KMITL Innovation Expo 2025 Logo

โอเวอร์สเตียร์!

รายละเอียด

จากการเข้ามาถึงของนวัตกรรมทางมัลติมีเดียอย่างเกมทำให้การเข้าถึงสื่อไม่เหมือนเดิม สร้างความแปลกใหม่ให้กับการเสพสื่อ โดยโอเวอร์สเตียร์เป็นโครงงานที่ใช้ประโยจน์จากสื่อประเภทเกมเพื่อทำให้ผู้ใช้สามารถสัมผัสประสบการณ์การขับรถคล้ายกับการขับรถบนสนามแข่ง

วัตถุประสงค์

เกิดจากความชอบใน รถยนต์ เครื่องยนต์ และเกม จึงนำความชอบมารวมกัน และได้เป็นโครงงานนี้

นวัตกรรมอื่น ๆ

การตรวจสอบรอยร้าวกำแพง โดยใช้ Image Processing Techniques

คณะวิศวกรรมศาสตร์

การตรวจสอบรอยร้าวกำแพง โดยใช้ Image Processing Techniques

โครงการนี้มีเป้าหมายเพื่อ ตรวจจับและจำแนกประเภทของรอยร้าวบนผนัง โดยใช้ AI และการประมวลผลภาพ ผู้ใช้สามารถ อัปโหลดรูปภาพ และระบบจะ วิเคราะห์ประเภทและความรุนแรงของรอยร้าว โมเดลที่ใช้คือ ResNet-50 ซึ่งมีความแม่นยำ 70.59% การปรับแต่งข้อมูลและการเพิ่มข้อมูลช่วยให้การตรวจจับแม่นยำขึ้น เครื่องมือนี้ช่วย ป้องกันความเสียหายทางโครงสร้าง โดยให้คำแนะนำเบื้องต้นสำหรับการบำรุงรักษา

ต้นแบบระบบเว็บแอปพลิเคชันสำหรับระบุและตรวจนับจำนวนชนิดเครื่องมือทันตกรรมหัตถการด้วยวิธีการเรียนรู้เชิงลึก

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ

ต้นแบบระบบเว็บแอปพลิเคชันสำหรับระบุและตรวจนับจำนวนชนิดเครื่องมือทันตกรรมหัตถการด้วยวิธีการเรียนรู้เชิงลึก

โครงงานนี้จึงได้พัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์สำหรับระบุชนิดเครื่องมือทันตกรรมหัตถการเพื่อตรวจนับจำนวนด้วยวิธีการเรียนรู้เชิงลึก โดยเป็นการตรวจนับความครบถ้วนของอุปกรณ์ที่นำไปใช้ มีใช้วิธีการตรวจจับวัตถุ(Object Detection) ซึ่งการตรวจจับวัตถุช่วยให้สามารถตรวจจับอุปกรณ์ทันตกรรหัตถการทั้งหมดหลังจากการใช้งาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความแม่นยำ อีกทั้งสามารถตรวจนับเครื่องมือต่างๆได้พร้อมกันหลายๆภาพเพื่อช่วยลดเวลาและความล่าช้าในกระบวนการตรวจสอบและนับจำนวนเครื่องมือทั้งหมด รวมถึงข้อมูลจำนวนและชนิดของอุปกรณ์ สามารถส่งออกไปยังฐานข้อมูลเพื่อนำข้อมูลไปใช้งานต่อได้อีกด้วย

การปรับปรุงคุณภาพน้ำผิวดินด้วยวิธีการตกตะกอนโดยสารสกัดเมล็ดมะรุม เมล็ดกระเจี๊ยบแดง และเมล็ดมะขาม

คณะวิทยาศาสตร์

การปรับปรุงคุณภาพน้ำผิวดินด้วยวิธีการตกตะกอนโดยสารสกัดเมล็ดมะรุม เมล็ดกระเจี๊ยบแดง และเมล็ดมะขาม

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากเมล็ดมะรุม เมล็ดกระเจี๊ยบแดง และเมล็ดมะขาม ในการเป็นสารช่วยตกตะกอนในแหล่งน้ำผิวดินเพื่อการปรับปรุงคุณภาพน้ำ สารสกัดจากเมล็ดมะรุม เมล็ดกระเจี๊ยบแดง และเมล็ดมะขาม เป็นสารตกตะกอนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและเป็นทางเลือกในการปรับปรุงคุณภาพของน้ำผิวดิน แหล่งน้ำผิวดินมีความขุ่นอยู่ในช่วง 14-24 NTU นำมาทำการตกตะกอนความขุ่นในน้ำด้วยวิธีการทดลองจาร์เทส (Jar test) โดยการใช้สารสกัดจากเมล็ดมะรุม เมล็ดกระเจี๊ยบแดง และเมล็ดมะขาม เป็นสารตกตะกอน (Coagulant) และ เป็นสารช่วยตกตะกอน (Coagulant aid) โดยวิธีการคือนำเมล็ดมะรุม เมล็ดกระเจี๊ยบแดง และเมล็ดมะขามมาบดให้ละเอียด จากนั้นสกัดด้วยสารละลายโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) 0.5 โมลาร์ และนำสารสกัดที่ได้มาใช้เป็นสารตกตะกอนเพื่อลดความขุ่นและปรับปรุงคุณภาพน้ำ โดยแต่ละความเข้มข้นใช้ปริมาตรน้ำ 300 มิลลิลิตร ผลการศึกษาบ่งชี้ว่าสารสกัดจากเมล็ดมะรุมที่ความเข้มข้น 2,000 มิลลิกรัมต่อลิตร มีประสิทธิภาพมากที่สุด และมีประสิทธิภาพในการลดความขุ่นประมาณ 73.19% โดยมีค่าใช้จ่าย 0.0309 บาทต่อน้ำ 300 มิลลิตร รองลงมาเป็นสารสกัดจากเมล็ดมะขามที่มีความเข้มข้น 4000 มิลลิกรัมต่อลิตร มีประสิทธิภาพในการลดความขุ่นประมาณ 56.75% โดยมีค่าใช้จ่าย 0.0933 บาทต่อน้ำ 300 มิลลิตร และเมล็ดกระเจี๊ยบแดงที่มีความเข้มข้น 6000 มิลลิกรัมต่อลิตร มีประสิทธิภาพในการลดความขุ่นประมาณ 32.67% โดยมีค่าใช้จ่าย 0.0567 บาทต่อน้ำ 300 มิลลิตร