KMITL Innovation Expo 2025 Logo

การทดสอบและการวิเคราะห์ระบบสายเคเบิลใต้ดิน

การทดสอบและการวิเคราะห์ระบบสายเคเบิลใต้ดิน

รายละเอียด

เนื่องจากระบบเมืองสมัยใหม่ มีความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าที่มีเสถียรภาพสูงมากกว่าในอดีต ทำให้มีการนำระบบการส่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าด้วยสายเคเบิลใต้ดินมาใช้งานกันอย่างแพร่หลายแทนที่การส่งพลังงานไฟฟ้าด้วยสายส่งเหนือหัว อย่างไรก็ตามการส่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าด้วยสายเคเบิลใต้ดินยังมีปัญหาในการใช้งานอยู่หลายประการเช่น การลงทุนที่สูงกว่าการส่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าเหนือหัวอยู่หลายเท่า การใช้เวลาแก้ไขเป็นระยะเวลานานเมื่อเกิดความล้มเหลวของระบบส่งจ่าย ความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหาที่จำกัด ความสามารถในการรับภาระเพิ่มเติมเป็นต้น โครงการวิจัยนี้ออกแบบมาเพื่อศึกษาปัญหาของสายเคเบิลใต้ดินระบบ 22 kV XLPE โดยอาศัยเทคนิค การวิเคราะห์กระแสโพลาไรซ์และกระแสดีโพลาไรซ์ซึ่งเป็นเทคนิคการวิเคราะห์ฉนวนสมัยใหม่

วัตถุประสงค์

เนื่องจากระบบเมืองสมัยใหม่ มีความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าที่มีเสถียรภาพสูงมากกว่าในอดีต ทำให้มีการนำระบบการส่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าด้วยสายเคเบิลใต้ดินมาใช้งานกันอย่างแพร่หลายแทนที่การส่งพลังงานไฟฟ้าด้วยสายส่งเหนือหัว อย่างไรก็ตามการส่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าด้วยสายเคเบิลใต้ดินยังมีปัญหาในการใช้งานอยู่หลายประการเช่น การลงทุนที่สูงกว่าการส่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าเหนือหัวอยู่หลายเท่า การใช้เวลาแก้ไขเป็นระยะเวลานานเมื่อเกิดความล้มเหลวของระบบส่งจ่าย ความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหาที่จำกัด ความสามารถในการรับภาระเพิ่มเติมเป็นต้น โครงการวิจัยนี้ออกแบบมาเพื่อศึกษาปัญหาของสายเคเบิลใต้ดินระบบ 22 kV XLPE โดยอาศัยเทคนิค การวิเคราะห์กระแสโพลาไรซ์และกระแสดีโพลาไรซ์ซึ่งเป็นเทคนิคการวิเคราะห์ฉนวนสมัยใหม่

นวัตกรรมอื่น ๆ

การพัฒนาวิธีการวิเคราะห์ปริมาณกรดแทนนิกเชิงสีในตัวอย่างเครื่องดื่มด้วยอนุภาคแพลทินัมนาโนที่ปรับปรุงด้วยกรดแกลลิกโดยอาศัยปรากฎการณ์การแทนที่ของสารรักษาเสถียรภาพ

คณะวิทยาศาสตร์

การพัฒนาวิธีการวิเคราะห์ปริมาณกรดแทนนิกเชิงสีในตัวอย่างเครื่องดื่มด้วยอนุภาคแพลทินัมนาโนที่ปรับปรุงด้วยกรดแกลลิกโดยอาศัยปรากฎการณ์การแทนที่ของสารรักษาเสถียรภาพ

งานวิจัยนี้ได้นำเสนอการวิเคราะห์เชิงสี (Colorimetric detection) สำหรับตรวจวัดกรดแทนนิก (tannic acid) ในตัวอย่างเครื่องดื่มจากพืช โดยอาศัยปรากฏการณ์การแทนที่ (displacement phenomenon) ของสารรักษาเสถียรภาพบนพื้นผิวของอนุภาคแพลทินัมนาโน (PtNPs) ที่ถูกรักษาเสถียรภาพด้วยกรดแกลลิก (gallic acid) ซึ่งกรดแกลลิกสามารถรักษาเสถียรภาพของ PtNPs ให้อยู่ในรูปของอนุภาคที่รวมตัวกันและให้สารคอลลอยด์ที่เป็นสีเขียว โดยกรดแทนนิกสามารถแทนที่กรดแกลลิกบนพื้นผิวของ PtNPs ได้ง่าย ส่งผลให้อนุภาคที่รวมตัวกันเกิดการกระจายตัวและเปลี่ยนสีจากเขียวเป็นส้ม−น้ำตาล และภายใต้สภาวะที่เหมาะสม ตัวตรวจวัดเชิงสีแสดงค่าการตอบสนองเชิงเส้นในช่วงความเข้มข้น 1−2,000 µmol L⁻¹ (R² = 0.9991) โดยมีขีดจำกัดในการตรวจวัด (LOD) และขีดจำกัดเชิงปริมาณ (LOQ) ที่ 0.02 และ 0.09 µmol L⁻¹ ตามลำดับ ตัวตรวจวัดเชิงสีที่พัฒนาขึ้นมีความจำเพาะสูงต่อกรดแทนนิกและไม่ถูกรบกวนจากสารอื่น อีกทั้งยังมีค่าความแม่นยำที่ดี (RSD = 1.00%−3.36%) ที่สำคัญคือ ให้ค่าการคืนกลับ (recovery) อยู่ในช่วง 95.0−104.7% แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของเซนเซอร์คัลเลอริเมตริกที่สามารถตรวจวัดกรดแทนนิกได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำในตัวอย่างเครื่องดื่มจริง แม้ว่าวิธีการตรวจวัดกรดแทนนิกที่ถูกพัฒนาขึ้นจะเป็นเทคนิคที่รวดเร็วในการตรวจวัดกรดแทนนิก แต่ยังคงมีปัญหาเกี่ยวกับความไว (sensitivity) และความแม่นยำ (accuracy) ของการวิเคราะห์ โดยเฉพาะเมื่อมีสารแอนโทไซยานิน (anthocyanin) รบกวน ดังนั้น จึงพัฒนาวิธีเตรียมตัวอย่างเพื่อย่อยสลายแอนโทไซยานินในเครื่องดื่มเพื่อลดการรบกวนของสารที่มีสีต่อการตรวจวัดเชิงสีสำหรับวิเคราะห์ปริมาณกรดแทนนิกในเครื่องดื่ม

นวัตกรรมเรืออัจฉริยะไฟฟ้ากําจัดผักตบชวาอย่างยั่งยืน

วิทยาลัยการจัดการนวัตกรรมและอุตสาหกรรม

นวัตกรรมเรืออัจฉริยะไฟฟ้ากําจัดผักตบชวาอย่างยั่งยืน

เรืออัจฉริยะไฟฟ้ากำจัดผักตบชวา เป็นเรือขนาดเล็กที่มีความคล่องตัว สามารถเข้าทำงานได้ในทุกพื้นที่ แม้กระทั่งพื้นที่เล็กๆที่มีปริมาณผักตบชวาหนาแน่น ด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงที่ผู้วิจัยและคิดค้นและออกแบบเอง มีขนาดความยาว 4.80 เมตร ความกว้าง 1.20 เมตร โครงสร้างของตัวลำเรือทำจากวัสดุอลูมิเนียม ใช้ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ดีเซลล์ขนาด 14 แรงม้า ใบมีดตัดสับคู่ด้านหน้า เสริมแรงการขับเคลื่อนควบคู่กับการปั่นสับวัชพืช ความสามารถในการกำจัดผักตบชวาโดยวิธีการปั่นย่อย 3-5 ต่อวัน โดยใช้พนักงานควบคุมบนเรือเพียงคนเดียว อัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงคิดเป็น ไร่ละ 80-100 บาท ดังนั้นการควบคุมและกำจัดผักตบชวาโดยเรืออัจฉริยะจึงทำงานได้ดีกว่าการใช้เครื่องจักรกลทั่วๆ ไป อีกทั้งสามารถทำงานได้รวดเร็วและค่าใช้จ่ายน้อย ซึ่งแนวคิดเรืออัจฉริยะไฟฟ้ากำจัดผักตบชวา ที่จะสร้างต้นแบบเรืออัจฉริยะไฟฟ้ากำจัดผักตบชวาต่อยอดจากระบบเดิม

ระบบเมตาเวิร์ส อาคารนวัตกรรมเฉลิมพระเกียรติ ณ บริเวณลานพระจอมเกล้า สถาบันพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ

ระบบเมตาเวิร์ส อาคารนวัตกรรมเฉลิมพระเกียรติ ณ บริเวณลานพระจอมเกล้า สถาบันพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ในปัจจุบันการประชาสัมพันธ์และการเรียนรู้ในรูปแบบดั้งเดิมมักขาดความน่าสนใจ และไม่สามารถสร้างประสบการณ์ที่ลึกซึ้งให้แก่ผู้ใช้งานได้ นอกจากนี้ยังไม่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างทั่วถึง โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่ไม่สามารถเดินทางมายังสถานที่จริงได้ โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาการเข้าถึงและการรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับหอเทิดพระเกียรติและหอประวัติของสถาบันพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง การใช้เทคโนโลยีเมตาเวิร์สในการจำลองสถานที่สำคัญช่วยให้ผู้ใช้สามารถ สำรวจสถานที่และรับชมข้อมูลที่สำคัญในรูปแบบเสมือนจริงเพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมของนักศึกษา บุคลากร ศิษย์เก่า และบุคคลทั่วไป ในการพัฒนาระบบเมตาเวิร์ส ได้พัฒนาผ่านระบบ Unity ซึ่งเป็นเกมเอนจินที่มีความสามารถในการพัฒนาระบบเมตาเวิร์ส เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมเสมือนจริงที่สามารถโต้ตอบได้ Unity ยังรองรับ การจัดการฟิสิกส์ แสง และเสียง เพื่อเพิ่มความสมจริง อีกทั้งให้ผู้ใช้งานได้เข้าถึงโครงงานได้อย่างสะดวก นอกจากนี้ยังมีการเชื่อมต่อกับเว็บเบราวเซอร์ โดยใช้เทคโนโลยี WebGL ซึ่งช่วยให้โครงานที่สร้างขึ้นใน Unity สามารถแสดงผลได้โดยตรงผ่านเว็บเบราวเซอร์ ผู้ใช้งานสามารถเข้าชมได้จากทุกที่ และโต้ตอบกับสถานที่ในเมตาเวิร์สได้ทันที โดยไม่ต้องติดตั้งซอฟต์แวร์เพิ่มเติม ผู้พัฒนาจึงพัฒนาระบบระบบเมตาเวิร์สเพื่อสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่สมจริงและดึงดูดความสนใจ ช่วยเพิ่มโอกาสในการประชาสัมพันธ์และสร้างความผูกพันกับสถาบันอย่างมีประสิทธิภาพ