลวดคู่ในรูปแบบ ขนาน (Parallel) และ อนุกรม (Series) ผลการทดลองพบว่า ขดลวดอนุกรมให้ค่าฟลักซ์แม่เหล็กสูงกว่า และสามารถปรับค่ากระแส (I), ความถี่ (f), จำนวนรอบขดลวด (N) และระยะห่างขดลวด (d) เพื่อให้ได้ค่าที่เหมาะสมสำหรับการผลิต ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า เครื่อง IHM ขดลวดคู่แบบอนุกรมสามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้ 2 เท่า เมื่อเทียบกับเครื่องเดิม ทั้งนี้ เทคโนโลยี EMA ช่วยลดการทดลองเชิงกายภาพ ลดข้อผิดพลาด และเพิ่มความแม่นยำในการออกแบบเครื่องจักรอุตสาหกรรมเครื่องประดับ

การใช้สารสกัดจากใบพลูคาวและใบดีปลีเพื่อยับยั้งเชื้อฉวยโอกาสในผู้ป่วยโรคภูมิเเพ้ผิวหนัง

คณะวิทยาศาสตร์

การใช้สารสกัดจากใบพลูคาวและใบดีปลีเพื่อยับยั้งเชื้อฉวยโอกาสในผู้ป่วยโรคภูมิเเพ้ผิวหนัง

ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ผิวหนังมีจำนวนมากเป็นอันดับที่สอง ในจำนวนผู้ป่วยโรคผิวหนัง ซึ่งโรคภูมิแพ้ผิวหนังนี้ยังไม่มียารักษา ทำได้แค่บรรเทารักษาตามอาการ ทำให้เกิดเป็นโรคเรื้อรัง มีโอกาสที่เชื้อฉวยโอกาสจะเข้าไปก่อโรคเพิ่มจากแผลของผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยมีอาการแทรกซ้อนจากการติดเชื้อชนิดอื่น การศึกษาในครั้งนี้จึงสนใจศึกษาการลดโอกาสในการติดเชื้อฉวยโอกาสในผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ผิวหนัง โดยใช้สารสกัดจากธรรมชาติ ซึ่งสนใจใบพลูคาวและดีปลี เนื่องจากมีข้อมูลสนับสนุนเรื่องการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ โดยการนำใบของพืชทั้ง 2 ชนิด มาสกัดแบบหยาบ แช่ใน ethanol 95% เป็นเวลา 7 วัน กรองด้วยกรวยกรอง buchner นำสารสกัดที่ได้ไปทดสอบ phytochemical เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบ phenolic, flavonoid, tannin, anthocyanin, DPPH และนำไปทดสอบฤทธิ์ในการต้านจุลชีพ ซึ่งในการทดลองประกอบด้วยแบบคทีเรียแกรมบวกและแกรมลบ 5 ชนิด ได้แก่ E. coli, Bacillus subtilis, Pseudomonas aeruginosa, Staphylococcus aureus, Staphylococcus epidermidis โดยผู้ทำการวิจัยคาดว่าจะสามารถนำไปต่อยอดและนำไปพัฒนาในการรักษาผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ผิวหนังได้

เพาะเลี้ยงหอยแอปเปิลสีทองและไข่ผำด้วยระบบน้ำวน พื้นที่น้อย ทำได้จริง สร้างรายได้

คณะเทคโนโลยีการเกษตร

เพาะเลี้ยงหอยแอปเปิลสีทองและไข่ผำด้วยระบบน้ำวน พื้นที่น้อย ทำได้จริง สร้างรายได้

การสร้างระบบเลี้ยงและบำบัดน้ำไปในตัวโดยใช้รูปแบบFlow water system โดยข้อจำกัดคือเพาะเลี้ยงในพื้นที่เล็กๆแต่ได้ผลจริง

ลัคกี้ ลักษมี

คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ

ลัคกี้ ลักษมี

เครื่องทำนายโชคชะตาแรงบันดาลใจพระแม่ลักษมี เทพีเเห่งความเจริญรุ่งเรือง : Luckier in Love Everyday — 2025 Edition. Amidst the buzz of the mall, take charge of your love destiny—because fate is so last season. ลูกรักลักษมีควรรู้... ตามหารักให้เหมือนช้อปปิ้ง - รีบซิ่งไปช้อป ก่อนหมดสต็อกนะจ๊ะ , Lakshmi 2025 Edition เครื่องทำนายโชคชะตาสุดล้ำ แรงบันดาลใจจากพระแม่ลักษมี เทพีแห่งความเจริญรุ่งเรือง เปลี่ยนโชคชะตาความรักของคุณให้กลายเป็นสิ่งที่คุณกำหนดเอง!

การจำแนกระดับทักษะในการเขียนของเด็กโดยใช้เทคโนโลยีการประมวลผลภาพ

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ

การจำแนกระดับทักษะในการเขียนของเด็กโดยใช้เทคโนโลยีการประมวลผลภาพ

ในปัจจุบันปัญหาด้านภาวะพัฒนาการบกพร่องด้านการเขียนที่เกิดขึ้นในเด็กนั้น เป็นปัญหาที่ควรให้ความ สําคัญอย่างมากสําหรับเด็กในวัยเรียนรู้ โดยการวินิจฉัยว่าตัวเด็กนั้นมีความผิดปกติทางภาวะพัฒนาการบกพร่องด้านการเขียนหรือไม่นั้น จำต้องอาศัยแบบประเมินทักษะในการเขียน ซึ่งจะถูกนำไปให้ผู้ที่ต้องการวินิจฉัยทำ และถูกประเมินโดยแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีข้อจำกัดในเรื่องของรูปแบบในการวินิจฉัยที่ต้องอาศัยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จึงทำให้มีความต้องการทางด้านทรัพยากรบุคคลเป็นอย่างมาก เราจึงทำการออกแบบวิธีในการให้คะแนนผ่านแบบประเมินทักษะในการเขียน โดยใช้เทคโนโลยีประมวลผลภาพและอาศัยเกณฑ์การให้คะแนนจากเกณฑ์ดังเดิม โดยมีเกณฑ์การให้คะแนนที่สามารถหาได้ปัจจุบันอยู่ 3 เกณฑ์ตอนนี้ คือ ตําแหน่ง การเขียนบทความ รูปแบบบทความ และความเร็วในการคัดลอก อีกทั้งเรายังทำการจัดสร้างเว็บแอปพลิเคชันเพื่อให้สามารถให้งานระบบได้ง่ายยิ่งขึ้น

การพัฒนาวิธีการวิเคราะห์ปริมาณกรดแทนนิกเชิงสีในตัวอย่างเครื่องดื่มด้วยอนุภาคแพลทินัมนาโนที่ปรับปรุงด้วยกรดแกลลิกโดยอาศัยปรากฎการณ์การแทนที่ของสารรักษาเสถียรภาพ

คณะวิทยาศาสตร์

การพัฒนาวิธีการวิเคราะห์ปริมาณกรดแทนนิกเชิงสีในตัวอย่างเครื่องดื่มด้วยอนุภาคแพลทินัมนาโนที่ปรับปรุงด้วยกรดแกลลิกโดยอาศัยปรากฎการณ์การแทนที่ของสารรักษาเสถียรภาพ

งานวิจัยนี้ได้นำเสนอการวิเคราะห์เชิงสี (Colorimetric detection) สำหรับตรวจวัดกรดแทนนิก (tannic acid) ในตัวอย่างเครื่องดื่มจากพืช โดยอาศัยปรากฏการณ์การแทนที่ (displacement phenomenon) ของสารรักษาเสถียรภาพบนพื้นผิวของอนุภาคแพลทินัมนาโน (PtNPs) ที่ถูกรักษาเสถียรภาพด้วยกรดแกลลิก (gallic acid) ซึ่งกรดแกลลิกสามารถรักษาเสถียรภาพของ PtNPs ให้อยู่ในรูปของอนุภาคที่รวมตัวกันและให้สารคอลลอยด์ที่เป็นสีเขียว โดยกรดแทนนิกสามารถแทนที่กรดแกลลิกบนพื้นผิวของ PtNPs ได้ง่าย ส่งผลให้อนุภาคที่รวมตัวกันเกิดการกระจายตัวและเปลี่ยนสีจากเขียวเป็นส้ม−น้ำตาล และภายใต้สภาวะที่เหมาะสม ตัวตรวจวัดเชิงสีแสดงค่าการตอบสนองเชิงเส้นในช่วงความเข้มข้น 1−2,000 µmol L⁻¹ (R² = 0.9991) โดยมีขีดจำกัดในการตรวจวัด (LOD) และขีดจำกัดเชิงปริมาณ (LOQ) ที่ 0.02 และ 0.09 µmol L⁻¹ ตามลำดับ ตัวตรวจวัดเชิงสีที่พัฒนาขึ้นมีความจำเพาะสูงต่อกรดแทนนิกและไม่ถูกรบกวนจากสารอื่น อีกทั้งยังมีค่าความแม่นยำที่ดี (RSD = 1.00%−3.36%) ที่สำคัญคือ ให้ค่าการคืนกลับ (recovery) อยู่ในช่วง 95.0−104.7% แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของเซนเซอร์คัลเลอริเมตริกที่สามารถตรวจวัดกรดแทนนิกได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำในตัวอย่างเครื่องดื่มจริง แม้ว่าวิธีการตรวจวัดกรดแทนนิกที่ถูกพัฒนาขึ้นจะเป็นเทคนิคที่รวดเร็วในการตรวจวัดกรดแทนนิก แต่ยังคงมีปัญหาเกี่ยวกับความไว (sensitivity) และความแม่นยำ (accuracy) ของการวิเคราะห์ โดยเฉพาะเมื่อมีสารแอนโทไซยานิน (anthocyanin) รบกวน ดังนั้น จึงพัฒนาวิธีเตรียมตัวอย่างเพื่อย่อยสลายแอนโทไซยานินในเครื่องดื่มเพื่อลดการรบกวนของสารที่มีสีต่อการตรวจวัดเชิงสีสำหรับวิเคราะห์ปริมาณกรดแทนนิกในเครื่องดื่ม

การออกแบบสวนสาธารณะ: วิถีชาวเล

คณะเทคโนโลยีการเกษตร

การออกแบบสวนสาธารณะ: วิถีชาวเล

โปรเจคสวนสาธารณะ: วิถีชาวเล เป็นการออกแบบสวนสาธารณะในพื้นที่ ตำบลอ่างศิลา จังหวัดชลบุรี ในขนาดพื้นที่ 56 ไร่ เพื่อเป็นสถานที่พักผ่อน นันทนาการ ทั้งยังเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ อนุรักษ์ ชายทะเลและวิถีชีวิตดั้งเดิมของพื้นที่

การพัฒนาฟิล์มรับประทานได้ที่บรรจุสารสกัดสมอไทยเพื่อป้องกันแผลในช่องปาก

คณะอุตสาหกรรมอาหาร

การพัฒนาฟิล์มรับประทานได้ที่บรรจุสารสกัดสมอไทยเพื่อป้องกันแผลในช่องปาก

การศึกษานี้มุ่งเน้นการพัฒนาฟิล์มรับประทานได้ที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากสมอไทย (Terminalia chebula Retz) เพื่อใช้ในการรักษาแผลในช่องปาก ฟิล์มชนิดนี้ถูกออกแบบให้ละลายได้ในช่องปากโดยไม่ต้องกลืนหรือเคี้ยว ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่มีแผลร้อนในหรืออาการอักเสบในช่องปาก สารสกัดจากสมอไทยมีคุณสมบัติทางเภสัชวิทยาหลายประการ เช่น ฤทธิ์ต้านเชื้อจุลินทรีย์ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และฤทธิ์ต้านการอักเสบ