โครงงานนี้นำเสนอวิธีการออกแบบและการจัดการพื้นที่เกษตร จังหวัดกาญจนบุรี พื้นที่กรณีศึกษาตั้งอยู่ที่ ตำบล วังด้ง อำเภอ เมืองกาญจนบุรี จังหวัด กาญจนบุรี พื้นที่ขนาดประมาณ 18 ไร่ เนื่องจากผู้ใช้งานมีความต้องการใช้ชีวิตเรียบง่ายในต่างจังหวัดกับบรรยากาศที่รายล้อมไปด้วยธรรมชาติจึงออกแบบให้สอดคล้องกับแนวทางการใช้ชีวิตที่เรียบง่ายและยั่งยืน โดยมีการจัดสรรพื้นที่อย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งในด้านการดำรงชีวิตและการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตร โซนปลูกผักและผลไม้ถูกวางแผนให้เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศและชนิดของพืช เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างต่อเนื่อง ขณะที่โซนเลี้ยงสัตว์ได้รับการจัดวางให้เป็นสัดส่วนแนวทางนี้ไม่เพียงแต่ช่วยสร้างความมั่นคงทางอาหารและรายได้ แต่ยังเป็นรูปแบบของการใช้ชีวิตที่เกื้อกูลธรรมชาติ ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสามารถต่อยอดไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรที่มีประสิทธิภาพและเป็นมิตรกับระบบนิเวศในระยะยาว มีการเก็บรายละเอียดของการวงตำแหน่งต่างๆเพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางลมและแสงของพื้นที่ รวมถึงการเขียนแบบที่ผ่านกระบวนการออกแบบและตรวจแบบอย่างสม่ำเสมอเพื่อผลลัพธ์ที่ดีต่อพื้นที่ใช้งาน
ผู้ใช้งานต้องการสร้างบ้านสวนเกษตรเพื่อใช้เป็นที่พักผ่อนอาศัยโดยมีพื้นที่สำหรับปลูกผักและผลไม้ รวมถึงโซนเลี้ยงสัตว์เพื่อสร้างรายได้จากการขาย ผลผลิตจากสวนและสัตว์เลี้ยงจะช่วยให้สามารถใช้ชีวิตอย่างยั่งยืนและพึ่งพาตนเองได้ รวมถึงเป็นการสร้างพื้นที่ที่ให้ความสงบและใกล้ชิดกับธรรมชาติ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถมีชีวิตที่สมดุล โดยไม่เพียงแต่เป็นสถานที่พักผ่อน แต่ยังเป็นแหล่งรายได้ที่มั่นคงในอนาคตด้วย
คณะอุตสาหกรรมอาหาร
ไก่ปลดระวาง คือ แม่ไก่ไข่ที่มีอายุเกิน 18 เดือนถึง 2 ปี โดยเป็นไก่ที่ไม่ให้ผลผลิตแล้ว เนื้อสัมผัสของไก่ปลดระวางจัดว่ามีความเหนียวมากเมื่อเปรียบเทียบกับไก่เนื้อ ไก่ตอน และไก่บ้าน ดังนั้น เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าให้แก่ไก่ปลดระวาง งานวิจัยจึงนำน้ำเนื้อไก่มาดัดแปรเนื้อสัมผัส โดยการขึ้นรูปใหม่ด้วยคาราจีแนน และนำไปทำให้เนื้อไก่นุ่มขึ้นโดยการแช่ในสารละลายโบรมิเลนที่มีความเข้มข้นต่างกัน จากการทดลอง พบว่า การขึ้นรูปใหม่ด้วยคาราจีแนน และการใช้เอนไซม์โบรมิเลน ส่งผลให้เนื้อไก่สามารถขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ได้ และช่วยให้เนื้อไก่นุ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับเนื้อไก่ที่ไม่ได้ใช้คาราจีแนนและเอนไซม์โบรมิเลน
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
การใช้สารสกัดจากพืชสมุนไพรด้วยเทคโนโลยี “ไอน้ำสมุนไพร” ในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช เป็นเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนามาจากความรู้ของคนในชุมชนบ้านรางยอม ตำบลหนองโรง อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี ร่วมกับคณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ภายใต้แนวคิดในการพัฒนาชุมชนโดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง จึงต้องการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี “กระบวนการผลิตไอน้ำสมุนไพร” ให้กับชุมชนที่ด้อยโอกาสทางเทคโนโลยี เป็นการพัฒนาทักษะอาชีพของเกษตรในรูปแบบของกลุ่มเกษตร ให้เกิดความเท่าเทียมทางการใช้เทคโนโลยีที่ไม่เป็นอันตรายต่อเกษตรกรและผู้บริโภค รวมทั้งสามารถลดค่าใช้จ่ายในกระบวนการผลิตลงได้ หลักการทำงานของชุดกลั่นไอน้ำสมุนไพร เป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการผลิต “ไอน้ำสมุนไพร” ตามวิธีการของปราชญ์ชุมชนบ้านรางยอม อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี กับองค์ความรู้ด้านการใช้น้ำมันหอมระเหยจากพืชในการป้องกันกำจัดแมลงและไรพืชของนักวิจัย คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง สามารถอธิบายรายละเอียดของเทคโนโลยีการผลิตได้ดังต่อไปนี้ การกลั่น “ไอน้ำสมุนไพร” เป็นหลักการกลั่นน้ำมันหอมระเหยจากพืชสมุนไพรโดยวิธีการกลั่นด้วยน้ำ (Water distillation) ทั่วไป เพียงแต่ขั้นตอนสุดท้ายหลังจากการกลั่นแล้วนั้น ได้น้ำและน้ำมันหอมระเหยจากพืชอยู่รวมกัน ซึ่งไม่มีขั้นตอนการแยกออกจากกัน แต่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที เรียกของผสมนี้ว่า “ไอน้ำสมุนไพร” วิธีการผลิตไอน้ำสมุนไพรเพื่อใช้ในการป้องกันกำจัดแมลงและไรศัตรูพืช ดังนี้ 1. การเตรียมพืชสมุนไพรรวม 50 กิโลกรัม (ตามสูตรของแต่ละชุมชน ซึ่งมีความแตกต่างกันไปตามชนิดของแมลงและไรศัตรูพืช และชนิดของพืชปลูก) 2. นำพืชสมุนไพรตามสูตรมาสับให้ละเอียด ผสมกับน้ำสะอาด 50 ลิตร ใส่ในถังกลั่นขนาด 200 ลิตร คลุกเคล้าให้เข้ากัน ปิดฝา รอจนน้ำเดือดเป็นไอออกมา ไอน้ำจะพาน้ำมันหอมระเหยจากพืชออกมาทางท่อทางออกของไอน้ำ ท่อนั้นผ่านไปยังถังควบแน่น และถูกควบแน่นเป็นของเหลวไหลออกมา สารที่ได้เรียกว่า “ไอน้ำสมุนไพร” ควบคุมคุณภาพการกลั่นโดยให้ได้ไอน้ำสมุนไพร 30 ลิตร (ใช้เวลาประมาณ 3-4 ชั่วโมง) จึงหยุดกระบวนการกลั่น 3. ผสมไอน้ำสมุนไพรที่ได้ทั้งหมดเข้าด้วยกัน เพิ่มสารช่วยผสมระหว่างน้ำมันหอมระเหยจากพืชสมุนไพรและน้ำด้วยสารช่วยผสม เช่น ปิโตรเลียมออยล์ ไวท์ออยล์ สารทวีน หรือสารจับใบ อัตรา 5 ซีซี ต่อ ลิตร เขย่าให้เข้ากัน บรรจุใส่ขวดพลาสติกทึบแสง 4. อัตราการใช้และวิธีการใช้ไอน้ำสมุนไพรในการป้องกันกำจัดแมลงและไรศัตรูพืช - เป็นสารไล่ ใช้ในอัตรา 80-100 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก ๆ 15 วัน สามารถป้องกันการเข้าทำลายของแมลงและไรศัตรูพืชได้ - เป็นสารฆ่า ใช้ในอัตรา 200-400 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก ๆ 3-4 วัน อย่างต่อเนื่อง สามารถฆ่าแมลงและไรศัตรูพืชได้"
คณะวิศวกรรมศาสตร์
งานวิจัยนี้นำเสนอการออกแบบเครื่องมือระบบการนับยุง ยุงที่ถูกนับตายเพื่อไม่ให้วัดข้อมูลการนับซ้ำ ทันทีที่เครื่องนับแหล่งที่มาอินพุตตรวจจับยุงได้ สัญญาณทริกเกอร์เดี่ยวจะถูกส่งไปยังระบบ IOT เพื่อขัดจังหวะเซิร์ฟเวอร์ทันที จำนวนยุงจริงไม่ได้ส่งสัญญาณไปยัง IOT แต่เป็นเพียงสัญญาณรบกวนเซิร์ฟเวอร์เท่านั้น เซิร์ฟเวอร์จะบันทึกจำนวนสัญญาณขัดจังหวะด้วยนาฬิกาแบบเรียลไทม์ จากนั้นข้อมูลขัดจังหวะจะได้รับการจัดการต่อไป เครื่องนับส่วนหน้าประกอบด้วยเครื่องสร้างไฟฟ้าแรงสูงที่มีค่าแรงดันไฟฟ้าและระยะห่างของอิเล็กโทรดที่เหมาะสมกับขนาดยุงที่ต้องการ สัญญาณพัลส์ทริกเกอร์ต่ำของยุงที่ถูกฆ่าด้วยไฟฟ้าแรงสูงจะถูกส่งไปยังชุดควบคุม ทันที สัญญาณการนับจำนวนยุงรบกวนจะถูกส่งไปยังการรวบรวมข้อมูลกระแสใหญ่บนระบบ IOT โดยเทคนิคการประทับเวลา สร้างผลการตรวจวัดตัวอย่างยุงตัวเป็นๆ จำนวน 10 ตัว ในกล่องพื้นที่จำกัดในการบิน โดยเครื่องนับแสดงว่าผลการนับถูกต้อง 100%