KMITL Innovation Expo 2025 Logo

การออกแบบสวนสาธารณะ : Bubbledel Park

การออกแบบสวนสาธารณะ : Bubbledel Park

รายละเอียด

โปรเจ็คสวนสาธารณะ : บับเบิ้ลเดล ปาร์ค เป็นสวนสาธารณะแบบใหม่ที่ สวนพระนคร เขตลาดกระบัง จ.กรุงเทพมหานคร เพื่อให้มีความทันสมัย สนุกสนาน ด้วยแนวคิดใช้ฟองอากาศเข้ามาเติมสีสันให้เชื่อมต่อกับธรรมชาติในแบบที่ไม่เหมือนที่ใด

วัตถุประสงค์

สวนสาธารณะที่เกิดด้วยจินตนาการที่เต็มไปด้วยความมหัศจรรย์และความสุข สวนแห่งนี้โดดเด่นด้วยพื้นที่สีเขียวเข้ามาประดับประดาไปด้วยฟองอากาศที่เปรียบเสมือนลอยขึ้นสู่ท้องฟ้า ให้เห็นสีสันที่สวยงาม แต่ยังสามารถสัมผัสได้และให้ความรู้สึกเหมือนอยู่ในโลกแห่งความฝัน ถูกออกแบบมาเพื่อให้ผู้คนได้ผ่อนคลาย สนุกสนาน และเชื่อมต่อกับธรรมชาติในแบบที่ไม่เหมือนที่ใด แบ่งโซนได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมที่น่าสนใจ เช่น การเล่นกีฬากลางแจ้ง เวที และลานอเนกประสงค์ในการชมการแสดงต่างๆ ทำให้ที่นี่เป็นสถานที่ในอุดมคติสำหรับทุกเพศ ทุกวัย

นวัตกรรมอื่น ๆ

ออกแบบวงจรสำหรับการควบคุมเครื่องผลิตไฮโดรเจนโดยใช้แหล่งจ่ายจากเซลล์โฟโตโวลเทอิก

คณะวิศวกรรมศาสตร์

ออกแบบวงจรสำหรับการควบคุมเครื่องผลิตไฮโดรเจนโดยใช้แหล่งจ่ายจากเซลล์โฟโตโวลเทอิก

งานวิจัยนี้มุ่งเน้นการออกแบบและพัฒนา ระบบแปลงพลังงานไฟฟ้า เพื่อควบคุมการจ่ายพลังงานจาก โซล่าร์เซลล (PV) ไปยัง เครื่องผลิตไฮโดรเจน ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาพลังงานหมุนเวียน ตามแนวทาง RE100 โดยเฉพาะไฮโดรเจนสีเขียว ที่ได้จากกระบวนการอิเล็กโทรไลซิสน้ำโดยใช้พลังงานสะอาดจากโซล่าร์เซลล์ ซึ่งไม่ก่อให้เกิดมลพิษ โครงสร้างของระบบที่นำเสนอในงานวิจัยนี้ประกอบด้วย อินเวอร์เตอร์ NPC แบบ 3 ระดับ (Three-Level NPC Inverter), หม้อแปลง, วงจรเรียงกระแสแบบเต็มลูกคลื่น และวงจรกรองความถี่ เพื่อปรับปรุงคุณภาพของพลังงานไฟฟ้าที่จ่ายให้กับเครื่องอิเล็กโทรไลเซอร์ การออกแบบและจำลองระบบดำเนินการโดยใช้ MATLAB และ Simulink เพื่อประเมินประสิทธิภาพของวงจรและวิเคราะห์ผลลัพธ์ นอกจากนี้ ยังใช้ระบบควบคุม ไมโครคอนโทรลเลอร์ร่วมกับวงจรขับเกต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการอิเล็กโทรลิซิส โดยช่วยลดการสูญเสียพลังงาน และการออกแบบนี้สามารถแปลงพลังงาน PV ไปเป็นแรงดันและกระแสที่เหมาะสมสำหรับเครื่องอิเล็กโทรไลเซอร์ โดยยังคงรักษาประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตไฮโดรเจนไว้

ระบบติดตามดวงตาเพื่อช่วยเหลือการสื่อสารสำหรับผู้ป่วยอัมพาตที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้

วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์

ระบบติดตามดวงตาเพื่อช่วยเหลือการสื่อสารสำหรับผู้ป่วยอัมพาตที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้

โครงงานนี้จัดทำขึ้นเพื่อออกแบบ และพัฒนาระบบติดตามดวงตาเพื่อช่วยเหลือการสื่อสารสำหรับผู้ป่วยอัมพาตที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ ระบบนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถสื่อสาร หรือบอกความต้องการกับผู้ดูแล หรือสมาชิกในครอบครัวด้วยวิธีการตรวจจับและติดตามดวงตาด้วยอุปกรณ์ Tobii Eye Tracker 5 วิธีการนี้เป็นการสื่อสารแทนการขยับร่างกาย หรือการพูดของผู้ป่วยอัมพาต ระบบสามารถตรวจจับและติดตามดวงตาที่ระยะสายตา 55 ถึง 85 เซนติเมตร ระบบถูกออกแบบให้สามารถติดตั้งได้บนคอมพิวเตอร์เพื่อง่ายต่อการใช้งาน หน้าจอของโปรแกรมประกอบด้วย 3 ส่วน 1) ชุดคำสั่งทางความรู้สึก และ 2) ชุดคำสั่งทางความต้องการ 3) ชุดคำสั่งเพิ่มเติม สามารถรับค่าได้จากแป้นพิมพ์เสมือนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และสามารถระบุความต้องการเพิ่มเติมผ่านการพิมพ์ด้วยการตรวจจับสายตา นอกจากนี้ระบบยังสามารถสร้างเสียงสังเคราะห์จากข้อความที่มีความยากในการอ่านออกเสียง ส่งข้อความแจ้งเตือนไปที่แอปพลิเคชันไลน์ และจัดเก็บข้อมูลการใช้งานบนฐานข้อมูลในรูปแบบแดชบอร์ด จากผลการทดสอบระบบพบว่าระยะทาง 65 ถึง 75 เซนติเมตร เป็นระยะที่ตรวจจับที่ดีที่สุดเนื่องจากมีค่าความคลาดเคลื่อนไม่เกิน 1 เปอร์เซ็นต์ สามารถตอบสนองการมองเพื่อสื่อสารผ่านเสียงตามปุ่มการทำงานต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องโดยใช้เวลา 3 วินาที ระบบนี้สามารถติดตามดวงตาของผู้ป่วยอัมพาตที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้เพื่อช่วยในการสื่อสาร เช่น การแสดงความรู้สึก การแสดงความต้องการ เป็นต้น ซึ่งเป็นวิธีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพต่อผู้ป่วยและผู้ดูแลหรือสมาชิกในครอบครัวให้มีความเข้าใจต่อผู้ป่วยมากยิ่งขึ้น

ระบบสุขภาพสำหรับคัดกรองโรคผู้สูงอายุในผู้ป่วยสูงอายุโรคมะเร็ง

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ

ระบบสุขภาพสำหรับคัดกรองโรคผู้สูงอายุในผู้ป่วยสูงอายุโรคมะเร็ง

โรคมะเร็งเป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพที่สำคัญอันเนื่องมาจากการเข้าสู่สังคมสูงอายุของประเทศไทย ความเสี่ยงในการเป็นโรคเรื้อรังของผู้สูงอายุมักทำให้เกิดข้อจำกัดต่าง ๆ ในการรักษา ส่งผลให้ผู้ป่วยส่วนมากไม่สามารถรักษาให้หายขาดและจำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการได้รับข้อมูลและคำแนะนำเกี่ยวกับโรคมะเร็งอย่างถูกต้อง อย่างไรก็ตาม การบันทึกข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วยในปัจจุบันยังไม่สามารถเชื่อมโยงกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเป็นไปอย่างยากลำบาก นอกจากนี้ ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคมะเร็งที่เผยแพร่ทางโซเชียลมีเดีย อาจทำให้ผู้สูงอายุเกิดความเข้าใจผิด ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้พัฒนาระบบแชตบอตที่ใช้เทคโนโลยีการประมวลผลภาษาธรรมชาติ เพื่อให้สามารถเข้าใจภาษาของมนุษย์และตอบคำถามได้อย่างแม่นยำสำหรับการดูแลผู้ป่วยสูงอายุโรคมะเร็งโดย ระบบแชตบอตจะนำเสนอข้อมูลที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ และเป็นปัจจุบันตามองค์ความรู้ทางการแพทย์ที่ปรากฏอยู่ภายในฐานข้อมูลคลังความรู้ ซึ่งผ่านการคัดกรองจากบุคลากรทางการแพทย์ พร้อมทั้งพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันเพื่อใช้ในการบันทึกและวิเคราะห์ผลประเมินของผู้ป่วยตามมาตรฐานทางการแพทย์ ทำให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถวางแผนรับมือและหาแนวทางการรักษาที่เหมาะสมให้แก่ผู้ป่วย นอกจากนี้ทำให้เกิดการแบ่งปันและเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างระบบต่าง ๆ ของโรงพยาบาล ส่งผลให้เกิดการนำข้อมูลไปใช้ในการปรับปรุงกระบวนการรูปแบบการรักษาที่ตรงเป้าหมายและทันสมัย อีกทั้งการพัฒนาระบบแชตบอตเปรียบเสมือนผู้ช่วยที่ให้บริการข้อมูลและคำแนะนำแก่ผู้ป่วย ช่วยลดภาระงานในการตอบคำถามของบุคลากรทางการแพทย์และส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของตนเองมากยิ่งขึ้น