KMITL Innovation Expo 2025 Logo

ห้องนิทรรศการจำลอง

รายละเอียด

-

วัตถุประสงค์

ผู้พิการ และ ความเหลื่อมล้ำ ดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่อยู่คู่กันในสังคมอย่าหลีกเลี่ยงไม่ได้ ถึงแม้รัฐบาลพยายามที่จะลดความเหลื่อมล้ำดงกล่าวมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นความพยายามในการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ มีนโยบายจัดตั้งกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เพื่อส่งเสริมให้ผู้พิการเข้าถึงสิทธิ สวัสดิการอย่างเท่าเทียมทั่วถึง และเป็นธรรม แต่นอกเหนือไปจากความไม่ทั่วถึงของสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่รัฐพยายามจัดให้ ลักษณะของความพิการก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้การเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่รัฐพยายามจัดให้ ลักษณะของความพิการก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้การเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกดังกล่าวเป็นไปได้อย่างจำกัด โดยเฉพาะความพิการทางสายตา สำหรับผู้พิการทางสายตานอกจากจะได้รับความเหลื่อมล้ำทางสังคมเช่นเดียวกับผู้พิการทางด้านอื่น ๆ แล้ว ยังมีข้อจำกัดด้านการมองเห็นทำให้โอกาสในการรับรู้และเข้าใจในสรรพสิ่งต่าง ๆ เป็นไปอย่างมีขอบเขตจำกัด แม้กระทั่งการไปเที่ยวพักผ่อนหย่อนในหรือการศึกษาหาความรู้เชิงสันทนาการ เช่น การไปเยี่ยมชมสวนสัตว์ ก็ยังมีความยากลำบากกว่าผู้พิการด้านอื่น ๆ องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย เป็นรัฐวิหาสกิจ สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้รับนโยบายจากรัฐบาลให้เร่งจัดทำสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ อย่างไรก็ตาม จากกรณีศึกษาองค์การสวนสัตว์เปิดเขาเขียวจะเห็นว่า ทางสวนสัตว์เปิดเขาเขียวและองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย ได้มีความพยายามในการให้จัดสิ่งอำนวยความสะดวกแก่ผู้พิการในการเยี่ยมชมสัตว์ ไม่ว่าจะเป็นการทำทางลาด คำอธิบายในรูปแบบอักษรเบรลล์ ภาพนูต่ำ หรืออุปกรณ์ให้คำอธิบายเสียงตามจุดเยี่ยมชมบางจุด ซึ่งบ้างก็มีความชำรุดใช้การไม่ได้ เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบว่า จำนวนผู้พิการที่มาเข้าเยี่ยมชมสวนสัตว์เปิดเขาเขียวในแต่ละปีมีจำนวนมากกว่า 2,000 คน และมักจะมาเป็นหมู่คณะที่จัดโดยโรงเรียนสอนคนตาบอดมากกว่าการมาส่วนตัวแบบครอบครัว โดยในการมาเยี่ยมชมเป็นหมู่คณะนี้ทางสวนสัตว์ฯ จะจัดให้มีผู้นำชมเฉพาะกลุ่มแต่ก็ยังมีข้อจำกัดนานาประการในการเยี่ยมชม ไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึง การรับรู้และความเข้าใจถึงขนาด รูปร่าง จุดเด่น ของสัตว์ประเภทต่าง ๆ ซึ่งจะต้องใช้ประสาทสัมผัสด้านการมองเห็นเป็นหลัก

นวัตกรรมอื่น ๆ

การทดสอบเครื่องอัดประจุไฟฟ้าของยานยนต์ไฟฟ้าตามมาตรฐาน  IEC 61851-1 ภาคผนวก A

คณะวิศวกรรมศาสตร์

การทดสอบเครื่องอัดประจุไฟฟ้าของยานยนต์ไฟฟ้าตามมาตรฐาน IEC 61851-1 ภาคผนวก A

โครงงานนี้มุ่งเน้นการพัฒนาอุปกรณ์ทดสอบเครื่องอัดประจุของยานยนต์ไฟฟ้าแบบกระแสสลับ (AC Charger) ตามมาตรฐาน IEC 61851-1 ภาคผนวก A โดยการจำลองวงจรทดสอบภายในยานยนต์ไฟฟ้าตามมาตฐาน เพื่อใช้ทดสอบการทำงานของเครื่องอัดประจุไฟฟ้ากระแสสลับ โดยในหัวข้อการทดสอบเกี่ยวข้องกับการสื่อสารระหว่างยานยนต์ไฟฟ้ากับเครื่องอัดประจุผ่านระบบวงจรควบคุมด้วยสัญญาณ Pulse Width Modulation (PWM) และจัดทำคู่มือปฏิบัติงาน (WI) เพื่อเตรียมการทดสอบให้เป็นไปตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 ซึ่งเป็นข้อกำหนดทั่วไปว่าด้วยความสามารถห้องปฏิบัติการในการดำเนินการทดสอบและ/ หรือสอบเทียบ ซึ่งภาพรวมของโครงการนี้คือ พัฒนาอุปกรณ์ทดสอบและจัดทำคู่มือปฏิบัติงาน โดยได้นำเอาองค์ความรู้และอุปกรณ์ต่างๆมาทำการเก็บข้อมูล จากนั้นนำข้อมูลมาเปรียบเทียบให้เป็นไปตามมาตรฐานข้างต้น เพื่อทดสอบเครื่องอัดประจุไฟฟ้ากระแสสลับ Type II ในแต่ละสถานะ อุปกรณ์การทดสอบประกอบไปด้วยส่วนของการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ทดสอบกับเครื่องอัดประจุไฟฟ้ากระแสสลับ โดยใช้ PLC S7-1200 และ HMI เพื่อควบคุมการทำงานของสวิตช์ในวงจรอุปกรณ์ทดสอบ รวมถึงการควบคุมพารามิเตอร์และแสดงผล ส่วนของอุปกรณ์ที่ใช้วัดค่าออสซิโลสโคปและมัลติมิเตอร์ที่ผ่านกระบวนการสอบเทียบเครื่องมือวัด เพื่อให้สอดคล้องกับมาตฐานที่กำหนดไว้

เค-ลิงก์ แอปพลิเคชั่น

คณะวิศวกรรมศาสตร์

เค-ลิงก์ แอปพลิเคชั่น

แพลตฟอร์มที่มีจุดประสงค์ในการเชื่อมโยงนักศึกษาจากทุกคณะและสาขาวิชาเพื่อส่งเสริมการทำ กิจกรรมร่วมกัน และพัฒนาทักษะทางสังคมและการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเน้นไปที่การ ส่งเสริมการเรียนรู้และการพัฒนาตนเองผ่านการทบทวนบทเรียนและการเรียนรู้ร่วมกันที่มีความสัมพันธ์กับ ทุกคณะและสาขาวิชาในมหาวิทยาลัย สร้างพื้นที่สำหรับการเจรจาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสนับสนุนการ ทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อสร้างสัมพันธภาพและความร่วมมือในกลุ่มนักศึกษา

ระบบเล็งอาวุธ

คณะวิศวกรรมศาสตร์

ระบบเล็งอาวุธ

โปรเจคนี้มีเป้าหมายในการพัฒนาต้นแบบของระบบเล็งอาวุธที่จำลองเป็นปืนต่อต้านอากาศยาน โดยใช้กล้องออปติคอลเพื่อตรวจจับวัตถุที่เคลื่อนที่และคำนวณวิถีแบบ Real time ผลลัพธ์ที่ได้นั้นจะส่งไปยังเลเซอร์พอยน์เตอร์บนมอเตอร์ 2 แกนหมุน แบบ degrees of freedom(DoF) ส่งผลให้สามารถเล็งไปยังเป้าหมายที่คาดการณ์ไว้ได้ ระบบนี้ถูกสร้างขึ้นบนแพตฟอร์มของ Raspberry Pi 4 ร่วมกับซอฟแวร์ machine vision โปรแกรมการ tracking นั้นถูกพัฒนาภายใต้ไลบรารีของ OpenCV โดยอาศัย color detections algorithms ผลการทดลองตอนนี้สามารถตรวจจับการเคลื่อนไหวของลูกเทนนิสแบบ real time ที่อัตรา 30 เฟรมต่อวินาที(fps) ขณะนี้โปรเจคอยู่นขั้นตอนการออกแบบและทดลองกับระบบแมคคานิคเพื่อควบคุมเลเซอร์พอยน์เตอร์ให้แม่นยำ โปรเจคนี้มีการนำความรู้ทางด้านอิเล็กทรอนิกส์(computer programing) และวิศวกรรมเครื่องกล(การควบคุมมอเตอร์)มาใช้งาน