KMITL Innovation Expo 2025 Logo

ซอสมะม่วงมหาชนก

รายละเอียด

ซอสมะม่วงมหาชนกพัฒนาจากมะม่วงตกเกรดจากบ้านหนองบัวชุม จ.กาฬสินธุ์ ใช้เทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์การอาหารเพื่อลดของเสียทางการเกษตรและปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ซอสนี้เสริมใยอาหารพรีไบโอติก ช่วยส่งเสริมจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้ มีน้ำตาลต่ำ ดีต่อสุขภาพ ปราศจากการแต่งสีและกลิ่น เหมาะกับอาหารหลากหลายประเภททั้งคาวเเละหวาน

วัตถุประสงค์

ผลิตภัณฑ์ซอสมะม่วงมหาชนกพัฒนามาจากมะม่วงที่ตกเกรดจากบ้านหนองบัวชุม อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นการนำวิทยาศาสตร์การอาหารมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการลดของเสียทางการเกษตรและการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ซอสมะม่วงนี้มีการเสริมด้วยใยอาหารประเภทพรีไบโอติก ซึ่งช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่ดีต่อลำไส้ สูตรซอสยังมีปริมาณน้ำตาลต่ำ อีกทั้งไม่มีการแต่งสีและกลิ่น ซึ่งช่วยรักษาคุณภาพและรสธรรมชาติของมะม่วง ทำให้ผลิตภัณฑ์นี้มีความเข้มข้นของรสชาติมะม่วงมหาชนกอย่างแท้จริงและดีต่อสุขภาพ

นวัตกรรมอื่น ๆ

หน่วยบริการวิชาการเฉพาะทางด้านการทดสอบสมรรถนะยานยนต์เชื้อเพลิงสะอาด

คณะวิทยาศาสตร์

หน่วยบริการวิชาการเฉพาะทางด้านการทดสอบสมรรถนะยานยนต์เชื้อเพลิงสะอาด

หน่วยบริการวิชาการเฉพาะทางด้านการทดสอบสมรรถนะยานยนต์เชื้อเพลิงสะอาด มีการบริการทดสอบสมรรถนะและประสิทธิภาพยานยนต์ไฟฟ้าและยานยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงจากปิโตรเลียม รวมถึงการเป็นต้นแบบของโครงการวิจัยด้านพลังงานเชื้อเพลิงสะอาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีเครื่องมือหลักในการทดสอบ คือ Chassis Dynamometer และ เครื่องวิเคราะห์ไอเสียจากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ ซึ่งทางหน่วยบริการฯ ได้เปิดบริการตรวจวัดและทดสอบตามประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดกำลังมอเตอร์ไฟฟ้าที่ใช้ขับเคลื่อนรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ. 2563 ให้กับยานยนต์ไฟฟ้าทุกรูปแบบ เช่น มอเตอร์ไซด์ไฟฟ้าดัดแปลง รถตุ๊กๆ ไฟฟ้าดัดแปลง และรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง เป็นต้น

การศึกษาประสิทธิภาพของปูนในการเพิ่มค่าอัลคาไลน์ในการเพาะเลี้ยงกุ้งขาว (Litopenaeus vannamei)

คณะเทคโนโลยีการเกษตร

การศึกษาประสิทธิภาพของปูนในการเพิ่มค่าอัลคาไลน์ในการเพาะเลี้ยงกุ้งขาว (Litopenaeus vannamei)

การศึกษาประสิทธิภาพปูนในการเพิ่มค่าอัลคาไลน์ในน้ำสำหรับการเพาะเลี้ยงกุ้งขาว Efficacy Study of lime in Enhancing Water Alkalinity for Pacific White Shrimp (Litopenaeus vannamei) Aquaculture การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการเพิ่มค่าอัลคาไลน์ของปูนที่มีองค์ประกอบ calcium oxide มากกว่า 50% และ magnesium oxide ไม่ต่ำกว่า 29% ในน้ำสำหรับการเพาะเลี้ยงกุ้งขาว ทดลองที่ระดับความเข้มข้น 0, 5, 10, 15 และ 20 ppm เป็นระยะเวลา 48 ชั่วโมง โดยเก็บข้อมูลที่ชั่วโมงที่ 0, 3, 6, 12, 24, 36 และ 48 ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าปูนมีประสิทธิภาพการแตกตัวสูง (65-86%) ในชั่วโมงแรก และเข้าสู่การแตกตัวสมบูรณ์ (98.5-98.6%) ภายใน 6 ชั่วโมง ค่า pH มีการเพิ่มขึ้นตามความเข้มข้นของปูนในช่วงแรก และค่อยๆ ลดลงในช่วง 3-12 ชั่วโมง ก่อนเข้าสู่สภาวะคงที่ ส่วนค่า Total alkalinity พบการเพิ่มขึ้นชัดเจนในช่วง 3-6 ชั่วโมงแรกและคงที่จนสิ้นสุดการทดลอง การวิเคราะห์ทางสถิติพบว่าทั้งความเข้มข้นและระยะเวลามีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของทุกพารามิเตอร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001)

รถไฟฟ้าสามล้อแบรนด์ ERA รุ่น ATOM

คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ

รถไฟฟ้าสามล้อแบรนด์ ERA รุ่น ATOM

-