เป็นการศึกษาภูมิปัญญา ชีววิทยา และ สารสำคัญ เพื่อนำพืชเสม็ดขาว (Melaleuca cajuputu Powell) เพื่อการอนุรักษ์ และนำมาใช้ประโยช์ด้านเการเกษตร สุขภาพ และพลังงานชีวมวล
เสม็ดขาว (Melaleuca cajuputu Powell) พบมากในป่าพรุ ภายในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพร ยอดอ่อนมีรสเปรี้ยวอมฝาด สามารถนำมารับประทานเป็นผักพื้นบ้าน โดยการนำมาลวก หรือกินกับผักกับน้ำพริก ใบใช้ต้มน้ำดื่มแทนน้ำชา ใช้รักษาโรคปวดเมื่อย ดีซาน โรคหอบ ถายพยาธิ แกไอและช่วยให้เขาอูเร็ว ใช้เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ เช่น แพะ และควาย เปลือกใช้ ทำไต้ จุดไฟ ทำหลังคา ย้อมแหและผสมชันยางอุดรูรั่วของเรือ เนื้อไม้ใช้ทำเครื่องมือของใช้ กิ่งใช้ทำฝืนและเผาถ่าน จากการศึกษาภูมิปัญญาพื้นบ้านพบว่ามีการนำน้ำมันหอมระเหยใช้ทำยาทาถูนวดแก้ปวดเมื่อย รักษาโรคไขข้ออักเสบ แก้ปวดหัว ปวดหู ปวดฟัน ยารักษาโรค ผิวหนัง ใช้ฆ่าเชื้อโรค ฆ่าแมลง ใช้ภายในเป็นยากระตุ้น ขับลม แก้อาการเกร็งของกล้ามเนื้อในกระเพาะลำไส้ แก้จุกเสียด แก้ท้องอืด ขับเสมหะ แก้หลอดลมอักเสบ และขับพยาธิได้ เนื่องจากส่วนของใบมีสารออกฤทธิ์คือ cineole โดยราคาน้ำมันเสม็ดที่รับซื้อขึ้นกับปริมาณสารสำคัญได้แก่ สาร cineole เนื่องจากปริมาณเสม็ดขาวลดลงมากในปัจจุบัน เนื่องจากการใช้พื้นที่ด้านต่างๆ โดยเฉพาะการเกษตร ได้แก่การปลูกปาล์มน้ำมัน ดังนั้นเพื่อให้เกิดอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากพันธุกรรมเสม็ดขาวอย่างยั่งยืนจึงควรศึกษาวิจัยภูมิปัญญาท้องถิ่น การขยายพันธุ์ การเก็บเกี่ยวใบและวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม วิธีการสกัดน้ำมันหอมระเหยจากเสม็ดขาวให้ได้ปริมาณสารสำคัญมาก การแยกสารสำคัญเพื่อการใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ และการนำเสม็ดขาวไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ทั้งเพื่อการเกษตร สมุนไพร และพลังงานชีวมวล
คณะอุตสาหกรรมอาหาร
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ไส้อั่วจากพืชโดยใช้ขนุนอ่อนเป็นวัตถุดิบหลัก เพื่อเป็นทางเลือกแทนเนื้อสัตว์ โดยศึกษาการพัฒนาสูตร การเปลี่ยนแปลงทางเคมีกายภาพระหว่างการเก็บรักษาของผลิตภัณฑ์ ขนุนอ่อนมีคุณสมบัติเด่นด้านเส้นใยที่คล้ายเนื้อสัตว์และสามารถดูดซับกลิ่นและรสชาติของเครื่องเทศได้ดี ผลการศึกษาพบว่า ขนุนอ่อนที่ผ่านการต้มที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30 นาที มีเส้นใยใกล้เคียงกับเนื้อไก่ปรุงสุกมากที่สุด นอกจากนี้ การศึกษาการเปลี่ยนแปลงระหว่างการเก็บรักษา ในอุณหภูมิที่แตกต่างกัน พบว่า สีและค่า Water Activity (Aw) มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย ในขณะที่ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ลดลง และค่า Thiobarbituric Acid Reactive Substances (T-BARS) เพิ่มขึ้น ด้านเนื้อสัมผัส พบว่าค่าความเหนียวเพิ่มขึ้นและค่าความยืดหยุ่นลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับสูตรควบคุม ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าขนุนอ่อนเป็นวัตถุดิบที่เหมาะสมสำหรับการผลิตไส้อั่วจากพืช และสามารถใช้เป็นทางเลือกทดแทนผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูปได้
คณะวิศวกรรมศาสตร์
บทคัดย่อ โครงงานวิจัยนี้มุ่งเน้นการออกแบบและพัฒนา Manual Control Robot โดยใช้ Load Cell เพื่อเพิ่มความแม่นยำและลดระยะเวลาในการควบคุมหุ่นยนต์ การใช้หุ่นยนต์อัตโนมัติในอุตสาหกรรมยังคงมีข้อจำกัดด้านความซับซ้อนของการตั้งโปรแกรมและการควบคุม ดังนั้น การพัฒนาระบบ Manual Control ที่สามารถตอบสนองต่อแรงกดและแรงดึงในทุกทิศทางจึงเป็นแนวทางที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของหุ่นยนต์ให้เหมาะสมกับงานที่ต้องการการควบคุมที่ละเอียดอ่อนและซับซ้อน งานวิจัยนี้ใช้ Load Cell ร่วมกับวงจรขยายสัญญาณ HX711 และ Arduino UNO R3 เพื่อพัฒนาโมดูลควบคุมที่สามารถรับค่าแรงจากผู้ใช้และแปลงเป็นคำสั่งสำหรับหุ่นยนต์ RV-7FRL-D ซึ่งเป็นหุ่นยนต์แขนกลในอุตสาหกรรม นอกจากนี้ยังมีการใช้ MATLAB ในการประมวลผลข้อมูลจาก Load Cell เพื่อวิเคราะห์และกำหนดการเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์ให้แม่นยำยิ่งขึ้น ผลการศึกษาพบว่าระบบที่พัฒนาขึ้นสามารถช่วยลดเวลาการตั้งค่าหุ่นยนต์ และทำให้กระบวนการควบคุมมีความง่ายดายและยืดหยุ่นมากขึ้น โครงการนี้จึงเป็นก้าวสำคัญในการเพิ่มศักยภาพของหุ่นยนต์อุตสาหกรรมให้สามารถทำงานร่วมกับมนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยอาศัยการควบคุมแบบแมนนวลผ่าน Load Cell ที่ตอบสนองต่อแรงของผู้ใช้งานได้โดยตรง
วิทยาลัยวิศวกรรมสังคีต
นักดนตรีบางคนที่พิการทางการได้ยิน บางคนจบอาชีพการงาน แต่บางคนยังคงทำงานต่อไปโดยที่หูหนวกนั้นยากกว่านักดนตรีปกติมาก บางคนใช้เครื่องช่วยฟังในชีวิตประจำวันและใช้เครื่องช่วยฟังแบบอินเอียร์ในการแสดง สดซึ่งดูเหมือนปกติ แต่ในอินเอียร์ของพวกเขา ได้ยินเพียงเครื่องเมตรอนอมและกลองเท่านั้น เราจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของอินเอียร์มอนิเตอร์ให้ดีขึ้นจนใกล้เคียงปกติได้อย่างไร