ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ผิวหนังมีจำนวนมากเป็นอันดับที่สอง ในจำนวนผู้ป่วยโรคผิวหนัง ซึ่งโรคภูมิแพ้ผิวหนังนี้ยังไม่มียารักษา ทำได้แค่บรรเทารักษาตามอาการ ทำให้เกิดเป็นโรคเรื้อรัง มีโอกาสที่เชื้อฉวยโอกาสจะเข้าไปก่อโรคเพิ่มจากแผลของผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยมีอาการแทรกซ้อนจากการติดเชื้อชนิดอื่น การศึกษาในครั้งนี้จึงสนใจศึกษาการลดโอกาสในการติดเชื้อฉวยโอกาสในผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ผิวหนัง โดยใช้สารสกัดจากธรรมชาติ ซึ่งสนใจใบพลูคาวและดีปลี เนื่องจากมีข้อมูลสนับสนุนเรื่องการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ โดยการนำใบของพืชทั้ง 2 ชนิด มาสกัดแบบหยาบ แช่ใน ethanol 95% เป็นเวลา 7 วัน กรองด้วยกรวยกรอง buchner นำสารสกัดที่ได้ไปทดสอบ phytochemical เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบ phenolic, flavonoid, tannin, anthocyanin, DPPH และนำไปทดสอบฤทธิ์ในการต้านจุลชีพ ซึ่งในการทดลองประกอบด้วยแบบคทีเรียแกรมบวกและแกรมลบ 5 ชนิด ได้แก่ E. coli, Bacillus subtilis, Pseudomonas aeruginosa, Staphylococcus aureus, Staphylococcus epidermidis โดยผู้ทำการวิจัยคาดว่าจะสามารถนำไปต่อยอดและนำไปพัฒนาในการรักษาผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ผิวหนังได้
โรคภูมิเเพ้ผิวหนังเป็นโรคเรื้อรังที่ส่งผลกระทบต่อผู้คนทั้งวัยทารกไปจนถึงวัยชรา โดยมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม ระบบภูมิคุ้มกัน และสภาพแวดล้อม ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ผิวหนังจะมีอาการคัน ผิวหนังแห้งอักเสบ อาจมีตุ่มน้ำหรือหนองจากการอักเสบและมีการติดเชื้อร่วมด้วย จากข้อมูลด้านสถิติผู้ป่วยโรคผิวหนังตั้งแต่ปี พ.ศ.2559-2562 แสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยโรคผิวหนังมีอัตราเพิ่มขึ้นในทุกๆปีและที่มีจำนวนมากเป็นอันดับสองคือ ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ผิวหนัง (สถาบันโรคผิวหนัง ,2564) ในกรณีที่ จะมีโอกาสที่เชื้อจุลินทรีย์ทั่วไปจะเปลี่ยนเป็นเชื้อฉวยโอกาส ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคภูมิแพ้ผิวหนังโดยเฉพาะ การรักษาโรคภูมิแพ้ผิวหนังทางการแพทย์จะใช้ยาทากลุ่มสเตียรอยด์หรือยาทากลุ่ม Calcineurin inhibitors เพื่อบรรเทาอาการเท่านั้น แต่ตัวยาเหล่านี้อาจมีผลข้างเคียงต่อผู้ใช้ ในปัจจุบันนักวิจัยให้ความสนใจกับการใช้สารสกัดจากธรรมชาติในการรักษาโรคต่างๆ เนื่องจากเป็นวิธีการรักษาที่มีผลข้างเคียงน้อยกว่าการใช้ยากลุ่มอื่นรักษา เช่นเดียวกับโรคภูมิแพ้ผิวหนัง มีการวิจัยการใช้สารสกัดจากธรรมชาติเป็นทางเลือกในการบรรเทาโรคภูมิแพ้ผิวหนัง ซึ่งมีการใช้สารสกัดจากพืชหลายชนิดในการทดสอบการบรรเทาอาการโรคภูมิแพ้ผิวหนัง (Yi Peng ,2567). พลูคาวเป็นพืชที่สามารถพบได้ทั่วไปในประเทศไทย มีการนำมาใช้ในการรักษาโรคตามภูมิปัญญาพื้นบ้าน มีฤทธิ์ในการยับยั้งแบคทีเรียแกรมบวกและมีฤทธิ์เสริมฤทธิ์ในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระของเบต้าแคโรทีนอีกด้วย (สุทธิจิต ,2562) เช่นเดียวกับดีปลีที่เป็นพืชวงศ์ Piperaceae มีฤทธิ์ที่สามารถต้านเชื้อราและแบคทีเรียที่เป็นตัวแทนของเชื้อก่อโรคได้ (ปาจรีย์ ,2557) ดังนั้นในการศึกษาครั้งนี้ เป็นการนำสารสกัดจากใบพลูคาวและใบดีปลีมาทดสอบการยับยั้งเชื้อฉวยโอกาสที่พบทั่วไปบนร่างกายและสภาพแวดล้อมเพื่อลดโอกาสการติดเชื้อเพิ่มในผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิแพ้ผัวหนังและช่วยบรรเทาอาการของโรคภูมิแพ้ผิวหนัง
คณะวิทยาศาสตร์
การดำเนินการวิจัยนี้จะเริ่มจากการทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อศึกษาเทคโนโลยีและวิธีการที่มีอยู่ในปัจจุบันสำหรับการรู้จำท่าทางมือและการประยุกต์ใช้ในการควบคุมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น โดรน หุ่นยนต์ หรือการเล่นเกม ฯลฯ เป็นต้น จากนั้นจะทำการออกแบบและพัฒนาระบบการรู้จำท่าทางมือโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning) และการประมวลผลภาพ โดยเน้นการพัฒนาอัลกอริทึมที่สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ เหมาะสมกับการควบคุมแบบเรียลไทม์ ระบบที่พัฒนาขึ้นจะถูกทดสอบและปรับปรุงโดยใช้สถานการณ์จำลองต่าง ๆ เพื่อประเมินประสิทธิภาพและความแม่นยำในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาส่วนติดต่อผู้ใช้ (User Interface) ที่ใช้งานง่ายและเป็นมิตรกับผู้ใช้ทุกกลุ่ม รวมถึงการทำวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้ใช้ทั้งมือใหม่และผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งจะนำไปสู่การปรับปรุงและพัฒนาระบบให้ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างแท้จริง ในท้ายที่สุด ผลการวิจัยนี้จะนำไปสู่การพัฒนาต้นแบบระบบควบคุมด้วยการรู้จำท่าทางมือที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงในอุตสาหกรรมและการบันเทิง อันจะนำไปสู่การพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในอนาคต
คณะวิศวกรรมศาสตร์
จุดมุ่งหมายของการประดิษฐ์นี้ เพื่อพัฒนาสารป้องกันการเกิดไฟป่าให้มีความสามารถในการป้องกันการเกิดไฟป่าระยะยาว มิใช่เพียงการใช้ระงับไฟป่า หรือป้องกันไม่ให้ไฟป่านั้นแพร่กระจายเป็นวงกว้าง แต่มุ่งเน้นที่การป้องกันไม่ให้เกิดการติดไฟตั้งแต่เริ่มต้น สามารถป้องกันการเกิดไฟป่าได้อย่างครอบคลุม สามารถป้องกันได้ยาวนานตลอดช่วงระยะเวลาที่เกิดไฟป่าสูงสุดหรือช่วงเข้าสู่ฤดูแล้ง นับเป็นระยะเวลาประมาณ 3 - 4 เดือน โดยหลังจากการที่มีการผลสารกันไฟป่าจะไม่ก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตทั้งบนบกและในน้ำ ไม่มีสารตกค้างหรือตกค้างน้อยที่สุดโดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสภาพแวดล้อมโดยรอบภายใต้มาตรฐานที่มีการระบุไว้ เน้นการใช้วัตถุดิบ อุปกรณ์ และเคมีภัณฑ์ที่สามารถหาได้ง่ายในประเทศไทย รวมไปถึงการใช้มูลค่าต้นทุนการผลิตให้ต่ำที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ซึ่งทำให้เหมาะสมต่อการใช้งานในปริมาณมากสำหรับการฉีดพ่นป้องกันพื้นที่ป่าไม้บริเวณพื้นที่ป่าที่เสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัย จากค่าเฉลี่ยโดยประมาณสำหรับมลพิษที่เกิดในรหว่างการเกิดไฟป่า ได้แก่ ฝุ่นละออง (PM) ประกอบด้วย PM2.5 PM10, คาร์บอนมอนออกไซด์ (CO), คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2), ไนโตรเจนออกไซด์ (NOx), สารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs) เป็นต้น
คณะทันตแพทยศาสตร์
Aggregatibacter actinomycetemcomitans เป็นเชื้อก่อโรคหลักของโรคปริทันต์ โดยสามารถทำลายเอ็นยึดปริทันต์และกระดูกเบ้าฟันผ่านการสร้างไบโอฟิล์ม D-LL-31 ซึ่งเป็นเปปไทด์ต้านจุลชีพที่ถูกดัดแปลงทางวิศวกรรม แสดงศักยภาพที่สูงในการกำจัดเชื้อที่ฝังตัวในไบโอฟิล์มได้ดีกว่าวิธีรักษาแบบดั้งเดิม ขณะที่ DNase I ช่วยเสริมประสิทธิภาพโดยการสลายเมทริกซ์ของไบโอฟิล์ม โดยวัตถุประสงศ์ของงานวิจัยนี้ต้องศึกษาผลของ D-LL-31 ร่วมกับ DNase I ต่อไบโอฟิล์มของ A. actinomycetemcomitans ผลการทอลองพบว่า D-LL-31 สามารถกำจัดไบโอฟิล์มได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเมื่อใช้ร่วมกับ DNase I จะช่วยเพิ่มการทำลายไบโอฟิล์มได้มากขึ้น โดยไม่ก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อเซลล์เยื่อบุเหงือก ดังนั้นการใช้ D-LL-31 ร่วมกับ DNase I มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นน้ำยาบ้วนปาก เพื่อช่วยรักษาสุขภาพช่องปากและลดความเสี่ยงของโรคปริทันต์