KMITL Innovation Expo 2025 Logo

ปัจจัยรูปร่างภายนอกที่มีผลต่อการเลือกซื้อแปรงสีฟันของผู้บริโภคกลุ่มเบบี้บูมเมอร์

รายละเอียด

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อระบุปัจจัยรูปร่างภายนอกของแปรงสีฟันที่มีผลต่อการเลือกซื้อแปรงสีฟันของผู้บริโภคกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนแรก ทำการจำแนกปัจจัยรูปร่างภายนอกของแปรงสีฟันจากวรรณกรรม งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และรูปแบบแปรงสีฟันที่จำหน่ายในท้องตลาดปัจจุบัน เพื่อสรุปเป็นปัจจัยรูปร่างภายนอกของแปรงสีฟัน ขั้นตอนที่สอง นำผลสรุปปัจจัยรูปร่างภายนอกของแปรงสีฟันไปสร้างแบบสอบถามด้านการตัดสินใจซื้อ ด้านความงาม และด้านการใช้งานแปรงสีฟัน โดยเก็บข้อมูลกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ จำนวน 30 คน ที่มีต่อรูปร่างภายนอกแปรงสีฟัน ขั้นตอนสุดท้าย วิเคราะห์และสรุปข้อมูลปัจจัยด้านรูปร่างภายนอกที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อแปรงสีฟันของเบบี้บูมเมอร์ในสามด้าน รายงานผลในรูปแบบร้อยละ และจัดลำดับ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านรูปร่างภายนอกที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อแปรงสีฟันมากที่สุดคือแปรงสีฟันที่มี “ด้ามจับแบบโค้ง” คิดเป็นร้อยละ 80 รองลงมาเป็น “ขนแปรงแบบหลายระดับ” คิดเป็นร้อยละ 70 “ตำแหน่งนิ้วหัวแม่มือแบบผสมวัสดุยาง” คิดเป็นร้อยละ 53.3 “การแบ่งชิ้นส่วนของด้ามแปรงสีฟันแบบมากกว่าสองชิ้น” คิดเป็นร้อยละ 50 และ “ภาพรวมแบบตรงยกระดับ” คิดเป็นร้อยละ 40 ตามลำดับ ในส่วนของเหตุผลการตัดสินใจเลือกชื้อแปรงสีฟันที่มีด้ามจับแบบโค้งนั้นเพราะความสวยงามมากกว่าการใช้งาน เลือกชื้อแปรงสีฟันที่มีขนแปรงแบบหลายระดับเพราะการใช้งานมากกว่าความสวยงาม เลือกชื้อแปรงสีฟันที่มีตำแหน่งนิ้วหัวแม่มือแบบผสมวัสดุยางเพราะการใช้งานมากกว่าความสวยงาม เลือกชื้อแปรงสีฟันที่มีการแบ่งชิ้นส่วนของด้ามแปรงสีฟันแบบมากกว่าสองชิ้นเพราะการใช้งานมากกว่าความสวยงาม เลือกชื้อแปรงสีฟันที่มีภาพรวมแบบตรงยกระดับเพราะความสวยงามมากกว่าการใช้งาน

วัตถุประสงค์

เทรนด์ผู้สูงอายุเป็นเทรนด์ที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก แต่แบรนด์ส่วนใหญ่ยังไม่ปรับตัวเพื่อให้เหมาะกับเทรนด์ผู้สูงอายุอย่างชัดเจน ข้อมูลการออกแบบจากโครงการนี้จึงเป็นประโยชน์ต่อนักออกแบบและธุรกิจที่กำลังสนใจกลุ่มผู้สูงอายุซึ่งกำลังมีสัดส่วนที่มากขึ้นเรื่อยๆในประเทศไทย ผู้วิจัยจึงสนใจทำการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ปัจจัยรูปร่างภายนอกที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อแปรงสีฟันของประชากรกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ เพื่อเป็นฐานข้อมูลที่อาจเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบหรือนักออกแบบต่อไป

นวัตกรรมอื่น ๆ

Enhancing Sustainable Fish Gelatin Properties through Furcellaran Incoporation: Innovations in Eco-friendly Gelling Techniques

คณะอุตสาหกรรมอาหาร

Enhancing Sustainable Fish Gelatin Properties through Furcellaran Incoporation: Innovations in Eco-friendly Gelling Techniques

-

Rice Flour/Starch Modification for Health and Sustainable Food Industry: Ultilization of Starch-Polyphenols Complex Mechanism

คณะอุตสาหกรรมอาหาร

Rice Flour/Starch Modification for Health and Sustainable Food Industry: Ultilization of Starch-Polyphenols Complex Mechanism

Most rice is consumed as cooked, milled rice, but a small portion is also ground into flour or separated into a starch fraction and used by the food industry as a gluten-free ingredient. This study aims to find out if different types of rice flour and starch, such as white and colored rice, could be used in industry. This study employs green modification techniques to slow down the digestion process by combining polyphenols with starch. Our initial study found that the raw colored rice has a lower glycemic index than other types of rice, such as brown or white rice. Another study that looked at how the quality of colored rice flour was changed by different methods also discovered that out of the six green methods (annealing, heat moisture treatment, ultrasound, pregelatinization, wet-microwave, and dry-microwave). It found that ultrasound improved the polyphenol bioaccessibility in the rice flour and reduced the digestion rate. The pregelatinization process led to the flour having high solubility and an estimated glycemic index. Different techniques affected the flour/starch quality in different ways. Therefore, for further industrial application, it could also be easier to select the method for food product based on their required techno-functional quality of flour/starch. In addition to the modification techniques, this study showed that the high bioaccessible polyphenol content and high polyphenol content in rice greatly slowed down the rate of digestion. This study also open for further exploring the possibility of using high polyphenol agricultural waste to modify starch and flour in a sustainable manner.

การห่อหุ้มร่วมระหว่างวิตามินซีและโคเอนไซม์คิวเท็นที่ส่งผลต่อเสถียรภาพและประสิทธิภาพการกักเก็บ : ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และสภาวะจำลองระบบทางเดินอาหาร

คณะอุตสาหกรรมอาหาร

การห่อหุ้มร่วมระหว่างวิตามินซีและโคเอนไซม์คิวเท็นที่ส่งผลต่อเสถียรภาพและประสิทธิภาพการกักเก็บ : ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และสภาวะจำลองระบบทางเดินอาหาร

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเทคนิคการห่อหุ้มร่วม (Co-encapsulation) ของวิตามินซีและโคเอนไซม์คิวเท็นภายในลิโปโซม เพื่อเพิ่มเสถียรภาพและประสิทธิภาพการกักเก็บของสารสำคัญ รวมถึงศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและการปลดปล่อยในสภาวะจำลองระบบทางเดินอาหาร โดยทำการเตรียมลิโปโซมด้วยวิธี High-Speed Homogenization Method และวิเคราะห์คุณสมบัติต่าง ๆ เช่น ขนาดอนุภาค ศักย์ไฟฟ้า การกักเก็บสารสำคัญ และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระผ่าน DPPH, ABTS และ FRAP assay ผลการศึกษาพบว่าการห่อหุ้มร่วมสามารถเพิ่มความเสถียรของวิตามินซีและโคเอนไซม์คิวเท็นได้อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับการห่อหุ้มเดี่ยว โดยมีค่าประสิทธิภาพการกักเก็บสูง และสามารถรักษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้ดี นอกจากนี้ ลิโปโซมที่เตรียมขึ้นยังแสดงประสิทธิภาพการปลดปล่อยที่เหมาะสมในสภาวะจำลองระบบทางเดินอาหาร แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของเทคนิค Co-encapsulation ในการเพิ่มประสิทธิภาพของสารอาหารเชิงหน้าที่ ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพได้