โครงงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของ thesis ของนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ หลักสูตร นานาชาติ ในหัวข้อ Business Plan เกี่ยวกับ recycled fabric นำมาผลิตเป็น blazers และ trousers
Trend ในตอนนี้ถ้าไม่พูดถึง sustainability คงเป็นไปไม่ได้ พวกเรานักศึกษาจากคณะบริหารธุรกิจได้เล็กเห็นถึง trend ในปัจจุบันและนำมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับธุรกิจที่พวกเรามีแรงบันดาลใจในการทำ จึงเกิดเป็น Prize Brand ที่มุ่งมั่นที่จะเป็นที่รู้จักในด้าน eco-friendly and sustainability
คณะวิศวกรรมศาสตร์
ปัญหาการขาดแคลนน้ำจืดเป็นวิกฤตระดับโลก เนื่องจากปริมาณน้ำจืดที่สามารถใช้ในการอุปโภคได้มีจำกัด ขณะที่ความต้องการใช้น้ำเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การแยกเกลือออกจากน้ำทะเลเป็นแนวทางสำคัญในการแก้ไขปัญหานี้ อย่างไรก็ตาม กระบวนการดังกล่าวต้องใช้พลังงานสูงและพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล ส่งผลให้ต้นทุนสูงและกระทบต่อสิ่งแวดล้อม งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์หลักคือเพื่อศึกษาการใช้พลังงานความร้อนจากตัวเก็บพลังงานแสงอาทิตย์แบบท่อสุญญากาศในการผลิตน้ำจืด โดยใช้กระบวนการระเหยและควบแน่นเพื่อนำน้ำบริสุทธิ์ออกจากสารละลายปนเปื้อน การศึกษานี้มุ่งเน้นการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของระบบโดยเปรียบเทียบปริมาณน้ำจืดที่ผลิตได้กับพลังงานที่ใช้ ผลลัพธ์ของงานวิจัยนี้อาจนำไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตน้ำจืดที่มีความยั่งยืนและเหมาะสมสำหรับพื้นที่ที่มีทรัพยากรน้ำจืดจำกัด
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของระดับความเค็มที่แตกต่างกันต่ออัตรารอดและการเจริญเติบโตของหอยเชอรี่สีทอง (Pomacea canaliculata) โดยทำการทดลองเลี้ยงในระบบน้ำที่มีระดับความเค็ม 0, 5, 10 และ 15 พีพีที แต่ละชุดการทดลองมี 4 ซ้ำ ใช้ระยะเวลาทดลอง 8 สัปดาห์ ผลการศึกษาพบว่าหอยเชอรี่สีทองที่เลี้ยงในน้ำที่มีความเค็ม 5-10 พีพีที มีอัตรารอดและการเจริญเติบโตไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมที่เลี้ยงในน้ำจืด (0 พีพีที) ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ในการพัฒนาการเลี้ยงหอยเชอรี่สีทองในระบบน้ำกร่อยและการเลี้ยงแบบผสมผสานร่วมกับสัตว์น้ำกร่อยชนิดอื่น
คณะอุตสาหกรรมอาหาร
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเทคนิคการห่อหุ้มร่วม (Co-encapsulation) ของวิตามินซีและโคเอนไซม์คิวเท็นภายในลิโปโซม เพื่อเพิ่มเสถียรภาพและประสิทธิภาพการกักเก็บของสารสำคัญ รวมถึงศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและการปลดปล่อยในสภาวะจำลองระบบทางเดินอาหาร โดยทำการเตรียมลิโปโซมด้วยวิธี High-Speed Homogenization Method และวิเคราะห์คุณสมบัติต่าง ๆ เช่น ขนาดอนุภาค ศักย์ไฟฟ้า การกักเก็บสารสำคัญ และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระผ่าน DPPH, ABTS และ FRAP assay ผลการศึกษาพบว่าการห่อหุ้มร่วมสามารถเพิ่มความเสถียรของวิตามินซีและโคเอนไซม์คิวเท็นได้อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับการห่อหุ้มเดี่ยว โดยมีค่าประสิทธิภาพการกักเก็บสูง และสามารถรักษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้ดี นอกจากนี้ ลิโปโซมที่เตรียมขึ้นยังแสดงประสิทธิภาพการปลดปล่อยที่เหมาะสมในสภาวะจำลองระบบทางเดินอาหาร แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของเทคนิค Co-encapsulation ในการเพิ่มประสิทธิภาพของสารอาหารเชิงหน้าที่ ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพได้