KMITL Innovation Expo 2025 Logo

การจำแนกระดับทักษะในการเขียนของเด็กโดยใช้เทคโนโลยีการประมวลผลภาพ

รายละเอียด

ในปัจจุบันปัญหาด้านภาวะพัฒนาการบกพร่องด้านการเขียนที่เกิดขึ้นในเด็กนั้น เป็นปัญหาที่ควรให้ความ สําคัญอย่างมากสําหรับเด็กในวัยเรียนรู้ โดยการวินิจฉัยว่าตัวเด็กนั้นมีความผิดปกติทางภาวะพัฒนาการบกพร่องด้านการเขียนหรือไม่นั้น จำต้องอาศัยแบบประเมินทักษะในการเขียน ซึ่งจะถูกนำไปให้ผู้ที่ต้องการวินิจฉัยทำ และถูกประเมินโดยแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีข้อจำกัดในเรื่องของรูปแบบในการวินิจฉัยที่ต้องอาศัยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จึงทำให้มีความต้องการทางด้านทรัพยากรบุคคลเป็นอย่างมาก เราจึงทำการออกแบบวิธีในการให้คะแนนผ่านแบบประเมินทักษะในการเขียน โดยใช้เทคโนโลยีประมวลผลภาพและอาศัยเกณฑ์การให้คะแนนจากเกณฑ์ดังเดิม โดยมีเกณฑ์การให้คะแนนที่สามารถหาได้ปัจจุบันอยู่ 3 เกณฑ์ตอนนี้ คือ ตําแหน่ง การเขียนบทความ รูปแบบบทความ และความเร็วในการคัดลอก อีกทั้งเรายังทำการจัดสร้างเว็บแอปพลิเคชันเพื่อให้สามารถให้งานระบบได้ง่ายยิ่งขึ้น

วัตถุประสงค์

ปัญหาด้านภาวะพัฒนาการบกพร่องด้านการเขียนที่เกิดขึ้นในเด็กนั้น เป็นปัญหาที่ควรให้ความ สำคัญอย่างมากสำหรับเด็กในวัยเรียนรู้ เนื่องจากส่งผลกระทบต่อการพัฒนาทักษะพื้นฐานอันเป็นหัวใจ หลักของการเรียนรู้สำหรับเด็กในอนาคต เช่น ทักษะการคำนวณพื้นฐาน ทักษะด้านการสื่อสารรวม ถึงทักษะในการเข้าสังคม ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญต่อการใช้ชีวิตของเด็กในอนาคต ถึงกระนั้นภาวะพัฒนาการ บกพร่องด้านการเขียนก็ได้รับความสนใจในการศึกษาค้นคว้าน้อยกว่าภาวะความบกพร่องในด้านอื่น ๆ เป็นอย่างมาก เนื่องจากมีความซับซ้อนจากหลากหลายปัจจัย ถึงแม้ว่าการที่ภาวะพัฒนา การบกพร่อง ด้านการเขียนมักถูกวินิจฉัยเมื่อเข้าสู่สถานศึกษา แต่ก็ยังต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านการแพทย์ เพื่อมาชี้แนะและแนะนำแนวทางที่ถูกต้อง เพื่อเฝ้าระวังและรักษาภาวะความบกพร่องนี้ได้อย่างทัน ท่วงที ปัจจุบันภาวะพัฒนาการบกพร่องด้านการเขียนจะถูกวินิจฉัยด้วยระดับของทักษะความสามารถ ในการเขียนของผู้ที่ถูกประเมิน ซึ่งจะถูกประเมินโดยลักษณะความผิดพลาดของการเขียนที่เห็นได้อย่าง ชัดเจน เช่น การสร้างรูปแบบบทความ การจัดเรียงบรรทัดหรือรูปแบบในการสร้างตัวอักษร โดยจะ ถูกประเมินผ่านการสังเกตของมนุษย์ จึงจำเป็นที่จะต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญเพื่อที่จะสามารถมั่นใจได้ว่า ผลลัพธ์จากการประเมินดังกล่าวนั้นถูกต้อง จึงทำให้การวินิจฉัยภาวะพัฒนาการบกพร่องในการเขียน นั้นต้องอาศัยบุคลากรเป็นอย่างมาก และยังไม่มีอุปกรณ์ในการช่วยเหลือใด ๆ ที่จะทำให้การวินิจฉัย รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทางเราจึงเชื่อว่าการนำเทคโนโลยีประมวลผลภาพเข้ามาปรับใช้ในการตรวจสอบข้อผิดพลาด ใน การเขียนของเด็กโดยอาศัยเทคนิคต่าง ๆ เพื่อทำการหาปัจจัยที่เป็นตัวบ่งบอกถึงระดับทักษะใน การเขียน และนำข้อมูลดังกล่าวที่ได้จากการใช้เทคโนโลยีประมวลผลภาพ มาวิเคราะห์เพื่อทำการแบ่ง ระดับทักษะออกมาโดยเบื้องต้น เพื่อให้ผู้ที่ส่วนเกี่ยวข้องใช้เป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาหรือใช้สำหรับ ประกอบควบคู่ไปกับการวินิจฉัย

นวัตกรรมอื่น ๆ

การหมักร่วมกันของ lactic acid bacteria และ Saccharomyces cerevisiae เพื่อผลิตเบียร์เปรี้ยว

คณะอุตสาหกรรมอาหาร

การหมักร่วมกันของ lactic acid bacteria และ Saccharomyces cerevisiae เพื่อผลิตเบียร์เปรี้ยว

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการหมักร่วม (Co-fermentation) ระหว่างแบคทีเรียกรดแลคติก (Lactic Acid Bacteria, LAB) และยีสต์ Saccharomyces cerevisiae ในการผลิตเบียร์เปรี้ยว (Sour Beer) โดยมุ่งเน้นผลกระทบของการหมักร่วมต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ค่า pH ปริมาณกรดอินทรีย์ ปริมาณน้ำตาล และคุณลักษณะทางประสาทสัมผัส ในการทดลอง ใช้แบคทีเรียกรดแลคติกสายพันธุ์ที่คัดเลือก และยีสต์ S. cerevisiae ในสภาวะการหมักที่ควบคุม อัตราส่วนของจุลินทรีย์ถูกปรับให้เหมาะสมเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตและการสร้างสารสำคัญ ผลการทดลองพบว่า การหมักร่วมสามารถลดค่า pH ได้อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับการหมักด้วยยีสต์เพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ ยังมีการเพิ่มขึ้นของกรดแลคติกเนื่องจากการใช้น้ำตาลของเชื้อLAB ซึ่งส่งผลต่อรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ของเบียร์เปรี้ยว

ชีวิตติดแว้น

คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ

ชีวิตติดแว้น

งานชิ้นนี้ได้แนวคิดจากการนำวัฒนธรรมการแว้นรถของวัยรุ่นไทย มานำเสนอในรูปแบบใหม่ผ่านมุมมองของตัวเรา สร้างคาแรคเตอร์และนำองค์ประกอบต่างๆภายในวัฒนธรรมมารวมเข้ากับสิ่งที่เราชอบ ไม่ว่าจะเป็นสติ๊กเกอร์ โปสเตอร์และ เสื้อวงดนตรี ด้วยเทคนิคสีอะคริลิค

การผลิตเชื้อต้นแบบ Lactic acid bacteria ในการผลิต Probiotic จากประเทศไทยที่สามารถใช้ในระบบผลิตปศุสัตว์

คณะเทคโนโลยีการเกษตร

การผลิตเชื้อต้นแบบ Lactic acid bacteria ในการผลิต Probiotic จากประเทศไทยที่สามารถใช้ในระบบผลิตปศุสัตว์

สารปฏิชีวนะ (Antibiotic) ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในระบบการผลิตปศุสัตว์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นภูมิคุมกัน เพิ่มประสิทธิภาพการย่อยและดูดซึมโภชนะ กระตุ้นการเจริญเติบโต ปรับสมดุลของระบบทางเดินอาหาร และลดการเกิดการติดเชื้อก่อโรค โดยเฉพาะกลุ่มที่ก่อให้เกิดโรคท้องเสีย เป็นต้น นอกจากนั้น สารปฏิชีวนะยังมีส่วนช่วยในเรื่องของผลตอบแทนทางเศรฐกิจอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตาม การใช้สารปฏิชีวนะที่ไม่ถูกวิธีก่อให้เกิดปัญหาเรื่องการตกค้างของสารปฏิชีวนะในผลิตภัณฑ์ การดื้อยาในสัตว์และผู้บริโภค ด้วยเหตุนี้หลายประเทศห้ามไม่ให้ใช้ยาปฏิชีวนะเป็นสารเร่งการเจริญเติบโต เช่น สหภาพยุโรป ประเทศญี่ปุ่น และยังมีอีกหลายๆ ประเทศที่มีการวางแผนที่จะห้ามไม่ให้มีการใช้ยาปฏิชีวนะในอาหารสัตว์ เช่น ประเทศจีน และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น ในขณะที่ประเทศไทยได้มีประกาศควบคุมการใช้ยาปฏิชีวนะในอาหารสัตว์โดยมีผลบังคับใช้ทั้งระดับโรงงานผลิตอาหารสัตว์ และฟาร์มที่ผสมอาหารสัตว์ใช้เองตั้งแต่วันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2563 ดังนั้น การทดแทนการใช้สารปฏิชีวนะด้วย Probiotic ถือว่าเป็นการแก้ปัญหาได้เป็นอย่างดี ในการศึกษาครั้งนี้ ได้ทำการศึกษาเชื้อ Lactic acid bacteria ที่มีอยู่ในระบบทางเดินอาหารของไก่เนื้อ สุกร และโคเนื้อ ที่มีคุณสมบัติเป็น Probiotic ที่มีความเหมาะสมต่อการใช้ในสภาพแวดล้อมของประเทศไทย เพื่อใช้เป็นเชื่อต้นแบบทดแทนการนำเข้าผลิตภัณฑ์ Probiotic กลุ่ม Lactic acid bacteria จากต่างประเทศที่มักจะประสบปัญหาเรื่องอัตราการรอดชีวิตเมื่อนำไปใช้จริง