คณะเทคโนโลยีการเกษตร
โปรเจคสวนสาธารณะ: วิถีชาวเล เป็นการออกแบบสวนสาธารณะในพื้นที่ ตำบลอ่างศิลา จังหวัดชลบุรี ในขนาดพื้นที่ 56 ไร่ เพื่อเป็นสถานที่พักผ่อน นันทนาการ ทั้งยังเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ อนุรักษ์ ชายทะเลและวิถีชีวิตดั้งเดิมของพื้นที่
คณะวิทยาศาสตร์
ฟิล์มอนุภาคนาโนโลหะฝังบนเซลลูโลสนาโนคริสตัล ถูกเตรียมโดยการหล่อแบบจากสารละลาย (Solution casting) เพื่อใช้เป็นฟิล์มเคลือบผลไม้ที่รับประทานแบบไม่ปอกเปลือก ที่มีฤทธิ์ในการต้านเชื้อรา และแบคทีเรีย อนุภาคนาโนโลหะฝังบนเซลลูโลสนาโนคริสตัลถูกสังเคราะห์ด้วยคลื่นอัลตราโซนิก (Ultrasonic waves) วัสดุถูกนำมาศึกษาคุณลักษณะทางเคมี และทางกายภาพโดยการใช้เทคนิค Transmission electron microscope (TEM), X-ray photoelectron spectroscopy (XPS), X-ray diffraction analysis (XRD), Fourier transform infrared spectrometer (FT-IR), Zeta potential analyzer และ UV-visible spectrophotometer เป็นต้น ฟิล์มอนุภาคนาโนโลหะฝังบนเซลลูโลสนาโนคริสตัลที่เตรียมได้ มีความสามารถในการต้านเชื้อรา และเชื้อแบคทีเรียได้ ดังนั้นจึงสามารถนำฟิล์มไปห่อผลไม้เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ ซึ่งช่วยยืดอายุการเก็บรักษาผลไม้ได้อย่างมีประสิทธิภาพได้อีกด้วย
คณะวิทยาศาสตร์
วัสดุตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงที่ตกแต่งด้วยวัสดุนาโนโลหะ (Bi-Metallic NPs/ Photocatalyst) ได้ถูกสังเคราะห์ ในการสลายอะฟลาทอกซิน บี1 ตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงที่ตกแต่งด้วยวัสดุนาโนโลหะถูกสังเคราะห์ด้วยคลื่นอัลตราโซนิก (Ultrasonic waves) วัสดุถูกนำมาศึกษาคุณลักษณะทางเคมีโดยการใช้เทคนิค Transmission electron microscope (TEM), X-ray photoelectron spectroscopy (XPS), X-ray diffraction analysis (XRD), Fourier transform infrared spectrometer (FT-IR), Zeta potential analyzer และ UV-visible spectrophotometer อนุภาคนาโนโลหะบนตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงถูกนำมาทดสอบประสิทธิภาพในการย่อยสลาย AFB1 ในน้ำเสียจากน้ำทิ้งครัวเรือนภายใต้แสงวิสิเบิล โดยนำมาวิเคราะห์ด้วยโครมาโตกราฟีของเหลวสมรรถนะสูง ช่วงความยาวคลื่น 365 นาโนเมตร พบว่าสามารถกำจัด AFB1 ได้อย่างมีประสิทธิภาพถึง 100 % ภายในเวลา 2 นาที ประสิทธิภาพที่เหนือชั้นนี้เป็นผลมาจาก โครงสร้างที่มีรูพรุนสูง พื้นที่ผิวจำเพาะที่เพิ่มขึ้น และอัตราการรวมตัวใหม่ของอิเล็กตรอน-โฮลที่ลดลง แสดงให้เห็นว่าวัสดุนาโนที่ได้พัฒนาประสบความสำเร็จในการสลาย AFB1
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
โครงงานสวนสาธารณะ : เเอนเซียนท์ ซี ปาร์ค เป็นสวนสาธารณะเเห่งใหม่ที่อ่างศิลา จังหวัดชลบุรี สร้างเพื่อการเรียนรู้เเละการท่องเที่ยว ในเเนวคิดท้องทะเลเมื่อ65ปีก่อน
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
ต่อยอดจากโปรเจ็คออกแบบสวนสาธารณะ สู่การออกแบบพื้นที่วิทยาเขต บนพื้นที่ 50 กว่าไร่ในตำบลอ่างศิลา อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี เพื่อเป็นทั้งสถานศึกษาและพื้นที่พักผ่อนและให้การเรียนรู้แก่ผู้คนโดยรอบ
วิทยาลัยนวัตกรรมการผลิตขั้นสูง
การเกษตรอัจฉริยะ (Smart Agriculture) ได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะการนำเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเข้ามาใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต เเละลดต้นทุน โดยกระดับคุณภาพการทำเกษตรกรรมในปัจจุบัน ซึ่งนวัตกรรมที่สำคัญในด้านนี้คือ แขนกลระบบราง ซึ่งถูกออกแบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน โดยใช้ระบบรางที่มีความแม่นยำและประสิทธิภาพสูง การใช้งานของแขนกลนี้ครอบคลุมหลายกระบวนการ เช่น การปลูกพืช การคัดเเยก การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว รวมถึงการจัดการทรัพยากรต่างๆ โดยที่สามารถทำงานได้ต่อเนื่องและลดการใช้แรงงานมนุษย์ในงานที่ซ้ำๆเเละมีความเสี่ยงสูง ผลการศึกษาพบว่า การใช้แขนกลระบบรางในภาคการเกษตรสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ลดต้นทุนการผลิต และช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการใช้หุ่นยนต์ในกระบวนการเกษตรสามารถลดการปนเปื้อน ลดความเสี่ยงที่จะทำให้พืชเสียหาย ทำให้การเกษตรมีความยั่งยืนมากขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มความแม่นยำในการดำเนินงานในพื้นที่จำกัดหรือฟาร์มที่มีการปลูกพืชหลากหลายชนิด จากผลการวิจัยนี้สามารถสรุปได้ว่า การนำเทคโนโลยีแขนกลระบบรางมาใช้ในเกษตรกรรมไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในระยะยาว แต่ยังเป็นการส่งเสริมการเกษตรที่ยั่งยืนและใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อรองรับความต้องการในอนาคตของในด้านการเกษตร
คณะวิทยาศาสตร์
ปัญหาด้านการจัดส่งสินค้าให้มีประสิทธิภาพต้องมีการพัฒนาเครื่องมือมาช่วยอำนวยความสะดวก งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดเส้นทางการขนส่งของร้านอาหารสัตว์แห่งหนึ่ง และพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันการจัดเส้นทางการเดินรถ ในการศึกษาครั้งนี้ทำการเปรียบเทียบด้วยวิธีการแตกกิ่งและจำกัดขอบเขต (Branch & Bound Method) และวิธีการจัดกลุ่มร่วมกับอัลกอริทึมการแตกกิ่งและจำกัดขอบเขต (Clustering with Branch & Bound Method) จากนั้นทำการเปรียบเทียบการจัดเส้นทางทั้ง 2 วิธี ร่วมกับเส้นทางเดิม ด้วยการทดสอบความแตกต่างของระยะทางเฉลี่ย 3 กลุ่มที่ไม่เป็นอิสระกัน โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนเมื่อมีการวัดซ้ำ (Repeated Measures ANOVA) พบว่าระยะเฉลี่ยต่อวันที่ได้จากทั้ง 3 วิธี มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับ 0.05 โดยเส้นทางที่ให้ค่าระยะทางเฉลี่ยต่อวันน้อยที่สุด คือ วิธีอัลกอริทึมการแตกกิ่งและจำกัดขอบเขต (Branch and Bound Method) และจากการทดสอบระยะทางรวมต่อวันเป็นรายคู่ด้วยการทดสอบทีแบบจับคู่ (Paired t-test) พบว่าเส้นทางที่จัดด้วยวิธีอัลกอริทึมการแตกกิ่งและจำกัดขอบเขต (Branch and Bound Method) ให้ผลลัพธ์ระยะทางที่สั้นที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 ซึ่งหากใช้การจัดเส้นทางด้วยวิธีอัลกอริทึมการแตกกิ่งและจำกัดขอบเขต (Branch and Bound Method) จะสามารถลดระยะทางลงได้ 957.51 กิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 30.88 ซึ่งจะสามารถลดต้นทุนด้านน้ำมันเชื้อเพลิงได้ถึง 2,579.45 บาทต่อเดือน จากนั้นจึงเลือกวิธีอัลกอริทึมการแตกกิ่งและจำกัดขอบเขต (Branch and Bound Method) มาพัฒนาเป็นเว็บแอปพลิเคชันที่มีหน้าต่างผู้ใช้งาน รายการสินค้า และแนะนำเส้นทางการขนส่งสินค้าในแต่ละวันให้กับร้านค้ากรณีศึกษา และเมื่อพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันแล้วได้ทำการทดลองใช้งานจริงกับร้านกรณีศึกษา โดยพบว่าสามารถแนะนำเส้นทางการขนส่งที่อยู่ในรูปแบบแผนที่ซึ่งสามารถใช้งานได้ง่าย และสามารถใช้งานได้จริงผ่านโทรศัพท์มือถือทั่วไป
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
โครงการนี้ได้สร้างระบบดูแลต้นไม้ในหอพักผ่านระบบ IoT ( Internet of Things ) โดยการพัฒนาโปรแกรมผ่านบอร์ด ESP-32 ควบคุมการรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติ โดยสั่งการผ่าน สมาร์ทโฟน สามารถใช้งานระบบปฏิบัติการทั้ง iOS และ Android โครงการนี้จะช่วยให้การปลูกต้นไม้ในหอพักเป็นเรื่องง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
โครงงานนี้นำเสนอวิธีการออกแบบและการจัดการพื้นที่เกษตร จังหวัดกาญจนบุรี พื้นที่กรณีศึกษาตั้งอยู่ที่ ตำบล วังด้ง อำเภอ เมืองกาญจนบุรี จังหวัด กาญจนบุรี พื้นที่ขนาดประมาณ 18 ไร่ เนื่องจากผู้ใช้งานมีความต้องการใช้ชีวิตเรียบง่ายในต่างจังหวัดกับบรรยากาศที่รายล้อมไปด้วยธรรมชาติจึงออกแบบให้สอดคล้องกับแนวทางการใช้ชีวิตที่เรียบง่ายและยั่งยืน โดยมีการจัดสรรพื้นที่อย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งในด้านการดำรงชีวิตและการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตร โซนปลูกผักและผลไม้ถูกวางแผนให้เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศและชนิดของพืช เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างต่อเนื่อง ขณะที่โซนเลี้ยงสัตว์ได้รับการจัดวางให้เป็นสัดส่วนแนวทางนี้ไม่เพียงแต่ช่วยสร้างความมั่นคงทางอาหารและรายได้ แต่ยังเป็นรูปแบบของการใช้ชีวิตที่เกื้อกูลธรรมชาติ ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสามารถต่อยอดไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรที่มีประสิทธิภาพและเป็นมิตรกับระบบนิเวศในระยะยาว มีการเก็บรายละเอียดของการวงตำแหน่งต่างๆเพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางลมและแสงของพื้นที่ รวมถึงการเขียนแบบที่ผ่านกระบวนการออกแบบและตรวจแบบอย่างสม่ำเสมอเพื่อผลลัพธ์ที่ดีต่อพื้นที่ใช้งาน