KMITL Innovation Expo 2025 Logo

กระแสแห่งชน

รายละเอียด

แบบจำลองเชิงแนวคิด (conceptual model) ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากแนวคิด Form follows function และความเรียบง่ายของสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ (Modern Architecture) โดยออกแบบเป็นผลงานสามมิติที่ลดทอนมาจากรูปทรงของเก้าอี้เพื่อสื่อถึงการใช้งาน เน้นความเรียบง่ายด้วยเส้น ระนาบ และรูปทรงเรขาคณิต แสดงถึงความงามที่เกิดจากการทำงานร่วมกันระหว่างประโยชน์ใช้สอยและรูปทรงที่เรียบง่ายดังเช่นแนวคิดของสถาปัตยกรรมสมัยใหม่

วัตถุประสงค์

เพื่อศึกษาเอกลักษณ์และความงามของศิลปะยุคModern และนำมาประยุกต์ใช้ในงานออกแบบ

นวัตกรรมอื่น ๆ

การตรวจโปรตีนในน้ำลายเพื่อการวินิจฉัยโรคไมเกรน

คณะแพทยศาสตร์

การตรวจโปรตีนในน้ำลายเพื่อการวินิจฉัยโรคไมเกรน

โรคปวดศรีษะไมเกรน เป็นโรคที่พบได้บ่อย และ ส่งผลต่อการทำงาน การดำเนินชีวิตประจำวันของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก โรคปวดศรีษะไมเกรนแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะอาการเตือน (Prodrome หรือ premonitory) ระยะออร่า (Aura) ระยะปวดศีรษะ (Headache) และระยะฟื้นตัว (Postdrome) โดยระยะอาการเตือน (premonitory stage) สามารถเกิดขึ้นก่อนการปวดศีรษะได้นานถึง 72 ชั่วโมง และถือเป็นช่วงเวลาสำคัญอย่างมาก เนื่องจากมีการศึกษาพบว่าการใช้ยาในระยะนี้สามารถช่วยป้องกันการปวดศรีษะได้ อย่างไรก็ตาม อาการในระยะนี้มักไม่จำเพาะเจาะจง ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถรู้ได้แน่ชัดว่ากำลังอยู่ในระยะอาการเตือนของไมเกรนหรือไม่ โปรตีน Calcitonin gene-related peptide (cGRP) เป็นโมเลกุลสำคัญที่มีบทบาทในการเกิดไมเกรน โดยมีงานวิจัยพบว่าระดับ cGRP ในน้ำลายเพิ่มขึ้นในช่วงระยะอาการเตือน (premonitory stage) การศึกษานี้มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาและประเมินชุดทดสอบแบบ Lateral Flow Immunoassay สำหรับตรวจหาระดับ cGRP ในน้ำลายของผู้ป่วยไมเกรนในระยะอาการเตือน ซึ่งอาจเป็นเครื่องมือช่วยยืนยัน เพื่อให้ผู้ป่วยมั่นใจ และ ใช้ยาก่อนที่จะมีอาการปวดหัว

การทดสอบและการวิเคราะห์ระบบสายเคเบิลใต้ดิน

คณะวิศวกรรมศาสตร์

การทดสอบและการวิเคราะห์ระบบสายเคเบิลใต้ดิน

เนื่องจากระบบเมืองสมัยใหม่ มีความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าที่มีเสถียรภาพสูงมากกว่าในอดีต ทำให้มีการนำระบบการส่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าด้วยสายเคเบิลใต้ดินมาใช้งานกันอย่างแพร่หลายแทนที่การส่งพลังงานไฟฟ้าด้วยสายส่งเหนือหัว อย่างไรก็ตามการส่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าด้วยสายเคเบิลใต้ดินยังมีปัญหาในการใช้งานอยู่หลายประการเช่น การลงทุนที่สูงกว่าการส่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าเหนือหัวอยู่หลายเท่า การใช้เวลาแก้ไขเป็นระยะเวลานานเมื่อเกิดความล้มเหลวของระบบส่งจ่าย ความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหาที่จำกัด ความสามารถในการรับภาระเพิ่มเติมเป็นต้น โครงการวิจัยนี้ออกแบบมาเพื่อศึกษาปัญหาของสายเคเบิลใต้ดินระบบ 22 kV XLPE โดยอาศัยเทคนิค การวิเคราะห์กระแสโพลาไรซ์และกระแสดีโพลาไรซ์ซึ่งเป็นเทคนิคการวิเคราะห์ฉนวนสมัยใหม่

การวิเคราะห์เซลล์เม็ดเลือดด้วย AI

คณะวิศวกรรมศาสตร์

การวิเคราะห์เซลล์เม็ดเลือดด้วย AI

โครงการนี้จัดทำขึ้นเพื่อตอบสนองต่อปัญหาในทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการนับและแยกเซลล์เม็ดเลือดจากตัวอย่าง ซึ่งเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลาและความแม่นยำสูง เพื่อช่วยลดภาระของบุคลากรทางการแพทย์ ทางผู้จัดทำจึงได้พัฒนา แพลตฟอร์มและระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่สามารถจำแนกประเภทและนับจำนวนเซลล์จากภาพตัวอย่างได้โดยอัตโนมัติ ระบบนี้ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยผ่อนแรงนักเทคนิคการแพทย์ให้สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำยิ่งขึ้น ลดระยะเวลาในการตรวจวิเคราะห์ อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีในวงการแพทย์ เพื่อให้สามารถรองรับการใช้งานในระดับห้องเรียน ห้องปฏิบัติการจนถึงโรงพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ