วัสดุตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงที่ตกแต่งด้วยวัสดุนาโนโลหะ (Bi-Metallic NPs/ Photocatalyst) ได้ถูกสังเคราะห์ ในการสลายอะฟลาทอกซิน บี1 ตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงที่ตกแต่งด้วยวัสดุนาโนโลหะถูกสังเคราะห์ด้วยคลื่นอัลตราโซนิก (Ultrasonic waves) วัสดุถูกนำมาศึกษาคุณลักษณะทางเคมีโดยการใช้เทคนิค Transmission electron microscope (TEM), X-ray photoelectron spectroscopy (XPS), X-ray diffraction analysis (XRD), Fourier transform infrared spectrometer (FT-IR), Zeta potential analyzer และ UV-visible spectrophotometer อนุภาคนาโนโลหะบนตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงถูกนำมาทดสอบประสิทธิภาพในการย่อยสลาย AFB1 ในน้ำเสียจากน้ำทิ้งครัวเรือนภายใต้แสงวิสิเบิล โดยนำมาวิเคราะห์ด้วยโครมาโตกราฟีของเหลวสมรรถนะสูง ช่วงความยาวคลื่น 365 นาโนเมตร พบว่าสามารถกำจัด AFB1 ได้อย่างมีประสิทธิภาพถึง 100 % ภายในเวลา 2 นาที ประสิทธิภาพที่เหนือชั้นนี้เป็นผลมาจาก โครงสร้างที่มีรูพรุนสูง พื้นที่ผิวจำเพาะที่เพิ่มขึ้น และอัตราการรวมตัวใหม่ของอิเล็กตรอน-โฮลที่ลดลง แสดงให้เห็นว่าวัสดุนาโนที่ได้พัฒนาประสบความสำเร็จในการสลาย AFB1
เนื่องจาก อะฟลาท็อกซินเป็นสารพิษที่ผลิตจากเชื้อราที่สร้างสารพิษในภาวะที่อาหารมีความชื้นสูง สามารถพบได้ทั่วไปในอาหารและผลผลิตทางการเกษตร ได้แก่ ข้าวโพด มันสำปะหลัง ผักและผลไม้อบแห้ง ธัญพืช หัวหอมแห้ง กระเทียมแห้ง เป็นต้นสารอะฟลาทอกซินมีหลายชนิด เช่น AFB1, AFB2, AFG1, AFG2 โดยเฉพาะ AFB1 ที่มีพิษสูงและสามารถทำลายตับ ทำให้เกิดอาการ อาเจียน ท้องเดิน และในระยะยาวอาจพัฒนาเป็น ตับแข็ง หรือ มะเร็งตับ ดังนั้นหากมีการปนเปื้อนของ AFB1 จากครัวเรือนลงสู่แหล่งน้ำที่มีสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการสะสมของสารพิษ เช่น บ่อน้ำ หรือแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีการไหลเวียนต่ำ อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศได้ สารอะฟลาท็อกซินสามารถคงอยู่ในสิ่งแวดล้อมเป็นเวลานานและอาจถูกดูดซึมเข้าสู่ห่วงโซ่อาหารผ่านสัตว์น้ำและพืชน้ำ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์และสัตว์ที่บริโภคอาหารจากแหล่งน้ำดังกล่าว เพื่อลดความเสี่ยงจากการปนเปื้อนของ AFB1 ในแหล่งน้ำ จึงได้มีการสังเคราะห์วัสดุตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงที่ตกแต่งด้วยวัสดุนาโนโลหะ ที่สามารถสลาย AFB1 ในน้ำเสียครัวเรือน สามารถช่วยลดปัญหาการปนเปื้อนของสารพิษในแหล่งน้ำและป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ
-
คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ
ปัจจุบันเยาวชนขาดความสนใจและไม่เห็นความสำคัญของการเรียนวรรณคดี เพราะคิดว่าเป็นเรื่องยาก, ซับซ้อน และขาดสื่อการเรียนรู้ที่ทันสมัยและน่าสนใจ ดังนั้นผู้วิจัยจึงเลือกวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผนตอนขุนช้างถวายฎีกาที่ใช้สอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มาพัฒนาเนื่องจากเป็นวรรณคดีที่สะท้อนวิถีชีวิต ประวัติศาสตร์ ขนบธรรมเนียมประเพณี สถานที่ท่องเที่ยวที่มีอยู่จริง โดยจะพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์ให้ทันสมัย เหมาะกับเยาวชนเพื่อแก้ปัญหาจากการเรียนวรรณคดีดังที่กล่าวมา นอกจากนี้สื่อประชาสัมพันธ์ที่สร้างขึ้นสามารถใช้เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดสุพรรณบุรี โดยกลุ่มเป้าหมายของงานวิจัยคือเยาวชนอายุ 15-25 ปี มีจุดประสงค์ "เพื่อสร้างสื่อประชาสัมพันธ์สำหรับเยาวชนเรื่องขุนช้างขุนแผนตอนขุนช้างถวายฎีกา ที่สามารถ 1. สร้างความสนใจในการเรียนรู้วรรณคดี และ 2. สร้างแรงจูงใจในการท่องเที่ยวจังหวัดสุพรรณบุรีให้แก่เยาวชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05” งานวิจัยโครงการนี้จะแบ่งออกเป็น 3 โครงการย่อยที่ผสมทั้งงานวิจัยเชิงคุณภาพ เชิงปริมาณ และการปฏิบัติเข้าด้วยกันได้แก่ 1. การสร้างองค์ความรู้กรอบแนวคิดในการวิจัยสำหรับการออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์วรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน (เชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 10 ท่าน และเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถาม 600 ชุด) 2. การผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ที่ผสมสื่อมัลติมีเดียสำหรับเยาวชน ที่เชื่อมโยงกับสื่อโซเชียลมีเดียเรื่องขุนช้างขุนแผนตอนขุนช้างถวายฎีกา (การวิจัยเชิงปฏิบัติเพื่อสร้างสรรค์ผลงานประกอบด้วย e-book 1 ฉบับ, Youtube channel จำนวน 5 ตอน, Page Facebook และ Instagram) 3. การเผยแพร่และประเมินผลสื่อประชาสัมพันธ์เรื่องขุนช้างขุนแผน (เชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถาม 600 ชุดกับเยาวชนใน 6 ภาค)
คณะวิศวกรรมศาสตร์
ในปัจจุบัน ผู้บริโภคอาจเคยประสบเหตุการณ์ที่ไม่รู้ว่าจะเลือกผลิตภัณฑ์ใดตามปัญหาผิว, ผลิตภัณฑ์ที่ใช้นั้นไม่ให้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ, ผลิตภัณฑ์นั้นไม่คุ้มค่ากับราคา, แพ้สารเคมีบางชนิดในผลิตภัณฑ์ หรือใช้ผลิตภัณฑ์หลายชิ้นแล้วมีส่วนผสมที่ไม่ควรใช้ร่วมกันนำไปสู่การระคายเคือง ด้วยเหตุผลนี้คณะผู้จัดทำจึงพัฒนาแอปพลิเคชันวิเคราะห์ส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ดูแลผิว เพื่อช่วยแก้ปัญหาดังกล่าว ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจข้อมูลส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ได้อย่างถูกต้องและรู้ว่าควรใช้ผลิตภัณฑ์ใดตามปัญหาผิวโดยไม่ต้องอาศัยความรู้ด้านเคมีและได้ผลิตภัณฑ์ที่คุ้มค่ากับราคาที่สุด โครงงานได้มีการบูรณาการความรู้ด้าน Software เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับวิเคราะห์ส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ดูแลผิว เพื่อค้นหาและแนะนำผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่เหมาะสมให้กับผู้บริโภค โดยมีการเก็บรวบรวมข้อมููลของส่วนผสมที่สำคัญต่าง ๆ จากบทความและงานวิจัยที่เชื่อถือได้