KMITL Innovation Expo 2025 Logo

เเขนกลระบบรางเพื่อการเกษตรอัฉริยะ

รายละเอียด

การเกษตรอัจฉริยะ (Smart Agriculture) ได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะการนำเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเข้ามาใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต เเละลดต้นทุน โดยกระดับคุณภาพการทำเกษตรกรรมในปัจจุบัน ซึ่งนวัตกรรมที่สำคัญในด้านนี้คือ แขนกลระบบราง ซึ่งถูกออกแบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน โดยใช้ระบบรางที่มีความแม่นยำและประสิทธิภาพสูง การใช้งานของแขนกลนี้ครอบคลุมหลายกระบวนการ เช่น การปลูกพืช การคัดเเยก การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว รวมถึงการจัดการทรัพยากรต่างๆ โดยที่สามารถทำงานได้ต่อเนื่องและลดการใช้แรงงานมนุษย์ในงานที่ซ้ำๆเเละมีความเสี่ยงสูง ผลการศึกษาพบว่า การใช้แขนกลระบบรางในภาคการเกษตรสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ลดต้นทุนการผลิต และช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการใช้หุ่นยนต์ในกระบวนการเกษตรสามารถลดการปนเปื้อน ลดความเสี่ยงที่จะทำให้พืชเสียหาย ทำให้การเกษตรมีความยั่งยืนมากขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มความแม่นยำในการดำเนินงานในพื้นที่จำกัดหรือฟาร์มที่มีการปลูกพืชหลากหลายชนิด จากผลการวิจัยนี้สามารถสรุปได้ว่า การนำเทคโนโลยีแขนกลระบบรางมาใช้ในเกษตรกรรมไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในระยะยาว แต่ยังเป็นการส่งเสริมการเกษตรที่ยั่งยืนและใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อรองรับความต้องการในอนาคตของในด้านการเกษตร

วัตถุประสงค์

ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม การที่จะนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยพัฒนาระบบการเกษตรกรรม ให้มีความทันสมัย มีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยยกระดับอุตสาหกรรมการเกษตรของไทยนั้น เป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก เราจึงได้พัฒนา “เเขนกลระบบรางเพื่อการเกษตรอัฉริยะ” โดยเทคโนโลยีนี้ช่วยลดการใช้แรงงานคน เพิ่มความแม่นยำในการทำงาน และสามารถทำงานได้ตลอดเวลาไม่หยุดพัก นอกจากนี้ยังช่วยลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มผลผลิต ทำให้เกษตรกรสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ดียิ่งขึ้น และช่วยพัฒนาความยั่งยืนในภาคการเกษตรของประเทศไทย

นวัตกรรมอื่น ๆ

การผลิตน้ำมันไพโรไลซิสจากขยะพลาสติกฝังกลบเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทน

คณะวิทยาศาสตร์

การผลิตน้ำมันไพโรไลซิสจากขยะพลาสติกฝังกลบเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทน

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการผลิตน้ำมันไพโรไลซิสจากขยะพลาสติกฝังกลบที่ผ่านการคัดแยกจากหลุมฝังกลบขยะมูลฝอยอายุ 15 ปี จากองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี เพื่อนำมาผลิตเป็นเชื้อเพลิงทดแทนด้วยเตาปฏิกรณ์แบบเบดนิ่ง (Fixed-Bed Reactor) ที่อุณหภูมิ 450 องศาเซลเซียส ระยะเวลา 1 ชั่วโมง 30 นาที โดยใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) เป็นเชื้อเพลิงในการให้ความร้อน มีการออกแบบการทดลองออกเป็น 4 สภาวะ คือ ตัวอย่างขยะพลาสติกฝังกลบที่ยังไม่ผ่านการล้างแต่ทำการตัดลดขนาด ตัวอย่างขยะพลาสติกฝังกลบที่ผ่านการล้างและตัดลดขนาด ตัวอย่างขยะพลาสติกฝังกลบที่ยังไม่ผ่านการล้างและตัดลดขนาด และตัวอย่างขยะพลาสติกฝังกลบยังไม่ผ่านการล้างแต่ทำการตัดลดขนาด และใช้ถ่านกัมมันต์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา พบว่าผลิตภัณฑ์ที่ได้มีทั้งหมด 3 ประเภท คือ น้ำมัน (Py-oil) ถ่าน (Char) และก๊าซ (Gas) ในปริมาณที่แตกต่างกันออกไป นอกจากนี้ยังมีการเปรียบเทียบลักษณะและคุณภาพของน้ำมันไพโรไลซิสจากขยะพลาสติกฝังกลบ ได้แก่ ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ค่าความร้อน (Heating Value) ค่าความชื้น (Moisture content) เถ้า (Ash) และหมู่ฟังก์ชั่น (Functional group) รวมไปถึงองค์ประกอบทางเคมี โดยใช้การอ้างอิงมาตรฐานน้ำมันเตาตามประกาศกรมธุรกิจพลังงานเป็นเกณฑ์ ผลการวิเคราะห์ ที่ได้จึงสามารถอธิบายได้ว่าน้ำมันจากการไพโรไลซิสขยะพลาสติกฝังกลบในสภาวะใดที่มีความเหมาะสมและมีความคุ้มค่ากับการนำมาผลิตเชื้อเพลิงทดแทนน้ำมันเตาที่มีการใช้ในภาคอุตสาหกรรมได้ งานวิจัยนี้เป็นอีกหนึ่งแนวทางเลือกที่ช่วยในการจัดการขยะพลาสติกในบ่อฝังกลบให้มีปริมาณลดน้อยลง โดยเปลี่ยนขยะมูลฝอยให้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนที่นำไปใช้ประโยชน์ได้จริง

การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มกะปิคลองด่านชุมชน 3 ตำบลคลองด่าน อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ

คณะเทคโนโลยีการเกษตร

การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มกะปิคลองด่านชุมชน 3 ตำบลคลองด่าน อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัญหาความต้องการในการออกแบบบรรจุภัณฑ์กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ฯ 2) เพื่อพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ฯ และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อรูปแบบบรรจุภัณฑ์ของสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มกะปิคลองด่านชุมชน 3 ตำบลคลองด่าน อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 9 คน ผลการศึกษาพบว่า สภาพปัญหาของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ฯ นั้นขาดบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมแก่การเป็นของฝากและมีความต้องการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้มีลักษณะเหมาะสมแก่การเป็นของฝากโดยวัสดุที่ใช้ทำบรรจุภัณฑ์คือกระดาษ มีรูปแบบบรรจุภัณฑ์เป็นทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าพร้อมหูจับสำหรับพกพา สามารถพับเก็บขนส่งสะดวก และซ้อนทับเพื่อเรียงเป็นชั้นได้มีความแข็งแรงทนทาน สีบรรจุภัณฑ์ที่ใช้คือสีน้ำตาลอ่อน ส่วนสีฉลากคือสีขาว มีรายละเอียดที่ระบุในฉลากดังนี้ สูตรทำน้ำพริกกะปิ ส่วนประกอบ วันผลิตและวันหมดอายุ ความเป็นมาของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ฯ QR Code เบอร์โทรศัพท์ เรื่องราวสั้น ๆ ชื่อกลุ่ม สถานที่ผลิต พร้อมทั้งใช้ภาพประกอบเป็นที่ตั้งของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ฯ และภาพเคยแดง ผลการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ฯ พบว่าการออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือของสินค้า ทำให้ลูกค้าเกิดความเชื่อมั่นในตัวผลิตภัณฑ์ และความพึงพอใจต่อรูปแบบบรรจุภัณฑ์ของสมาชิกกลุ่ม ฯ พบว่าบรรจุภัณฑ์รูปแบบที่ 1 มีระดับความพึงพอใจมากที่สุด ( x ̅ = 4.57, S.D.= 0.22) โดยมีด้านสีได้ระดับความพึงพอใจมากที่สุด ( x ̅ = 4.74, S.D.= 0.06) รองลงมาคือด้านฉลากมีระดับความพึงพอใจมากที่สุด ( x ̅ = 4.69, S.D.= 0.10) น้อยที่สุดคือ ด้านคุณสมบัติระดับความพึงพอใจปานกลาง ( x ̅ = 3.83, S.D.=1.58) ตามลำดับ

สมการฝุ่นพิษ

คณะวิทยาศาสตร์

สมการฝุ่นพิษ

ปัญหามลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 เป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมในกรุงเทพมหานคร โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และระบุปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อระดับของ PM2.5 มากที่สุด โดยใช้ข้อมูลคุณภาพอากาศ สภาพอากาศ และปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อตรวจสอบว่าปัจจัยใด เช่น อุณหภูมิ ความชื้น ความเร็วลม หรือมลพิษจากแหล่งอื่น มีผลต่อความผันผวนของ PM2.5 ผลการศึกษานี้จะช่วยให้สามารถระบุปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อปริมาณฝุ่น PM2.5 ได้อย่างเป็นระบบ ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับหน่วยงานภาครัฐ นักวิจัย และประชาชนทั่วไปในการวางแผนรับมือและลดผลกระทบจากมลพิษทางอากาศ นอกจากนี้ ผลลัพธ์ที่ได้ยังสามารถนำไปใช้สนับสนุนการตัดสินใจในการกำหนดนโยบายและมาตรการต่าง ๆ เพื่อปรับปรุงคุณภาพอากาศและสุขภาพของประชาชนในระยะยาว