KMITL Innovation Expo 2025 Logo

Smart Cities and Urban Solutions

การออกแบบสวนสาธารณะ : Bubbledel Park

คณะเทคโนโลยีการเกษตร

การออกแบบสวนสาธารณะ : Bubbledel Park

โปรเจ็คสวนสาธารณะ : บับเบิ้ลเดล ปาร์ค เป็นสวนสาธารณะแบบใหม่ที่ สวนพระนคร เขตลาดกระบัง จ.กรุงเทพมหานคร เพื่อให้มีความทันสมัย สนุกสนาน ด้วยแนวคิดใช้ฟองอากาศเข้ามาเติมสีสันให้เชื่อมต่อกับธรรมชาติในแบบที่ไม่เหมือนที่ใด

การตรวจสอบรอยร้าวกำแพง โดยใช้ Image Processing Techniques

คณะวิศวกรรมศาสตร์

การตรวจสอบรอยร้าวกำแพง โดยใช้ Image Processing Techniques

โครงการนี้มีเป้าหมายเพื่อ ตรวจจับและจำแนกประเภทของรอยร้าวบนผนัง โดยใช้ AI และการประมวลผลภาพ ผู้ใช้สามารถ อัปโหลดรูปภาพ และระบบจะ วิเคราะห์ประเภทและความรุนแรงของรอยร้าว โมเดลที่ใช้คือ ResNet-50 ซึ่งมีความแม่นยำ 70.59% การปรับแต่งข้อมูลและการเพิ่มข้อมูลช่วยให้การตรวจจับแม่นยำขึ้น เครื่องมือนี้ช่วย ป้องกันความเสียหายทางโครงสร้าง โดยให้คำแนะนำเบื้องต้นสำหรับการบำรุงรักษา

การจำลองระบบการสื่อสารแบบLoRaที่ใช้ในการเกษตร

คณะวิทยาศาสตร์

การจำลองระบบการสื่อสารแบบLoRaที่ใช้ในการเกษตร

การใช้เทคโนโลยีการสื่อสารแบบ LoRa ในการเกษตร

คีออสก์: จอแสดงข้อมูลแบบโต้ตอบบนสมาร์ทบอร์ด

คณะวิศวกรรมศาสตร์

คีออสก์: จอแสดงข้อมูลแบบโต้ตอบบนสมาร์ทบอร์ด

โครงงานนี้นำเสนอระบบคีออสก์แบบอินเทอร์แอคทีฟที่ออกแบบมาเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักศึกษา บุคลากร และผู้มาเยี่ยมชมภายในมหาวิทยาลัย คีออสก์มีการนำเสนอกิจกรรมแบบเรียลไทม์ ข่าวสาร และการเข้าถึงเอกสารของมหาวิทยาลัยผ่านคิวอาร์โคดหรืออีเมล ระบบได้รวมฟังก์ชันแผนที่สามมิติของคณะวิศวกรรมศาสตร์พร้อมระบบนำทาง ช่วยให้ผู้ใช้สามารถค้นหาห้องเรียน สำนักงาน และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังมีระบบจองห้อง ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถจองพื้นที่ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์และเช็คอินผ่านการสแกนคิวอาร์โคดที่คีออสก์ จากการผสานเทคโนโลยีดิจิทัลและระบบเมืองอัจฉริยะ ส่งผลให้ระบบนี้เพิ่มขีดความสามารถและการเข้าถึง การจัดการพื้นที่ภายในมหาวิทยาลัย เพิ่มพูนประสบการณ์ และอำนวยความสะดวกแก่ผู้มาเยี่ยมชม

แพลตฟอร์มการเฝ้าระวังตามเหตุการณ์จากกล้องวงจรปิดโดยใช้คอมพิวเตอร์วิทัศน์

คณะวิศวกรรมศาสตร์

แพลตฟอร์มการเฝ้าระวังตามเหตุการณ์จากกล้องวงจรปิดโดยใช้คอมพิวเตอร์วิทัศน์

โครงงานนี้พัฒนาแพลตฟอร์มที่ใช้คอมพิวเตอร์วิทัศน์วิเคราะห์ภาพจากกล้องวงจรปิดแบบเรียลไทม์ เพื่อตรวจจับการกระทำผิดกฎหมายจราจร เช่น การฝ่าฝืนขับรถเข้าเขตที่มีเส้นทึบ ระบบสามารถระบุและบันทึกเหตุการณ์ละเมิดกฎจราจรโดยอัตโนมัติ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายและลดภาระของเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร นอกจากนี้ ยังเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาระบบเมืองอัจฉริยะ โดยบูรณาการข้อมูลเพื่อปรับปรุงการจัดการจราจรและความปลอดภัยบนท้องถนน

ระบบคัดแยกขยะ

คณะวิศวกรรมศาสตร์

ระบบคัดแยกขยะ

หัวข้อโครงงานที่นำเสนอคือระบบคัดแยกขยะ (Garbage Sorting Systems) จุดประสงค์เพื่อศึกษาการทำงานและพัฒนาระบบคัดแยกขยะที่สามารถตรวจจับประเภทของขยะได้อย่างอัตโนมัติ โดยใช้เซ็นเซอร์ Proximity ในการแยกประเภทของขยะที่เป็นวัตถุโลหะและอโลหะ รวมถึงใช้เซ็นเซอร์ Ultrasonic ในการตรวจสอบปริมาณขยะภายในถัง หากปริมาณขยะเกินกำหนด ระบบจะส่งการแจ้งเตือนไปยังอุปกรณ์สื่อสารที่เชื่อมต่อกับระบบ เช่น สมาร์ทโฟนหรือคอมพิวเตอร์ การทำงานของระบบถูกออกแบบมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการขยะ ลดภาระการคัดแยกขยะด้วยมือ และส่งเสริมการรีไซเคิล โดยสามารถนำระบบนี้ไปประยุกต์ใช้ในสถานที่ต่างๆ เช่น สถานศึกษา หรือสถานที่สาธารณะ เพื่อช่วยลดปริมาณขยะที่ไม่ถูกแยกอย่างถูกต้อง และเพิ่มโอกาสในการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่

โครงการต้นแบบศูนย์ชุมชนในอนาคต Net Zero ของคนกรุงเทพ

คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ

โครงการต้นแบบศูนย์ชุมชนในอนาคต Net Zero ของคนกรุงเทพ

โครงการนี้มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาศักยภาพการใช้พลังงานในอนาคต Net Zero ของกรุงเทพครั้งใหม่ โดยมีเป้าหมายที่จะตอบข้อบกพร่องของโครงสร้างเมืองในปัจจุบัน ซึ่งยังคงไม่มีประสิทธิภาพและก่อมลพิษอย่างมาก ในทางกลับกันโครงการนี้สามารถผลิตพลังงานและส่งพลังงานส่วนเกินกลับคืนสู่เมืองและชุมชนโดยรอบ

การพัฒนาตัวรับรู้เชิงสีเม็ดบีทสองชั้นของเคอร์คูมินสำหรับวิเคราะห์ ไพริดอกซีน (วิตามินบี6)ในผลิตภัณฑ์อาหารเสริมโดยใช้ร่วมกับการตรวจวัดด้วย การประมวลผลภาพถ่าย

คณะวิทยาศาสตร์

การพัฒนาตัวรับรู้เชิงสีเม็ดบีทสองชั้นของเคอร์คูมินสำหรับวิเคราะห์ ไพริดอกซีน (วิตามินบี6)ในผลิตภัณฑ์อาหารเสริมโดยใช้ร่วมกับการตรวจวัดด้วย การประมวลผลภาพถ่าย

การพัฒนาเม็ดบีทไฮโดรเจลแบบสองชั้นสำหรับใช้เป็นเซ็นเซอร์เชิงสีในการวิเคราะห์หาปริมาณวิตามินบี6 ในผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเสริมวิตามิน และทำการตรวจวัดโดยใช้โทรศัพท์มือถือ โดยในการสร้างเม็ดบีทจะอาศัยแรงประจุไฟฟ้าในการทำให้เกิดเม็ดบีทไฮโดรเจลแบบสองชั้น

การวิเคราะห์องค์ประกอบสำคัญของแผนปฏิบัติการบินที่ระดับความสูงต่ำ

วิทยาลัยอุตสาหกรรมการบินนานาชาติ

การวิเคราะห์องค์ประกอบสำคัญของแผนปฏิบัติการบินที่ระดับความสูงต่ำ

การวิเคราะห์นี้มุ่งเน้นไปที่องค์ประกอบที่สำคัญของแผนการบินเมื่อปฏิบัติการที่ระดับความสูงต่ำ การศึกษาสำรวจองค์ประกอบสำคัญที่นักบินและผู้ควบคุมการบินต้องพิจารณาเพื่อรับประกันความปลอดภัยของผู้โดยสาร ลูกเรือ และเครื่องบินขณะบินในระดับความสูงต่ำ ด้วยการตรวจสอบปัจจัยต่างๆ เช่น สภาพอากาศ ข้อจำกัดของน่านฟ้า การพิจารณาภูมิประเทศ และขั้นตอนฉุกเฉิน การวิเคราะห์นี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ข้อมูลเชิงลึกที่มีคุณค่าในการเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการวางแผนการบินสำหรับการปฏิบัติการในระดับความสูงต่ำ