โครงงานออกแบบของเล่นจากเศษไม้เหลือทิ้งจาก บริษัท พาเลท เมกเกอร์ กรุ๊ป จำกัด
บริษัท พาเลท เมกเกอร์ กรุ๊ป จำกัด เป็นผู้ผลิตพาเลทไม้ ซึ่งมีกระบวนการผลิตที่ทำให้เกิดเศษไม้เหลือทิ้งจำนวนมาก เศษไม้เหล่านี้มักถูกกำจัดทิ้งหรือนำไปขายในราคาต่ำ ซึ่งนอกจากจะเป็นการสูญเสียทรัพยากรแล้วยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การเพิ่มปริมาณขยะและปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า โครงการนี้จึงมีแนวคิดในการนำเศษไม้เหล่านี้มาออกแบบและผลิตเป็นของเล่นเชิงการศึกษาที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการของเด็ก โดยมุ่งเน้นให้เป็นของเล่นที่ปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ โครงการนี้ยังสอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ที่มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและลดขยะ ด้วยการนำวัสดุเหลือใช้กลับมาใช้ใหม่ (Upcycling) อีกทั้งยังแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการออกแบบอย่างรับผิดชอบ ที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มจากวัสดุที่ถูกมองข้ามได้อย่างสร้างสรรค์
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
การรักษาผู้ป่วยมะเร็งในแผนกเคมีบำบัดของโรงพยาบาลมะเร็งชลบุรีมีขั้นตอนที่ยุ่งยากและไม่สะดวก เนื่องจากกระบวนการส่งผลตรวจเลือดผ่านแอปพลิเคชันไลน์ส่วนตัวของเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ ทำให้การดำเนินงานขาดความคล่องตัว ด้วยเหตุนี้ ผู้วิจัยจึงพัฒนาโปรแกรมบริหารจัดการและติดตามผู้ป่วยมะเร็งในรูปแบบเว็บแอปพลิเคชัน (web-based application) และแอปพลิเคชันไลน์ LINE LIFF (LINE Front-end Framework) เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับทั้งบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วย ระบบเว็บแอปพลิเคชันออกแบบมาเพื่อใช้โดยบุคลากรทางการแพทย์ในการติดตาม นัดหมาย และเก็บข้อมูลผู้ป่วย ส่วนแอปพลิเคชันไลน์ ออกแบบสำหรับผู้ป่วยในการส่งผลตรวจเลือด ดูตารางนัดหมาย บันทึกอาการหลังรับยาเคมีบำบัด บันทึกค่าน้ำหนักของผู้ป่วยทุกสัปดาห์ และแชทบอทสำหรับให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วย ระบบนี้พัฒนาบนพื้นฐานของเทคโนโลยีไคลเอนต์-เซิร์ฟเวอร์ ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการวิเคราะห์ข้อมูลและสนับสนุนการวางแผนการรักษาอย่างอัตโนมัติ ส่งผลให้กระบวนการรักษาผู้ป่วยมะเร็งมีความรวดเร็ว ทันสมัย และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
คณะบริหารธุรกิจ
อุปกรณ์ตรวจวัดคุณภาพอากาศพร้อมการควบคุมอุปกรณ์ภายนอก เป็นอุปกรณ์ตรวจวัดพร้อมบันทึกสภาวะของอากาศ พร้อมความสามารถในการควบคุมอุปกรณ์ภายนอก (เช่น พัดลม หรือ เครื่องฟอกอากาศ) ให้ทำงานตามสภาวะของอากาศและเงื่อนไขที่ผู้ใช้งานกำหนดไว้ได้
วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์
งานวิจัยนี้เป็นการออกแบบและสร้างเครื่องต้นแบบระบบปัญญาประดิษฐ์ของสรรพสิ่งสำหรับติดตามและควบคุมการให้น้ำพืชโดยใช้ข้อมูลสภาพอากาศ โดยระบบประกอบไป 4 ส่วนสำคัญ คือ ส่วนที่ 1 สถานีตรวจวัดสภาพอากาศ (Weather Station) ประกอบไปด้วยเซ็นเซอร์ต่าง ๆ เช่น อุณหภูมิอากาศ ความชื้นสัมพัทธ์ ความเร็วลม และความยาวนานของแสง เป็นต้น ส่วนที่ 2 หน่วยประมวลผล (Controller Unit) โดยจะมีการติดตั้งอัลกอริทึมหรือแบบจำลองการเรียนรู้ของเครื่องเพื่อใช้ประเมินค่าการคายระเหยน้ำของพืชอ้างอิง (ETo) และจะใช้คำนวณร่วมกับค่าสัมประสิทธิ์การใช้น้ำของพืชนั้น ๆ (Crop Coefficient: Kc) และข้อมูล อื่น ๆ เกี่ยวกับพืชนั้น ๆ เพื่อประเมินปริมาณการใช้น้ำตามความต้องการของพืชโดยอัตโนมัติ ส่วนที่ 3 ส่วนติดต่อผู้ใช้งานและหน้าจอแสดงผล (User Interface (UI) and Display) เป็นส่วนที่ให้เกษตรกรหรือผู้ใช้งานสามารถป้อนข้อมูลเกี่ยวกับชนิดของพืช ชนิดของดินที่ปลูก ประเภท ของระบบการให้น้ำ จำนวนหัวจ่ายน้ำ ระยะปลูก และช่วงการเจริญเติบโตของพืช เป็นต้น และส่วนที่ 4 หน่วยควบคุมและหัวจ่ายน้ำ (Irrigation Unit)