การศึกษาประสิทธิภาพปูนในการเพิ่มค่าอัลคาไลน์ในน้ำสำหรับการเพาะเลี้ยงกุ้งขาว Efficacy Study of lime in Enhancing Water Alkalinity for Pacific White Shrimp (Litopenaeus vannamei) Aquaculture การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการเพิ่มค่าอัลคาไลน์ของปูนที่มีองค์ประกอบ calcium oxide มากกว่า 50% และ magnesium oxide ไม่ต่ำกว่า 29% ในน้ำสำหรับการเพาะเลี้ยงกุ้งขาว ทดลองที่ระดับความเข้มข้น 0, 5, 10, 15 และ 20 ppm เป็นระยะเวลา 48 ชั่วโมง โดยเก็บข้อมูลที่ชั่วโมงที่ 0, 3, 6, 12, 24, 36 และ 48 ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าปูนมีประสิทธิภาพการแตกตัวสูง (65-86%) ในชั่วโมงแรก และเข้าสู่การแตกตัวสมบูรณ์ (98.5-98.6%) ภายใน 6 ชั่วโมง ค่า pH มีการเพิ่มขึ้นตามความเข้มข้นของปูนในช่วงแรก และค่อยๆ ลดลงในช่วง 3-12 ชั่วโมง ก่อนเข้าสู่สภาวะคงที่ ส่วนค่า Total alkalinity พบการเพิ่มขึ้นชัดเจนในช่วง 3-6 ชั่วโมงแรกและคงที่จนสิ้นสุดการทดลอง การวิเคราะห์ทางสถิติพบว่าทั้งความเข้มข้นและระยะเวลามีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของทุกพารามิเตอร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001)
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเลี้ยงกุ้งขาว (Litopenaeus vannamei) เป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ อย่างไรก็ตามอุตสาหกรรมนี้ต้องเผชิญกับความท้าทายหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการจัดการคุณภาพน้ำ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลโดยตรงต่อผลผลิตและความยั่งยืนของการเพาะเลี้ยง การรักษาสมดุลของพารามิเตอร์คุณภาพน้ำ โดยเฉพาะค่าความเป็นด่าง (alkalinity) จึงมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการเจริญเติบโตและเพิ่มอัตราการรอดของกุ้ง ในปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ที่ใช้ในการปรับค่าอัลคาไลน์ในน้ำมีประสิทธิภาพสูงและให้ผลรวดเร็ว แต่มีข้อจำกัดด้านต้นทุนที่สูง ส่งผลให้เกษตรกรรายย่อยเข้าถึงได้ยาก ด้วยเหตุนี้ การวิจัยครั้งนี้จึงมุ่งเน้นการศึกษาประสิทธิภาพของปูน (ประกอบด้วย calcium oxide มากกว่า 50% และ magnesium oxide ไม่ต่ำกว่า 29 %) ในการปรับค่าอัลคาไลน์ในน้ำสำหรับการเลี้ยงกุ้งขาวในประเด็นต่อไปนี้ ศึกษาอัตราการเปลี่ยนแปลงของค่าอัลคาไลน์ในน้ำเมื่อใช้ปูนในปริมาณและความเข้มข้นที่แตกต่างกันและวิเคราะห์ผลของการใช้ปูนต่อค่าอัลคาไลน์ และค่า pH ในน้ำ ผลการศึกษานี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการพัฒนาแนวทางการจัดการคุณภาพน้ำที่มีประสิทธิภาพและประหยัดต้นทุนสำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง อันจะนำไปสู่การเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และส่งเสริมความยั่งยืนของอุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งในระยะยาว นอกจากนี้ ผลการวิจัยยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชนิดอื่นๆ ที่ต้องการการควบคุมค่าอัลคาไลน์ในระบบการเลี้ยง
คณะบริหารธุรกิจ
เครื่องวัดระดับคาร์บอนมอนอกไซด์ในลมหายใจพร้อมการตอบสนองด้วยเสียงเพื่อวัดระดับคาร์บอนมอนอกไซด์ที่ตกค้างในปอดของผู้ที่มีการใช้ยาสูบ ซึ่งเป็นการบอกระดับการติดยาสูบแทนที่จะวัดระดับนิโคติในเลือด
คณะวิศวกรรมศาสตร์
หนึ่งในปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการตอบสนองต่อกรณีทางการแพทย์คือเวลาการตอบสนอง โดยทั่วไปแล้ว ความเสียชีวิตส่วนใหญ่เกิดจากผู้ป่วยไม่สามารถไปถึงมือแพทย์ได้ทันเวลา นอกจากนี้ยังรวมถึงการมาถึงของอุปกรณ์การแพทย์ในที่เกิดเหตุ สมองของมนุษย์จะเริ่มเสื่อมลงหลังจากขาดออกซิเจนเป็นเวลา 3 นาที ซึ่งวิธีการขนส่งทางถนนที่หน่วยปฐมพยาบาลใช้อยู่ในปัจจุบันไม่สามารถไปถึงที่เกิดเหตุได้ภายใน 3 นาที ส่งผลให้มีการเสียชีวิตระหว่างการขนส่งหรือก่อนหน่วยปฐมพยาบาลจะมาถึงที่เกิดเหตุ ดังนั้นจึงได้มีการสำรวจการขนส่งอุปกรณ์การแพทย์ด้วยอากาศยานที่ควบคุมด้วยตนเองโดยอัตโนมัติ ซึ่งสามารถทำได้ผ่านการจัดส่งด้วยโดรนที่รวดเร็วกว่าใช้วิธีการทางถนน เนื่องจากอุปกรณ์สามารถบินตรงไปยังที่เกิดเหตุได้ ในโครงการนี้ เราจะสำรวจระบบการส่งมอบทางอากาศสำหรับอุปกรณ์การแพทย์ เช่น เครื่องกระตุ้นหัวใจอัตโนมัติ (AEDs) อุปกรณ์ปฐมพยาบาล และอุปกรณ์การแพทย์ขนาดเล็กอื่น ๆ ที่ร้องขอ เราจะทำสิ่งนี้ผ่านแพลตฟอร์มโดรนของ DJI และแอปพลิเคชัน SDK ของพวกเขา เป้าหมายหลักของโครงการนี้คือการลดเวลาการตอบสนองโดยการใช้โดรนอัตโนมัติเพื่อส่งมอบอุปกรณ์การแพทย์ เราพบว่าโดรนเป็นแพลตฟอร์มที่สามารถส่งมอบเครื่องกระตุ้นหัวใจไปยังผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพผ่านข้อมูลการบินที่รวบรวมและการทดสอบเบื้องต้น ซึ่งให้แพลตฟอร์มที่ยอดเยี่ยมสำหรับการพัฒนาระบบในอนาคต
คณะบริหารธุรกิจ
หนังสือเล่มนี้มุ่งให้ความรู้พื้นฐานการจัดการธุรกิจเทคโนโลยี โดยมีกรณีศึกษาที่ครอบคลุมธุรกิจเทคโนโลยีในหลากหลายสาขา