เป็นโครงการที่มุ่งเน้นการออกแบบและสร้างสรรค์ Art Toy Mascot ที่สะท้อนอัตลักษณ์ของ 12 สาขาวิชาในคณะเทคโนโลยีเกษตร ผ่านแนวคิดที่ผสมผสานระหว่างศิลปะและเทคโนโลยีเกษตร เพื่อให้เกิดความเข้าใจและการจดจำที่ง่ายขึ้นเกี่ยวกับแต่ละสาขา โดยใช้การออกแบบเชิงสร้างสรรค์และเทคนิคการผลิตของเล่นศิลปะ
ในยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาภาคการเกษตร คณะเทคโนโลยีการเกษตรจึงมุ่งเน้นการปลูกฝังองค์ความรู้ควบคู่ไปกับการพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ เพื่อให้นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการแก้ปัญหาและพัฒนาภาคการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ โครงการออกแบบและสร้างสรรค์ Art Toy Mascot จึงเกิดขึ้นจากแนวคิดที่ต้องการ ผสมผสานศิลปะและเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน โดยใช้ Art Toy ซึ่งเป็นผลงานศิลปะที่กำลังได้รับความนิยมในกลุ่มคนรุ่นใหม่ เป็นสื่อกลางในการนำเสนออัตลักษณ์ของ 12 สาขาวิชาในคณะเทคโนโลยีการเกษตร
คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ
-
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
นวัตกรรมชุดการเลี้ยงหอยหวานทองในแนวตั้งด้วยระบบอควาโปนิกส์เป็นรูปแบบของการเกษตรแบบผสมผสานระหว่างการเลี้ยงหอยหวานทองกับการปลูกผัก โดยระบบดังกล่าวโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อใช้พื้นที่ในแนวดิ่งให้เกิดประโยชน์สูงสุด ประหยัดน้ำในการเลี้ยงและผลิตพืชผักที่ปลอดภัยทั้งเพื่อการบริโภคหรือจำหน่าย รวมทั้งเป็นการเกื้อกูลระหว่างสิ่งมีชีวิตในระบบ ซึ่งหอยหวานทองจะขับถ่ายของเสียออกมา/เศษอาหารที่หลงเหลือจะถูกกรองบนวัสดุ ที่ใช้ในการบำบัดน้ำ ในขณะเดียวกันแบคทีเรียตามธรรมชาติจะช่วยเปลี่ยนของเสียต่างๆ เหล่านี้ให้อยู่ในรูปธาตุอาหารที่พืชนำมาใช้ประโยชน์ ดังนั้นระบบดังกล่าวจึงเป็นมิตรต่อต่อสิ่งแวดล้อม
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
สารปฏิชีวนะ (Antibiotic) ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในระบบการผลิตปศุสัตว์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นภูมิคุมกัน เพิ่มประสิทธิภาพการย่อยและดูดซึมโภชนะ กระตุ้นการเจริญเติบโต ปรับสมดุลของระบบทางเดินอาหาร และลดการเกิดการติดเชื้อก่อโรค โดยเฉพาะกลุ่มที่ก่อให้เกิดโรคท้องเสีย เป็นต้น นอกจากนั้น สารปฏิชีวนะยังมีส่วนช่วยในเรื่องของผลตอบแทนทางเศรฐกิจอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตาม การใช้สารปฏิชีวนะที่ไม่ถูกวิธีก่อให้เกิดปัญหาเรื่องการตกค้างของสารปฏิชีวนะในผลิตภัณฑ์ การดื้อยาในสัตว์และผู้บริโภค ด้วยเหตุนี้หลายประเทศห้ามไม่ให้ใช้ยาปฏิชีวนะเป็นสารเร่งการเจริญเติบโต เช่น สหภาพยุโรป ประเทศญี่ปุ่น และยังมีอีกหลายๆ ประเทศที่มีการวางแผนที่จะห้ามไม่ให้มีการใช้ยาปฏิชีวนะในอาหารสัตว์ เช่น ประเทศจีน และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น ในขณะที่ประเทศไทยได้มีประกาศควบคุมการใช้ยาปฏิชีวนะในอาหารสัตว์โดยมีผลบังคับใช้ทั้งระดับโรงงานผลิตอาหารสัตว์ และฟาร์มที่ผสมอาหารสัตว์ใช้เองตั้งแต่วันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2563 ดังนั้น การทดแทนการใช้สารปฏิชีวนะด้วย Probiotic ถือว่าเป็นการแก้ปัญหาได้เป็นอย่างดี ในการศึกษาครั้งนี้ ได้ทำการศึกษาเชื้อ Lactic acid bacteria ที่มีอยู่ในระบบทางเดินอาหารของไก่เนื้อ สุกร และโคเนื้อ ที่มีคุณสมบัติเป็น Probiotic ที่มีความเหมาะสมต่อการใช้ในสภาพแวดล้อมของประเทศไทย เพื่อใช้เป็นเชื่อต้นแบบทดแทนการนำเข้าผลิตภัณฑ์ Probiotic กลุ่ม Lactic acid bacteria จากต่างประเทศที่มักจะประสบปัญหาเรื่องอัตราการรอดชีวิตเมื่อนำไปใช้จริง