KMITL Innovation Expo 2025 Logo

ระบบติดตามงานของสมาชิกในทีม

รายละเอียด

โครงงานนี้มุ่งเน้นการพัฒนาระบบติดตามงานสำหรับสมาชิกในทีม โดยใช้ภาษา Python ในการดึงข้อมูลจากไฟล์ Excel และนำเข้าสู่ฐานข้อมูล SQL Server เพื่อจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ ระบบนี้มีฟังก์ชันการแจ้งเตือนสถานะงานผ่าน LINE และแสดงผลรายงานผ่าน Power BI เพื่อให้หัวหน้างานสามารถติดตามความคืบหน้าและประเมินผลงานของสมาชิกในทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ระบบยังช่วยส่งเสริมทักษะการบริหารจัดการงานและเวลาให้กับสมาชิกในทีมอีกด้วย

วัตถุประสงค์

บริษัท เงินติดล้อจำกัด(มหาชน) เป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจการให้บริการสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกันครบวงจร สินเชื่อเช่าซื้อรถบรรทุกมือสอง และบริการนายหน้าประกันภัยทั้งออนไลน์และออฟไลน์ทำให้ในแต่ละวันมีข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้งาน เป็นจำนวนมากทำให้ แผนกบริหารและจัดการข้อมูล(MIS) ต้องบริหารเวลาในการทำงานเป็นอย่างดี ปัจจุบัน พนักงานในทีม Incentive ใช้วิธีการบันทึกข้อมูลการทำงานในไฟล์ Excel แยกกัน ซึ่งแต่ละพนักงานจะมีไฟล์ของตนเอง วิธีการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้พนักงานสามารถจัดลำดับความสำคัญของงานได้ดีขึ้น แต่กลับพบว่าการจัดการงานนั้นเกิดความผิดพลาดบ่อยครั้ง นอกจากนี้บางครั้งพนักงานอาจหลงลืมงานที่ได้รับมอบหมายหากไม่ได้เปิดไฟล์เช็คข้อมูล ซึ่งส่งผลให้การจัดการและติดตามข้อมูลการทำงานไม่สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังทำให้พนักงานระดับ Senior ไม่สามารถติดตามและประเมินผลการทำงานของพนักงานระดับ Execution ได้อย่างทั่วถึง เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ระบบติดตามงานของสมาชิกในทีม (Team member work tracking system) จึงได้เข้ามาช่วยเหลือในการรวบรวมและปรับปรุงการจัดการข้อมูลให้มีความเป็นระบบมากขึ้น โดยเปลี่ยนรูปแบบข้อมูลให้สามารถนำไปวิเคราะห์และใช้ในการติดตามงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยให้พนักงานระดับ Senior สามารถติดตามความก้าวหน้าของงานที่พนักงานระดับ Execution ที่รับผิดชอบได้อย่างใกล้ชิด สามารถให้ความช่วยเหลือหรือแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที ในกรณีที่มีงานล่าช้าหรือเกินกำหนด (Overdue) อีกทั้งยัง ลดปัญหาการหลงลืมงานที่ได้รับมอบหมายโดยพนักงานระดับ Execution จะมีการแจ้งเตือนทางไลน์ถึงงานตามสถานะต่างๆ

นวัตกรรมอื่น ๆ

การประยุกต์ใช้เทคนิค Hydro priming ด้วยน้ำพลาสมาต่อคุณภาพความงอกของข้าวไรซ์เบอรี่

คณะเทคโนโลยีการเกษตร

การประยุกต์ใช้เทคนิค Hydro priming ด้วยน้ำพลาสมาต่อคุณภาพความงอกของข้าวไรซ์เบอรี่

การทดลองนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของน้ำที่ผ่านการฉายพลาสมาในเวลาที่แตกต่างกันต่อคุณภาพการงอกของเมล็ดพันธุ์ข้าวไรซ์เบอรี่ เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพความงอกของเมล็ดพันธุ์ข้าวไรซ์เบอรี่

การผลิตเชื้อต้นแบบ Lactic acid bacteria ในการผลิต Probiotic จากประเทศไทยที่สามารถใช้ในระบบผลิตปศุสัตว์

คณะเทคโนโลยีการเกษตร

การผลิตเชื้อต้นแบบ Lactic acid bacteria ในการผลิต Probiotic จากประเทศไทยที่สามารถใช้ในระบบผลิตปศุสัตว์

สารปฏิชีวนะ (Antibiotic) ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในระบบการผลิตปศุสัตว์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นภูมิคุมกัน เพิ่มประสิทธิภาพการย่อยและดูดซึมโภชนะ กระตุ้นการเจริญเติบโต ปรับสมดุลของระบบทางเดินอาหาร และลดการเกิดการติดเชื้อก่อโรค โดยเฉพาะกลุ่มที่ก่อให้เกิดโรคท้องเสีย เป็นต้น นอกจากนั้น สารปฏิชีวนะยังมีส่วนช่วยในเรื่องของผลตอบแทนทางเศรฐกิจอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตาม การใช้สารปฏิชีวนะที่ไม่ถูกวิธีก่อให้เกิดปัญหาเรื่องการตกค้างของสารปฏิชีวนะในผลิตภัณฑ์ การดื้อยาในสัตว์และผู้บริโภค ด้วยเหตุนี้หลายประเทศห้ามไม่ให้ใช้ยาปฏิชีวนะเป็นสารเร่งการเจริญเติบโต เช่น สหภาพยุโรป ประเทศญี่ปุ่น และยังมีอีกหลายๆ ประเทศที่มีการวางแผนที่จะห้ามไม่ให้มีการใช้ยาปฏิชีวนะในอาหารสัตว์ เช่น ประเทศจีน และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น ในขณะที่ประเทศไทยได้มีประกาศควบคุมการใช้ยาปฏิชีวนะในอาหารสัตว์โดยมีผลบังคับใช้ทั้งระดับโรงงานผลิตอาหารสัตว์ และฟาร์มที่ผสมอาหารสัตว์ใช้เองตั้งแต่วันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2563 ดังนั้น การทดแทนการใช้สารปฏิชีวนะด้วย Probiotic ถือว่าเป็นการแก้ปัญหาได้เป็นอย่างดี ในการศึกษาครั้งนี้ ได้ทำการศึกษาเชื้อ Lactic acid bacteria ที่มีอยู่ในระบบทางเดินอาหารของไก่เนื้อ สุกร และโคเนื้อ ที่มีคุณสมบัติเป็น Probiotic ที่มีความเหมาะสมต่อการใช้ในสภาพแวดล้อมของประเทศไทย เพื่อใช้เป็นเชื่อต้นแบบทดแทนการนำเข้าผลิตภัณฑ์ Probiotic กลุ่ม Lactic acid bacteria จากต่างประเทศที่มักจะประสบปัญหาเรื่องอัตราการรอดชีวิตเมื่อนำไปใช้จริง

โดรนสำหรับการส่งมอบอุปกรณ์การแพทย์

คณะวิศวกรรมศาสตร์

โดรนสำหรับการส่งมอบอุปกรณ์การแพทย์

หนึ่งในปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการตอบสนองต่อกรณีทางการแพทย์คือเวลาการตอบสนอง โดยทั่วไปแล้ว ความเสียชีวิตส่วนใหญ่เกิดจากผู้ป่วยไม่สามารถไปถึงมือแพทย์ได้ทันเวลา นอกจากนี้ยังรวมถึงการมาถึงของอุปกรณ์การแพทย์ในที่เกิดเหตุ สมองของมนุษย์จะเริ่มเสื่อมลงหลังจากขาดออกซิเจนเป็นเวลา 3 นาที ซึ่งวิธีการขนส่งทางถนนที่หน่วยปฐมพยาบาลใช้อยู่ในปัจจุบันไม่สามารถไปถึงที่เกิดเหตุได้ภายใน 3 นาที ส่งผลให้มีการเสียชีวิตระหว่างการขนส่งหรือก่อนหน่วยปฐมพยาบาลจะมาถึงที่เกิดเหตุ ดังนั้นจึงได้มีการสำรวจการขนส่งอุปกรณ์การแพทย์ด้วยอากาศยานที่ควบคุมด้วยตนเองโดยอัตโนมัติ ซึ่งสามารถทำได้ผ่านการจัดส่งด้วยโดรนที่รวดเร็วกว่าใช้วิธีการทางถนน เนื่องจากอุปกรณ์สามารถบินตรงไปยังที่เกิดเหตุได้ ในโครงการนี้ เราจะสำรวจระบบการส่งมอบทางอากาศสำหรับอุปกรณ์การแพทย์ เช่น เครื่องกระตุ้นหัวใจอัตโนมัติ (AEDs) อุปกรณ์ปฐมพยาบาล และอุปกรณ์การแพทย์ขนาดเล็กอื่น ๆ ที่ร้องขอ เราจะทำสิ่งนี้ผ่านแพลตฟอร์มโดรนของ DJI และแอปพลิเคชัน SDK ของพวกเขา เป้าหมายหลักของโครงการนี้คือการลดเวลาการตอบสนองโดยการใช้โดรนอัตโนมัติเพื่อส่งมอบอุปกรณ์การแพทย์ เราพบว่าโดรนเป็นแพลตฟอร์มที่สามารถส่งมอบเครื่องกระตุ้นหัวใจไปยังผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพผ่านข้อมูลการบินที่รวบรวมและการทดสอบเบื้องต้น ซึ่งให้แพลตฟอร์มที่ยอดเยี่ยมสำหรับการพัฒนาระบบในอนาคต