KMITL Innovation Expo 2025 Logo

เพาะเลี้ยงหอยแอปเปิลสีทองและไข่ผำด้วยระบบน้ำวน พื้นที่น้อย ทำได้จริง สร้างรายได้

รายละเอียด

การสร้างระบบเลี้ยงและบำบัดน้ำไปในตัวโดยใช้รูปแบบFlow water system โดยข้อจำกัดคือเพาะเลี้ยงในพื้นที่เล็กๆแต่ได้ผลจริง

วัตถุประสงค์

ต้องการสร้างระบบน้ำและเลี้ยงสัตว์น้ำในพื้นที่ที่มีจำกัด

นวัตกรรมอื่น ๆ

การประยุกต์ใช้กระบวนการทางคอมพิวเตอร์เพื่อค้นหาสารประกอบที่ยับยั้ง TIGIT ซึ่งเป็น immune checkpoint molecule สำหรับภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็ง: การคัดกรองด้วยกระบวนการทางคอมพิวเตอร์ การศึกษาการจับตัว และการวิเคราะห์พลวัตระดับโมเลกุล

คณะวิทยาศาสตร์

การประยุกต์ใช้กระบวนการทางคอมพิวเตอร์เพื่อค้นหาสารประกอบที่ยับยั้ง TIGIT ซึ่งเป็น immune checkpoint molecule สำหรับภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็ง: การคัดกรองด้วยกระบวนการทางคอมพิวเตอร์ การศึกษาการจับตัว และการวิเคราะห์พลวัตระดับโมเลกุล

มะเร็งยังคงเป็นอีกหนึ่งปัญหาด้านสุขภาพที่สำคัญระดับโลก โดยเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับสองของคนทั่วโลก ในปัจจุบันนอกเหนือจากการผ่าตัดรักษาโรคมะเร็งแล้ว ยังมีการรักษามะเร็งด้วยวิธีต่างๆ ได้แก่ การฉายรังสี และเคมีบำบัด อย่างไรก็ตามการรักษาด้วยวิธีดังกล่าวทำให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงต่อผู้ป่วยได้ เนื่องจากทั้งเซลล์มะเร็งและเซลล์ปกติต่างถูกกำจัดไปพร้อมกัน ดังนั้นจึงมีการใช้โมโนโคลนอลแอนติบอดีที่สามารถจับกับโมเลกุลที่มะเร็งใช้ยับยั้งภูมิคุ้มกันของร่างกาย (immune checkpoint molecule) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง TIGIT/PVR (T-cell immunoglobulin and ITIM domain/poliovirus receptor) ซึ่งเป็นโมเลกุลที่เป็นเป้าหมายในการการพัฒนายารักษามะเร็ง การใช้โมโนโคลนอลแอนติบอดีในการยับยั้ง TIGIT แม้จะมีประสิทธิภาพในการรักษาที่ดี แต่จากการทดลองในผู้ป่วยพบว่าสามารถเกิดผลข้างเคียงจากการใช้แอนติบอดีและไปขัดขวางการทำงานตามปกติของร่างกาย และแอนติบอดีมีต้นทุนในการผลิตที่สูง ดังนั้นเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้ จึงมีการใช้สารประกอบขนาดเล็กแทน ซึ่งมีข้อดีในเรื่องของความสามารถในการดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดผ่านการรับประทานเข้าไปและคาดว่าสามารถจัดการเนื้องอกได้ดีกว่าโมโนโคลนอลแอนติบอดีเนื่องจากมีขนาดที่เล็กกว่า โดยในการทดลองนี้เราศึกษาตัวยาที่มีความสามารถในการจับกับ TIGIT โดยคัดกรองจากตัวยาที่ผ่านการอนุมัติจาก FDA (Food and Drug Administration) ผ่านวิธี virtual screening และ molecular docking ได้สารประกอบ 100 ตัว และนำมาคัดกรองต่อจนเหลือ 10 ตัว ซึ่งมีค่าความสามารถในการจับ TIGIT อยู่ในช่วง -9.152 to -7.643 kcal/mol จากนั้นสารประกอบเหล่านี้จะถูกประเมินคุณสมบัติทางเภสัชจลนศาสตร์โดยใช้การวิเคราะห์ ADMET (Absorption, Distribution, Metabolism, Excretion, และ Toxicity) เพื่อแสดงให้เห็นว่าตัวยาแต่ละตัวมีคุณสมบัติที่เหมาะสมสำหรับการใช้เป็นยา สารประกอบที่ผ่านเกณฑ์จะถูกวิเคราะห์ต่อโดยคาดคะเนการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างและความเสถียรในการจับกับ TIGIT ผ่านการใช้ molecular dynamics (MD) เพื่อให้มั่นใจว่าโครงสร้างของโปรตีนจะไม่เปลี่ยนแปลงไป การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการใช้วิธีการทางคอมพิวเตอร์และการนำยากลับมาใช้ใหม่ (Drug repurposing) สามารถเป็นแนวทางในการค้นหายาที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยเร่งกระบวนการพัฒนายารักษามะเร็งใหม่ได้รวดเร็วขึ้น

การประเมินคุณสมบัติของอนุภาคซิลเวอร์นาโนจากสารสกัดของสมอไทยสำหรับฟิล์มเคลือบสตรอเบอร์รี่

คณะอุตสาหกรรมอาหาร

การประเมินคุณสมบัติของอนุภาคซิลเวอร์นาโนจากสารสกัดของสมอไทยสำหรับฟิล์มเคลือบสตรอเบอร์รี่

งานวิจัยนี้ศึกษาฟิล์มบรรจุภัณฑ์แอคทีฟจากพอลิไวนิลแอลกอฮอล์ (PVA) และเส้นใยนาโนเซลลูโลส (NFC) โดยเติมอนุภาคซิลเวอร์นาโน (AgNPs) ที่สังเคราะห์จากสารสกัดสมอไทย ซึ่งมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา ฟิล์มที่พัฒนาขึ้นถูกทดสอบสมบัติทางกล การยับยั้งจุลินทรีย์ และการย่อยสลายทางชีวภาพ ผลการวิจัยพบว่าการเติม AgNPs จากสมอไทยช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการปกป้องผลิตภัณฑ์และยืดอายุการเก็บรักษาสตรอเบอร์รีได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

การพัฒนาฟิล์มรับประทานได้ที่บรรจุสารสกัดสมอไทยเพื่อป้องกันแผลในช่องปาก

คณะอุตสาหกรรมอาหาร

การพัฒนาฟิล์มรับประทานได้ที่บรรจุสารสกัดสมอไทยเพื่อป้องกันแผลในช่องปาก

การศึกษานี้มุ่งเน้นการพัฒนาฟิล์มรับประทานได้ที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากสมอไทย (Terminalia chebula Retz) เพื่อใช้ในการรักษาแผลในช่องปาก ฟิล์มชนิดนี้ถูกออกแบบให้ละลายได้ในช่องปากโดยไม่ต้องกลืนหรือเคี้ยว ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่มีแผลร้อนในหรืออาการอักเสบในช่องปาก สารสกัดจากสมอไทยมีคุณสมบัติทางเภสัชวิทยาหลายประการ เช่น ฤทธิ์ต้านเชื้อจุลินทรีย์ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และฤทธิ์ต้านการอักเสบ