KMITL Innovation Expo 2025 Logo

รายการนวัตกรรม

รวมสุดยอดนวัตกรรมแห่งอนาคต ที่พัฒนาโดยนักวิจัยไทย! พบกับเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดจาก KMITL ที่จะเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตและอุตสาหกรรมของเรา

การประยุกต์ใช้เทคนิค Hydro priming ด้วยน้ำพลาสมาต่อคุณภาพความงอกของข้าวไรซ์เบอรี่

คณะเทคโนโลยีการเกษตร

การประยุกต์ใช้เทคนิค Hydro priming ด้วยน้ำพลาสมาต่อคุณภาพความงอกของข้าวไรซ์เบอรี่

การทดลองนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของน้ำที่ผ่านการฉายพลาสมาในเวลาที่แตกต่างกันต่อคุณภาพการงอกของเมล็ดพันธุ์ข้าวไรซ์เบอรี่ เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพความงอกของเมล็ดพันธุ์ข้าวไรซ์เบอรี่

การจัดการตารางการรักษาเคมีบำบัดของผู้ป่วยโรงพยาบาลมะเร็งและแชทบอทให้คำปรึกษา

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ

การจัดการตารางการรักษาเคมีบำบัดของผู้ป่วยโรงพยาบาลมะเร็งและแชทบอทให้คำปรึกษา

การรักษาผู้ป่วยมะเร็งในแผนกเคมีบำบัดของโรงพยาบาลมะเร็งชลบุรีมีขั้นตอนที่ยุ่งยากและไม่สะดวก เนื่องจากกระบวนการส่งผลตรวจเลือดผ่านแอปพลิเคชันไลน์ส่วนตัวของเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ ทำให้การดำเนินงานขาดความคล่องตัว ด้วยเหตุนี้ ผู้วิจัยจึงพัฒนาโปรแกรมบริหารจัดการและติดตามผู้ป่วยมะเร็งในรูปแบบเว็บแอปพลิเคชัน (web-based application) และแอปพลิเคชันไลน์ LINE LIFF (LINE Front-end Framework) เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับทั้งบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วย ระบบเว็บแอปพลิเคชันออกแบบมาเพื่อใช้โดยบุคลากรทางการแพทย์ในการติดตาม นัดหมาย และเก็บข้อมูลผู้ป่วย ส่วนแอปพลิเคชันไลน์ ออกแบบสำหรับผู้ป่วยในการส่งผลตรวจเลือด ดูตารางนัดหมาย บันทึกอาการหลังรับยาเคมีบำบัด บันทึกค่าน้ำหนักของผู้ป่วยทุกสัปดาห์ และแชทบอทสำหรับให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วย ระบบนี้พัฒนาบนพื้นฐานของเทคโนโลยีไคลเอนต์-เซิร์ฟเวอร์ ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการวิเคราะห์ข้อมูลและสนับสนุนการวางแผนการรักษาอย่างอัตโนมัติ ส่งผลให้กระบวนการรักษาผู้ป่วยมะเร็งมีความรวดเร็ว ทันสมัย และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

การออกแบบอาร์ตทอยสำหรับคณะเทคโนโลยีการเกษตร

คณะเทคโนโลยีการเกษตร

การออกแบบอาร์ตทอยสำหรับคณะเทคโนโลยีการเกษตร

เป็นโครงการที่มุ่งเน้นการออกแบบและสร้างสรรค์ Art Toy Mascot ที่สะท้อนอัตลักษณ์ของ 12 สาขาวิชาในคณะเทคโนโลยีเกษตร ผ่านแนวคิดที่ผสมผสานระหว่างศิลปะและเทคโนโลยีเกษตร เพื่อให้เกิดความเข้าใจและการจดจำที่ง่ายขึ้นเกี่ยวกับแต่ละสาขา โดยใช้การออกแบบเชิงสร้างสรรค์และเทคนิคการผลิตของเล่นศิลปะ

การวิเคราะห์เซลล์เม็ดเลือดด้วย AI

คณะวิศวกรรมศาสตร์

การวิเคราะห์เซลล์เม็ดเลือดด้วย AI

โครงการนี้จัดทำขึ้นเพื่อตอบสนองต่อปัญหาในทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการนับและแยกเซลล์เม็ดเลือดจากตัวอย่าง ซึ่งเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลาและความแม่นยำสูง เพื่อช่วยลดภาระของบุคลากรทางการแพทย์ ทางผู้จัดทำจึงได้พัฒนา แพลตฟอร์มและระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่สามารถจำแนกประเภทและนับจำนวนเซลล์จากภาพตัวอย่างได้โดยอัตโนมัติ ระบบนี้ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยผ่อนแรงนักเทคนิคการแพทย์ให้สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำยิ่งขึ้น ลดระยะเวลาในการตรวจวิเคราะห์ อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีในวงการแพทย์ เพื่อให้สามารถรองรับการใช้งานในระดับห้องเรียน ห้องปฏิบัติการจนถึงโรงพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สวีปซาก้า

คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ

สวีปซาก้า

แอปที่ถูกออกแบบมาเพื่อกระตุ้นให้ผู้ใช้งานมีส่วนร่วมในการทำความสะอาดโดยนำเสนอในรูปแบบเกมที่สนุกสนานที่ให้ผู้ใช้เลือกภารกิจทำความสะอาด ติดตามค่าฝุ่น และสะสมคะแนนรางวัล

การแยกและคัดเลือกจุลินทรีย์ที่มีฤทธิ์เป็นปฏิปักษ์ต่อเชื้อสาเหตุโรคพืช

คณะเทคโนโลยีการเกษตร

การแยกและคัดเลือกจุลินทรีย์ที่มีฤทธิ์เป็นปฏิปักษ์ต่อเชื้อสาเหตุโรคพืช

การควบคุมโรคพืชโดยชีววิธี (Biological control หรือ biocontrol) เป็นวิธีการจัดการกับโรคพืชที่ได้รับความสนใจในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนสุขภาพของเกษตรกรและผู้บริโภค หลักเกณฑ์ที่สำคัญของการควบคุมโรคพืชโดยชีววิธีคือการใช้จุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติเป็นปฏิปักษ์ (Antagonistic microorganisms) ต่อเชื้อสาเหตุโรค ซึ่งถูกนำมาใช้ในการควบคุมหรือกำจัดไม่ให้เชื้อสาเหตุโรคเข้าทำความเสียหายต่อพืชได้ ดังนั้นการได้มาซึ่งจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ที่มีประสิทธิภาพคือหัวใจสำคัญของการควบคุมโรคพืชโดยชีววิธี โครงงานนี้จึงได้ทำการแยกเชื้อจุลินทรีย์จากหลายแหล่งในธรรมชาติ นำมาทำการคัดเลือกจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ต่อเชื้อสาเหตุ Phytophthora palmivora เชื้อราสาเหตุโรครากเน่าโคนเน่าของทุเรียน Curvularia sp. เชื้อราสาเหตุสาเหตุโรคใบจุดสีน้ำตาลของข้าว และ Xanthomonas citri pv. citri เชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคแคงเกอร์ของพืชตระกูลส้ม

ระบบติดตามงานของสมาชิกในทีม

วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์

ระบบติดตามงานของสมาชิกในทีม

โครงงานนี้มุ่งเน้นการพัฒนาระบบติดตามงานสำหรับสมาชิกในทีม โดยใช้ภาษา Python ในการดึงข้อมูลจากไฟล์ Excel และนำเข้าสู่ฐานข้อมูล SQL Server เพื่อจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ ระบบนี้มีฟังก์ชันการแจ้งเตือนสถานะงานผ่าน LINE และแสดงผลรายงานผ่าน Power BI เพื่อให้หัวหน้างานสามารถติดตามความคืบหน้าและประเมินผลงานของสมาชิกในทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ระบบยังช่วยส่งเสริมทักษะการบริหารจัดการงานและเวลาให้กับสมาชิกในทีมอีกด้วย

ระบบคัดแยกขยะ

คณะวิศวกรรมศาสตร์

ระบบคัดแยกขยะ

หัวข้อโครงงานที่นำเสนอคือระบบคัดแยกขยะ (Garbage Sorting Systems) จุดประสงค์เพื่อศึกษาการทำงานและพัฒนาระบบคัดแยกขยะที่สามารถตรวจจับประเภทของขยะได้อย่างอัตโนมัติ โดยใช้เซ็นเซอร์ Proximity ในการแยกประเภทของขยะที่เป็นวัตถุโลหะและอโลหะ รวมถึงใช้เซ็นเซอร์ Ultrasonic ในการตรวจสอบปริมาณขยะภายในถัง หากปริมาณขยะเกินกำหนด ระบบจะส่งการแจ้งเตือนไปยังอุปกรณ์สื่อสารที่เชื่อมต่อกับระบบ เช่น สมาร์ทโฟนหรือคอมพิวเตอร์ การทำงานของระบบถูกออกแบบมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการขยะ ลดภาระการคัดแยกขยะด้วยมือ และส่งเสริมการรีไซเคิล โดยสามารถนำระบบนี้ไปประยุกต์ใช้ในสถานที่ต่างๆ เช่น สถานศึกษา หรือสถานที่สาธารณะ เพื่อช่วยลดปริมาณขยะที่ไม่ถูกแยกอย่างถูกต้อง และเพิ่มโอกาสในการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่

การใช้พลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณเพื่อช่วยระบบผู้เชี่ยวชาญสำหรับกระบวนการควบคุมไนโตรเจนในไซโลเก็บข้าว

วิทยาลัยนวัตกรรมการผลิตขั้นสูง

การใช้พลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณเพื่อช่วยระบบผู้เชี่ยวชาญสำหรับกระบวนการควบคุมไนโตรเจนในไซโลเก็บข้าว

เนื่องจากไซโลเก็บข้าวอินทรีย์เผชิญกับปัญหาแมลง เจ้าของจึงแก้ไขปัญหานี้โดยใช้ระบบผู้เชี่ยวชาญ (ES) ในกระบวนการควบคุมบรรยากาศ (CAP) ภายใต้มาตรฐานที่กำหนด โดยทำการรมแมลงด้วยไนโตรเจน (N₂) และลดความเข้มข้นของออกซิเจน (O₂) ให้น้อยกว่า 2% เป็นเวลา 21 วัน บทความนี้นำเสนอการใช้พลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณ (CFD) ร่วมกับ ES ซึ่งสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขั้นแรก CFD ถูกนำมาใช้เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการไหลของก๊าซ ความเข้มข้นของ O₂ สภาวะการทำงานที่เหมาะสม และค่าสัมประสิทธิ์การแก้ไข (K) ของไซโล ซึ่งผลลัพธ์ของ CFD สอดคล้องกับผลการทดลองและทฤษฎี ยืนยันความน่าเชื่อถือของ CFD อย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ ผลการวิเคราะห์ของ CFD ยังแสดงให้เห็นว่า ES สามารถควบคุมการกระจายตัวของไนโตรเจนภายในไซโลได้อย่างทั่วถึงและลดความเข้มข้นของ O₂ ให้เป็นไปตามข้อกำหนด จากนั้น ระบบ ES ถูกพัฒนาขึ้นโดยอาศัยกลไกการวินิจฉัย (Inference Engine) ที่ได้รับการสนับสนุนจากผลลัพธ์ของ CFD และหลักการกวาดผ่านเพื่อล้าง (Sweep-Through Purging) ก่อนจะนำไปใช้ในกระบวนการ CAP สุดท้าย การทดลองถูกดำเนินการเพื่อประเมินประสิทธิภาพของ CAP ในการควบคุมความเข้มข้นของ O₂ และกำจัดแมลงภายในไซโลจริง ผลการทดลองและข้อเสนอแนะจากเจ้าของยืนยันว่า การนำ ES ไปใช้มีประสิทธิภาพสูง จึงทำให้ CAP เป็นกระบวนการที่มีประสิทธิผลและสามารถนำไปใช้ได้จริง ความแปลกใหม่ของงานวิจัยนี้อยู่ที่การใช้วิธีการ CFD ในการสร้างกลไกการวินิจฉัยและพัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญ (ES)