การพัฒนาสวนทุเรียนให้มีประสิทธิภาพจำเป็นต้องอาศัยการบูรณาการองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมจากทั้งภาคเกษตรกรและนักวิชาการ เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมและความต้องการของตลาด Durian Web-based Learning Hub เป็นแพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางในการถ่ายทอดองค์ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญและเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างเกษตรกร โดยผู้ใช้สามารถเข้าถึงแหล่งความรู้ได้อย่างสะดวกและต่อเนื่อง แพลตฟอร์มนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการนวัตกรรมการบริหารจัดการข้อมูลการผลิตและการตลาดเพื่อยกระดับคุณภาพผลผลิตทุเรียนเข้าสู่ตลาดพรีเมี่ยม ภายใต้การสนับสนุนของหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)
การทำสวนทุเรียนในปัจจุบันเผชิญกับความท้าทายหลายด้าน ทั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โรคและแมลงศัตรูพืชชนิดใหม่ และความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ในขณะที่องค์ความรู้และประสบการณ์ที่มีค่าของเกษตรกรและผู้เชี่ยวชาญกระจายอยู่ในหลายพื้นที่ การเข้าถึงข้อมูลและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์แบบดั้งเดิมมีข้อจำกัดด้านเวลาและระยะทาง จึงจำเป็นต้องพัฒนาแพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์ที่จะเชื่อมโยงผู้คนในวงการทุเรียนเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่เข้มแข็งและยั่งยืน
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี
โครงงานนี้นำเสนอการสร้างเครื่องมือวัดค่าความหนาแน่นอิเล็กตรอนรวมด้วย GPS แบบความถี่เดียว โดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีเกี่ยวกับจำนวนอิเล็กตรอนรวมในชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์และเครื่องมือวัดค่าอิเล็กตรอนรวมด้วย ค่าเวลาหน่วงของ GPS มาทำการออกแบบเครื่องมือวัดค่าความหนาแน่นอิเล็กตรอนรวมด้วย GPS แบบความถี่เดียว โดยประกอบด้วยสายอากาศ เครื่องรับสัญญาณดาวเทียม GPS แบบความถี่เดียว หน่วยประเมินผลข้อมูลและคำนวณจำนวนอิเล็กตรอนรวม และหน่วยแสดงผลข้อมูลค่าอิเล็กตรอนรวม ทดสอบการทำงานของเครื่องวัดอิเล็กตรอนรวมด้วย GPS แบบความถี่เดียว โดยการเปรียบเทียบกับข้อมูลค่าอิเล็กตรอนรวมที่ได้จากโมเดล IRI (International Reference Ionosphere) ซึ่งเป็นโมเดลอิเล็กตรอนอ้างอิงของโลก และนำเครื่องวัดอิเล็กตรอนรวมด้วย GPS แบบความถี่เดียวไปใช้งานจริง ผลของการเปรียบเทียบและใช้งานจริง สรุปได้ว่าเครื่องมือวัดค่าอิเล็กตรอนรวมด้วย GPS แบบความถี่เดียว สามารถใช้งานได้จริงและมีค่าความแตกต่างกับ โมเดล IRI อยู่ที่ 50 TECU
คณะวิศวกรรมศาสตร์
โครงการนี้นำหลักการของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ และ Deep Learning มาจัดทำระบบตำรวจอัจฉริยะ (Smart Police) เพื่อวิเคราะห์อัตลักษณ์บุคคลและยานพาหนะที่ต้องสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดเพื่อใช้รักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน โดยหลักการทำงานของระบบตำรวจอัจฉริยะ จะติดตั้งกล้อง CCTV ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงในกการโจรกรรม เพื่อตรวจจับบุคคลที่มีอำพรางอาวุธ โดยวิเคราะห์จากภาพจากกล้อง CCTV ด้วยการประมวลผลภาพและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ในการเฝ้าระวังและตรวจจับสิ่งที่อยู่ในเหตุการณ์ เมื่อมีการโจรกรรมหรือเหตุการผิดปกติ ระบบจะแจ้งเตือนเหตุการณ์เข้ามาที่ศูนย์เฝ้าระวังภายในสถานีตำรวจ เพื่อให้ตำรวจไปตรวจสอบความผิดเบื้องต้น และไปพื้นที่เกิดเหตุได้ทันเหตุการณ์เพื่อดำเนินการป้องกันหรือระงับเหตุ ในกรณีที่มีการหลบหนี ระบบจะติดตามรถยนต์ หรือ รถมอเตอร์ไซด์ พร้อมระบุเส้นทางที่สามารถใช้ในการหลบหนีโดยใช้การติดตามจากลักษณะของยานพาหนะ และป้ายทะเบียนของยานพาหนะที่ก่อเหตุ เพื่อทำการติดตามและระงับเหตุได้ ดังนั้นระบบตำรวจอัจฉริยะที่พัฒนาขึ้นเป็นการร่วมมือของคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, สำนักงานตำรวจภูธรภาค 2 มูลนิธิฉะเชิงเทราเพื่อการพัฒนา และสำนักงานเมืองอัจฉริยะจังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อป้องกันและป้องปรามการเกิดอาชญากรรม เพิ่มความปลอดภัยสาธารณะและความสงบเรียบร้อยให้แก่ประชาชนในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทราซึ่งเป็นพื้นที่ในเขต EEC ซึ่งเป็นแหล่งเศรษฐกิจของประเทศ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวใกล้กรุงเทพ และเป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทั้งภาครัฐ เอกชน และชุมชน ตลอดจนถ่ายทอดองค์ความรู้การใช้งานนวัตกรรมและการเขียนให้แก่ตำรวจและเจ้าหน้าที่ในการนำเทคโนโลยีไปใช้งานจริงและสามารถพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมได้ใช้เอง ซึ่งเป็นการพัฒนาแบบต่อเนื่องในระยะยาวเพื่อให้เกิดความยั่งยืนและนําข้อมูลไปใช้ประโยชน์ด้านการวางแผนการดำเนินการรักษาความปลอดภัยและแผนการท่องเที่ยวของจังหวัดฉะเชิงเทรา
วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์
เนื่องจากมีการระบาดของปลาหมอคางดำ ทำให้มีผลกระทบต่อระบบนิเวศโดยรวมของธรรมชาติ เพราะปลาหมอคางดำมีการแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว และมีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ส่งผลให้ปลาหมอคางดำมีจำนวนประชากรมากเกินไป ทำให้มีการแย่งชิงของอาหารและที่อยู่อาศัยของปลาพื้นถิ่น อีกทั้งพฤติกรรมการกินที่หลากหลายของปลาหมอคางดำอาจส่งผลให้เกิดการลดลงของสัตว์น้ำขนาดเล็กหรือพืชน้ำที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศอีกด้วย