ปัญหาการขาดแคลนน้ำจืดเป็นวิกฤตระดับโลก เนื่องจากปริมาณน้ำจืดที่สามารถใช้ในการอุปโภคได้มีจำกัด ขณะที่ความต้องการใช้น้ำเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การแยกเกลือออกจากน้ำทะเลเป็นแนวทางสำคัญในการแก้ไขปัญหานี้ อย่างไรก็ตาม กระบวนการดังกล่าวต้องใช้พลังงานสูงและพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล ส่งผลให้ต้นทุนสูงและกระทบต่อสิ่งแวดล้อม งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์หลักคือเพื่อศึกษาการใช้พลังงานความร้อนจากตัวเก็บพลังงานแสงอาทิตย์แบบท่อสุญญากาศในการผลิตน้ำจืด โดยใช้กระบวนการระเหยและควบแน่นเพื่อนำน้ำบริสุทธิ์ออกจากสารละลายปนเปื้อน การศึกษานี้มุ่งเน้นการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของระบบโดยเปรียบเทียบปริมาณน้ำจืดที่ผลิตได้กับพลังงานที่ใช้ ผลลัพธ์ของงานวิจัยนี้อาจนำไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตน้ำจืดที่มีความยั่งยืนและเหมาะสมสำหรับพื้นที่ที่มีทรัพยากรน้ำจืดจำกัด
ปัจจุบันโลกปกคลุมด้วยน้ำถึง 70% ของพื้นที่ทั้งหมด แต่มีทรัพยากรน้ำที่เป็นน้ำจืด (fresh water) ที่สามารถใช้อุปโภค บริโภคได้เพียง 3% ประกอบกับจำนวนประชากรที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงเกิดวิกฤตการขาดแคลนน้ำ การแยกเกลือออกจากน้ำทะเลเป็นแนวทางสำคัญในการแก้ไขปัญหานี้ โดยงานวิจัยของเรามุ่งพัฒนาเทคโนโลยีแยกเกลือออกจากน้ำทะเลโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ผ่านระบบท่อสุญญากาศ (ETSC) เพื่อลดต้นทุน พึ่งพาพลังงานสะอาด และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตน้ำจืด โดยเฉพาะในพื้นที่แห้งแล้งที่ขาดแคลนน้ำ
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
โครงงานสวนสาธารณะ : เเอนเซียนท์ ซี ปาร์ค เป็นสวนสาธารณะเเห่งใหม่ที่อ่างศิลา จังหวัดชลบุรี สร้างเพื่อการเรียนรู้เเละการท่องเที่ยว ในเเนวคิดท้องทะเลเมื่อ65ปีก่อน
คณะวิทยาศาสตร์
ปัญหามลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 เป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมในกรุงเทพมหานคร โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และระบุปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อระดับของ PM2.5 มากที่สุด โดยใช้ข้อมูลคุณภาพอากาศ สภาพอากาศ และปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อตรวจสอบว่าปัจจัยใด เช่น อุณหภูมิ ความชื้น ความเร็วลม หรือมลพิษจากแหล่งอื่น มีผลต่อความผันผวนของ PM2.5 ผลการศึกษานี้จะช่วยให้สามารถระบุปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อปริมาณฝุ่น PM2.5 ได้อย่างเป็นระบบ ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับหน่วยงานภาครัฐ นักวิจัย และประชาชนทั่วไปในการวางแผนรับมือและลดผลกระทบจากมลพิษทางอากาศ นอกจากนี้ ผลลัพธ์ที่ได้ยังสามารถนำไปใช้สนับสนุนการตัดสินใจในการกำหนดนโยบายและมาตรการต่าง ๆ เพื่อปรับปรุงคุณภาพอากาศและสุขภาพของประชาชนในระยะยาว
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
การศึกษาผลของการทำ seed priming ด้วยสารสกัดจากสาหร่าย Chaetomorpha sp. ต่อความงอกและการเจริญเติบโตของต้นกล้าพริก มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของความเข้มข้นของสารสกัดจากสาหร่ายต่อการงอกและการเจริญเติบโตของต้นกล้าพริก การทดลองประกอบด้วยการแช่เมล็ดพริกในสารละลายสกัดจากสาหร่าย Chaetomorpha sp. ที่ระดับความเข้มข้นต่างๆ เปรียบเทียบกับชุดควบคุม วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ จำนวน 4 ซ้ำ ผลการศึกษาพบว่า การทำ seed priming ด้วยสารสกัดจากสาหร่ายมีแนวโน้มส่งเสริมการงอกของเมล็ดพริก โดยพบว่าเมล็ดที่ผ่านการ priming ด้วยสารสกัดจากสาหร่ายมีเปอร์เซ็นต์ความงอก ดัชนีการงอก และความเร็วในการงอกสูงกว่าชุดควบคุม นอกจากนี้ยังพบว่าต้นกล้าที่ได้มีการพัฒนาของรากและลำต้นที่แข็งแรงกว่าชุดควบคุม การศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของสารสกัดจากสาหร่าย Chaetomorpha sp. ในการเพิ่มคุณภาพของเมล็ดพันธุ์พริก ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการผลิตต้นกล้าพริกคุณภาพสูงต่อไป