การพัฒนาเม็ดบีทไฮโดรเจลแบบสองชั้นสำหรับใช้เป็นเซ็นเซอร์เชิงสีในการวิเคราะห์หาปริมาณวิตามินบี6 ในผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเสริมวิตามิน และทำการตรวจวัดโดยใช้โทรศัพท์มือถือ โดยในการสร้างเม็ดบีทจะอาศัยแรงประจุไฟฟ้าในการทำให้เกิดเม็ดบีทไฮโดรเจลแบบสองชั้น
จากสภาพการทำงานและการใช้ชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบัน ที่มีความกดดัน เคร่งเครียด ต้องทำงานแข่งกับเวลา ส่งผลให้ผู้คนเริ่มมีปัญหาสุขภาพกันมากขึ้น เนื่องจากขาดการดูแลตัวเองที่ดี การอดอาหาร ตลอดจนการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกหลักโภชนาการ เพื่อตอบสนองต่อสังคมที่เร่งรีบ จึงทำให้ในปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์เสริมอาหารได้ถูกผลิตขึ้นมาในหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นอาหารเสริมในรูปแบบเม็ด หรือเครื่องดื่มที่มีการเสริมวิตามิน ซึ่งผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเหล่านี้ มีจำหน่ายอย่างแพร่หลาย หาซื้อได้ง่ายตามร้านขายยา และร้านสะดวกซื้อต่างๆ จึงทำให้ผู้คนเริ่มให้ความนิยมในการรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเหล่านี้ หนึ่งในนั้นก็ คือ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีการเสริมวิตามินบี6 ประเทศไทยในปัจจุบันยังไม่มีข้อกำหนดในการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์อาหารเสริม และเครื่องดื่มเสริมวิตามิน ส่งผลให้มีผู้ประกอบการบางรายเติมสารอาหารหรือวิตามินในปริมาณที่ไม่ เป็นไปตามที่ระบุบนฉลาก ดังนั้นจึงมีความจำเป็นในการวิเคราะห์หาสารจำพวกวิตามินในผลิตภัตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อเป็นการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐาน และปลอดภัยต่อผู้บริโภค ด้วยเหตุผลข้างต้นนี้ จึงได้มีแนวคิดที่จะพัฒนาวิธีตรวจวัดเชิงสือย่างง่ายในการหาปริมาณวิตามินปี6 ในเครื่องดื่มเสริมวิตามินบี6 ที่สามารถวัดได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ โดยจะทำการสร้างเม็ดบีท ของเคอร์คูมินด้วยวิธี reverse sphenfication เพื่อใช้เป็นตัวรับรู้เชิงสี และใช้ร่วมกับการตรวจวัดด้วยการประมวลผลภาพถ่าย
คณะทันตแพทยศาสตร์
วัตถุประสงค์ และที่มา โรคฟันผุยังคงเป็นปัญหาทางทันตกรรมที่สำคัญทั่วโลก โดยมีอัตราการเกิดสูงถึง 90% ในเด็ก และผู้ใหญ่ เชื้อแบคทีเรีย Streptococcus mutans ทำให้เกิดฟันผุโดยผ่านกระบวนการเมตาบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต และสร้างไบโอฟิล์ม ซึ่งเป็นกระบวนการที่กำจัดได้ยาก Histatin-5 (HST-5) เป็นเปปไทด์ต้านเที่ชื้อพบในน้ำลายมนุษย์ ซึ่งแสดงฤทธิ์ต้านเชื้อราและแบคทีเรียหลายชนิด Phytosphingosine (PHS) เป็นสฟิงโกลิพิดที่สามารถพบในเชื้อรา พืช และมนุษย์ ซึ่งมีคุณสมบัติในการต้านเเช่นชื้อเเบคทีเรียเช่นกัน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความสามารถในการฆ่าเชื้อของ HST-5 และเมื่อใช้ร่วมกับ PHS ต่อ S. mutans ภายใต้สภาวะการสร้างไบโอฟิล์ม วิธีการ ประเมินฤทธิ์การต้านต่อเชื้อ S. mutans ในรูปแบบพลางค์โทนิกโดยใช้วิธี time-kill assay และตรวจสอบความสามารถในการสร้างไบโอฟิล์มโดยการย้อมด้วยคริสตัลไวโอเลต ความสามารถในการฆ่าเชื้อของสารต่อไบโอฟิล์มที่เกิดขึ้น 24 ชั่วโมง ถูกประเมินโดยใช้ Transferable Solid Phase (TSP) pin lid model การส่งเสริมฤทธิ์ระหว่าง HST-5 และ PHS ถูกประเมินโดยใช้ checkerboard technique นอกจากนี้ความเป็นพิษต่อเซลล์ไฟโบรบลาสต์ของเหงือกมนุษย์ (hGFs) ถูกประเมินหลังจากบ่มกับสาร 1 ชั่วโมง โดยใช้ MTT assay ผลการศึกษา การทดสอบ time-kill assay แสดงให้เห็นว่า HST-5 และ PHS มีฤทธิ์ต้านเชื้อ S. mutans แบบขึ้นอยู่กับเวลาและความเข้มข้น โดยที่ PHS สามารถฆ่าเชื้อได้มากกว่า 90% ภายใน 15 นาที ที่ความเข้มข้น 5 μg/ml ในขณะที่ HST-5 ต้องใช้เวลา 30 นาที เพื่อฆ่าเชื้อ 90% ที่ความเข้มข้น 20 μM ความสามารถในการสร้างไบโอฟิล์มของ S. mutans ได้รับการยืนยัน ค่าความเข้มข้นที่สามารถยับยั้งการสร้างไบโอฟิล์มได้ครึ่งหนึ่ง (IC50) ของ HST-5 และ PHS คือ 25 μM และ 13.5 μg/ml ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่าการใช้ HST-5 และ PHS ร่วมกันให้ผลเสริมฤทธิ์ โดยค่า IC50 ลดลง 8 และ 16 เท่า ตามลำดับ สุดท้ายนี้ทั้งสองสารไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์ hGFs ที่ความเข้มข้นที่ใช้ในการออกฤทธิ์เสริมกัน สรุปผล ดังนั้น การใช้ HST-5 และ PHS ร่วมกันอาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของสารต้านจุลชีพต่อไบโอฟิล์มของ S. mutans ซึ่งอาจมีศักยภาพในการป้องกันการเกิดโรคฟันผุ
คณะวิศวกรรมศาสตร์
งานวิจัยนี้ศึกษาการสร้างสเปกโตรโฟโตมิเตอร์แบบพิมพ์ 3 มิติ ซึ่งได้ทำการสร้างสเปกโตรโฟโตมิเตอร์แบบพิมพ์ 3 มิติ ด้วยโปรแกรม AutoCAD ทำให้ตัวเครื่องนั้นมีความแข็งแรงทนทาน ต้นทุนต่ำ และพกพาสะดวก เพื่อใช้ในการตรวจวัดปริมาณฟอร์มาลดีไฮด์ในอาหารทะเลสด
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
ปัจจุบันประเทศไทยประสบปัญหาเกษตรกรสูงอายุและขาดแคลนแรงงาน การจัดจ้างแรงงานของเกษตรกรในปัจจุบันอยู่ในรูปแบบการเล่าปากต่อปาก ภายในพื้นที่จำกัดอย่างเป็นวงแคบ ซึ่งอาจส่งผลเสียทางอ้อมในหลายด้าน เช่น ขาดการคัดเลือกขั้นพื้นฐาน (ประสบการณ์ ความถนัด) การควบคุมงบประมาณ การจัดจ้าง เป็นต้น จึงเกิดเป็นไอเดียการสร้างพื้นที่จัดหางานสำหรับเกษตรกรโดยเฉพาะ