การศึกษานี้มุ่งเน้นการพัฒนาฟิล์มรับประทานได้ที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากสมอไทย (Terminalia chebula Retz) เพื่อใช้ในการรักษาแผลในช่องปาก ฟิล์มชนิดนี้ถูกออกแบบให้ละลายได้ในช่องปากโดยไม่ต้องกลืนหรือเคี้ยว ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่มีแผลร้อนในหรืออาการอักเสบในช่องปาก สารสกัดจากสมอไทยมีคุณสมบัติทางเภสัชวิทยาหลายประการ เช่น ฤทธิ์ต้านเชื้อจุลินทรีย์ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และฤทธิ์ต้านการอักเสบ
ฟิล์มรับประทานมักมีส่วนประกอบของสารต้านจุลินทรีย์หลากหลายชนิด รวมถึงกรดอินทรีย์ (Brink และคณะ, 2019) แบคทีเรียซิน (Ge และคณะ, 2017) น้ำมันหอมระเหย (Lee และคณะ, 2019; Evangelho และคณะ, 2019) และสารสกัด (Wai และคณะ, 2019) สารเหล่านี้จะถูกปล่อยออกมาในอาหารระหว่างการ จัดเก็บและช่วยเพิ่มความปลอดภัยของอาหาร สมอไทย (Terminalia chebula) ถูกนำมาใช้เป็นยาแผนโบราณเป็นเวลานาน มีการนำมาใช้กันอย่าง แพร่หลายใน การแพทย์พื้นบ้านและจัดอยู่ในตำรายาไทย ได้แก่ มหาพิกัดตรีผลา พิกัดตรีสมอ และพิกัดจตุ ผลาธิ มีสรรพคุณรักษาโรคต่างๆ เช่น ขับลม บิด ยาบำรุงตับ ย่อยอาหาร ยาแก้ท้องเสีย ยาแก้ปวด ยาถ่าย พยาธิ เป็นต้น ซึ่งพบสาร ออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่สำคัญได้แก่ Arachidic acid Hebulanin Chebupentol Daucosterol Punicalagin Quercetin Sitosterol Tannin สารประกอบเหล่านี้มีสรรพคุณทางเภสัชวิทยา หลายประการ ยกตัวอย่างเช่น มีฤทธิ์ในการยับยั้งแบคทีเรีย ฤทธิ์ยับยั้งเชื้อรา ฤทธิ์ต้านสารก่อมะเร็ง ฤทธิ์ต้าน อนุมูลอิสระ ฤทธิ์ต้านเบาหวาน ฤทธิ์ต้านการอักเสบ และฤทธิ์ต้านเชื้อเอชไอวี (Bulbul และคณะ, 2022) สาเหตุของแผลร้อนในหรือแผลในปาก อาจเกิดจากการแพ้อาหาร หรือมีภาวะภูมิคุ้มกันผิดปกติ บาง รายเกิดจากการขาดสารอาหาร เช่น วิตามินบี 12 ขาดธาตุเหล็ก ขาดวิตามินซี นอกจากนี้ก็อาจเกิดจากโรค ลำไส้อักเสบ ความเครียด กัดโดนเยื่อบุปาก เคี้ยวของแข็ง แปรงฟันผิดวิธี รับประทานอาหารเผ็ดร้อน สูบบุหรี่ หรือฟันปลอมที่สวมไม่พอดี ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของโซเดียมลอรีลซัลเฟต ก็อาจทำให้เกิดแผลในปากได้ (สมตระกูล และคณะ, 2017) ซึ่งการใช้สารสกัดจากสมอไทยที่มีสรรพคุณมากมายเติมลงไปในแผ่นฟิล์มที่บริโภคได้ เป็นวิธีการรักษา แผลในปากแบบใหม่เพื่อเยียวยาแผลในปากและเป็นทางเลือกใหม่สำหรับคนที่ไม่ชอบใช้ยาทาแผล
คณะอุตสาหกรรมอาหาร
การปฏิบัติกิจกรรมการดำเนินงานของโครงการประกอบด้วยการตรวจเชื้อจุลินทรีย์ในตัวอย่างอาหาร สุขลักษณะมือผู้ปรุง/ผู้สัมผัสอาหาร ภาชนะ และอุปกรณ์ การอบรมให้ความรู้เรื่องสุขาภิบาลอาหารและสุขวิทยาส่วนบุคคล สภาพการสุขาภิบาลอาหารของโรงอาหารและสุขลักษณะร่างกายของผู้ปรุงอาหาร โดยทางหลักสูตรการจัดการความปลอดภัยอาหารร่วมกับสำนักงานบริหารทรัพย์สิน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังวางแผนปฏิบัติการประเมินสถานที่จำหน่ายอาหารตามหลักมาตรฐานความปลอดภัยอาหาร SAN 20 ข้อกำหนด ตรวจการปนเปื้อนเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหาร ภาชนะอุปกรณ์ มือผู้สัมผัสโดยใช้ชุดตรวจสอบ อ.13 จำนวน 6 ตัวอย่าง เช่น อาหารปรุงสำเร็จ พื้นที่เตรียมหน้าร้าน มือผู้สัมผัสอาหาร นอกจากนี้ยังมีการตรวจการปนเปื้อนเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในน้ำใช้ น้ำแข็งด้วยชุดตรวจสอบ อ.11 ผลวิเคราะห์ที่ได้ทั้งทางกายภาพ จุลินทรีย์และเคมีเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยในการผลิตและบริการอาหารของโรงอาหารภายในสถาบัน
คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ
การแสดงถึงธรรมชาติในการเริ่มต้นใหม่
วิทยาลัยนวัตกรรมการผลิตขั้นสูง
เนื่องจากไซโลเก็บข้าวอินทรีย์เผชิญกับปัญหาแมลง เจ้าของจึงแก้ไขปัญหานี้โดยใช้ระบบผู้เชี่ยวชาญ (ES) ในกระบวนการควบคุมบรรยากาศ (CAP) ภายใต้มาตรฐานที่กำหนด โดยทำการรมแมลงด้วยไนโตรเจน (N₂) และลดความเข้มข้นของออกซิเจน (O₂) ให้น้อยกว่า 2% เป็นเวลา 21 วัน บทความนี้นำเสนอการใช้พลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณ (CFD) ร่วมกับ ES ซึ่งสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขั้นแรก CFD ถูกนำมาใช้เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการไหลของก๊าซ ความเข้มข้นของ O₂ สภาวะการทำงานที่เหมาะสม และค่าสัมประสิทธิ์การแก้ไข (K) ของไซโล ซึ่งผลลัพธ์ของ CFD สอดคล้องกับผลการทดลองและทฤษฎี ยืนยันความน่าเชื่อถือของ CFD อย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ ผลการวิเคราะห์ของ CFD ยังแสดงให้เห็นว่า ES สามารถควบคุมการกระจายตัวของไนโตรเจนภายในไซโลได้อย่างทั่วถึงและลดความเข้มข้นของ O₂ ให้เป็นไปตามข้อกำหนด จากนั้น ระบบ ES ถูกพัฒนาขึ้นโดยอาศัยกลไกการวินิจฉัย (Inference Engine) ที่ได้รับการสนับสนุนจากผลลัพธ์ของ CFD และหลักการกวาดผ่านเพื่อล้าง (Sweep-Through Purging) ก่อนจะนำไปใช้ในกระบวนการ CAP สุดท้าย การทดลองถูกดำเนินการเพื่อประเมินประสิทธิภาพของ CAP ในการควบคุมความเข้มข้นของ O₂ และกำจัดแมลงภายในไซโลจริง ผลการทดลองและข้อเสนอแนะจากเจ้าของยืนยันว่า การนำ ES ไปใช้มีประสิทธิภาพสูง จึงทำให้ CAP เป็นกระบวนการที่มีประสิทธิผลและสามารถนำไปใช้ได้จริง ความแปลกใหม่ของงานวิจัยนี้อยู่ที่การใช้วิธีการ CFD ในการสร้างกลไกการวินิจฉัยและพัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญ (ES)