KMITL Innovation Expo 2025 Logo

การศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพของเบอร์เกอร์เเพลนต์เบสจากถั่วลูกไก่ เเละถั่วเเดง

รายละเอียด

ในปัจจุบัน การบริโภคโปรตีนจากพืชได้รับความสนใจเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีประโยชน์ต่อสุขภาพและช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพและเคมีของถั่วลูกไก่และถั่วแดง รวมถึงพัฒนาสูตรเบอร์เกอร์เนื้อเทียมจากพืชที่มีคุณลักษณะใกล้เคียงกับเบอร์เกอร์จากเนื้อสัตว์ ในด้านรสชาติ เนื้อสัมผัส และคุณค่าทางโภชนาการ การทดลองประกอบด้วยการให้ความร้อนโดยการนึ่ง และวิเคราะห์คุณสมบัติทางกายภาพและเคมี ได้แก่ ค่าเนื้อสัมผัส (Texture) ค่าสี (Color) ค่า Water Activity (aW) ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) และค่าการอุ้มน้ำและอุ้มน้ำมัน นอกจากนี้ ยังมีการทดสอบทางประสาทสัมผัสเพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภค ผลการศึกษาคาดว่าจะช่วยพัฒนาสูตรเบอร์เกอร์พืชที่มีคุณภาพสูงและสามารถเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้บริโภคที่ต้องการลดการบริโภคเนื้อสัตว์ได้

วัตถุประสงค์

ในปัจจุบัน แพลนเบส (Plant-based) หรือโปรตีนจากพืชได้รับความสนใจมากขึ้น เนื่องจากมีประโยชน์ต่อสุขภาพและช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เมื่อเทียบกับโปรตีนจากเนื้อสัตว์ ซึ่งมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงและใช้ทรัพยากรมาก เช่น น้ำและที่ดิน อย่างไรก็ตาม การผลิตเนื้อสัตว์บางประเภท เช่น โค อาจมีข้อดีต่อระบบนิเวศบางด้านพืชตระกูลถั่ว เป็นแหล่งโปรตีนจากพืชที่สำคัญ เพราะมีคุณค่าทางโภชนาการสูงและช่วยลดการใช้ปุ๋ยเคมีโดยการตรึงไนโตรเจน นอกจากนี้ การบริโภค เบอร์เกอร์จากพืช ยังช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ เบาหวาน และมะเร็งลำไส้ใหญ่ เนื่องจากมีไขมันอิ่มตัวต่ำและเส้นใยอาหารสูงในด้าน ความยั่งยืน การลดการบริโภคเนื้อสัตว์และหันมาใช้พืชตระกูลถั่วในผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อ เช่น เบอร์เกอร์จาก ถั่วลูกไก่ และถั่วแดง สามารถช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้การวิจัยนี้ มุ่งเน้นศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพและเคมีของถั่วทั้ง 2 ชนิด รวมถึงการพัฒนาสูตร เบอร์เกอร์เนื้อเทียม เพื่อให้มีรสชาติ เนื้อสัมผัส และคุณค่าทางโภชนาการที่ใกล้เคียงกับเนื้อสัตว์ และตอบโจทย์กลุ่มผู้บริโภคที่ต้องการลดการบริโภคเนื้อสัตว์

นวัตกรรมอื่น ๆ

พลังจากใบไม้: นวัตกรรมการเคลือบเมล็ดพันธุ์เรืองแสงจากธรรมชาติ เพื่อป้องกันการปลอมแปลง

คณะเทคโนโลยีการเกษตร

พลังจากใบไม้: นวัตกรรมการเคลือบเมล็ดพันธุ์เรืองแสงจากธรรมชาติ เพื่อป้องกันการปลอมแปลง

การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชนิดของพอลิเมอร์ที่เหมาะสมในการเคลือบร่วมกับสารสกัดคลอโรฟิลล์และคุณภาพของเมล็ดพันธุ์แตงกวาหลังจากการเคลือบ วางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) จำนวน 4 ซ้ำ โดยมี 5 กรรมวิธี ประกอบด้วยเมล็ดพันธุ์ที่เคลือบด้วยพอลิเมอร์ชนิดต่างกัน คือ Polyvinylpyrrolidone, Sodium Alginate, Carboxy Methyl Cellulose, Hydroxypropyl methylcellulose โดยพอลิเมอร์แต่ละชนิดทำการเคลือบร่วมกับ Chlorophyll และมีเมล็ดพันธุ์ที่ไม่เคลือบสารเป็นกรรมวิธีควบคุม ดำเนินการทดลองโดยเตรียมสารเคลือบด้วยการสกัด Chlorophyll จากใบมะม่วง แล้วนำมาเตรียมสารเคลือบโดยนำมาผสมกับพอลิเมอร์แต่ละชนิดที่มีความเข้มข้น 1 เปอร์เซ็นต์ โดยใช้สารสกัด Chlorophyll ที่มีความเข้มข้น 8 เปอร์เซ็นต์ จากนั้นตรวจสอบคุณสมบัติของสารเคลือบแต่ละกรรมวิธี ได้แก่ ความเป็นกรดด่างและความหนืดของสารเคลือบ แล้วจึงนำมาเคลือบเมล็ดพันธุ์แตงกวาด้วยเครื่องเคลือบระบบจานหมุนรุ่น RRC150 ในอัตราสารเคลือบ 1,100 มิลลิลิตรต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม จากนั้นนำมาลดความชื้นให้เมล็ดพันธุ์มีระดับความชื้นเท่ากับระดับความชื้นเริ่มต้นด้วยเครื่องเป่าลมร้อน แล้วตรวจคุณภาพเมล็ดพันธุ์ในลักษณะต่างๆ ได้แก่ ความชื้นของเมล็ดพันธุ์ ความงอกของเมล็ดพันธุ์ที่เพาะในสภาพห้องปฏิบัติการ ดัชนีการงอก และการเรืองแสงของเมล็ดพันธุ์ภายใต้เครื่องฉายแสงอัลตราไวโอเลตแบบพกพารวมถึงตรวจสเปกตรัมการคายแสงด้วยเครื่อง Spectrophotometer ผลการทดลองพบว่าพอลิเมอร์แต่ละชนิดสามารถนำมาใช้เป็นสารก่อฟิล์มร่วมกับคลอโรฟิลล์ได้ ซึ่งมีความเป็นกรด-ด่างและมีความหนืดของสารเคลือบที่เหมาะสม ไม่มีผลต่อคุณภาพของเมล็ดพันธุ์และมีการเรืองแสงที่ผิวของเมล็ดพันธุ์ทั้งการตรวจสอบภายใต้เครื่องฉายแสงอัลตราไวโอเลตแบบพกพาและการตรวจสเปกตรัมการคายแสงภายใต้เครื่อง Spectrophotometer โดยการใช้ HPMC เป็นสารก่อฟิล์มร่วมกับคลอโรฟิลล์ เป็นกรรมวิธีที่เหมาะสมทำให้เมล็ดพันธุ์มีประสิทธิภาพในการเรืองแสงมากที่สุด

การจัดการตารางการรักษาเคมีบำบัดของผู้ป่วยโรงพยาบาลมะเร็งและแชทบอทให้คำปรึกษา

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ

การจัดการตารางการรักษาเคมีบำบัดของผู้ป่วยโรงพยาบาลมะเร็งและแชทบอทให้คำปรึกษา

การรักษาผู้ป่วยมะเร็งในแผนกเคมีบำบัดของโรงพยาบาลมะเร็งชลบุรีมีขั้นตอนที่ยุ่งยากและไม่สะดวก เนื่องจากกระบวนการส่งผลตรวจเลือดผ่านแอปพลิเคชันไลน์ส่วนตัวของเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ ทำให้การดำเนินงานขาดความคล่องตัว ด้วยเหตุนี้ ผู้วิจัยจึงพัฒนาโปรแกรมบริหารจัดการและติดตามผู้ป่วยมะเร็งในรูปแบบเว็บแอปพลิเคชัน (web-based application) และแอปพลิเคชันไลน์ LINE LIFF (LINE Front-end Framework) เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับทั้งบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วย ระบบเว็บแอปพลิเคชันออกแบบมาเพื่อใช้โดยบุคลากรทางการแพทย์ในการติดตาม นัดหมาย และเก็บข้อมูลผู้ป่วย ส่วนแอปพลิเคชันไลน์ ออกแบบสำหรับผู้ป่วยในการส่งผลตรวจเลือด ดูตารางนัดหมาย บันทึกอาการหลังรับยาเคมีบำบัด บันทึกค่าน้ำหนักของผู้ป่วยทุกสัปดาห์ และแชทบอทสำหรับให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วย ระบบนี้พัฒนาบนพื้นฐานของเทคโนโลยีไคลเอนต์-เซิร์ฟเวอร์ ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการวิเคราะห์ข้อมูลและสนับสนุนการวางแผนการรักษาอย่างอัตโนมัติ ส่งผลให้กระบวนการรักษาผู้ป่วยมะเร็งมีความรวดเร็ว ทันสมัย และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

เมมเบรนกราฟีนออกไซด์คอมพอสิตสำหรับกำจัดของเสียในแหล่งน้ำ

คณะวิทยาศาสตร์

เมมเบรนกราฟีนออกไซด์คอมพอสิตสำหรับกำจัดของเสียในแหล่งน้ำ

ในงานวิจัยนี้ ทำการผลิตเมมเบรนกราฟีนออกไซด์โดยใช้กระบวนการ Phase-Inversion Method ซึ่งเป็นการเปลี่ยนสถานะของพอลิเมอร์จากของเหลวไปเป็นของแข็งผ่านการแยกเฟส ซึ่งจะทำให้เกิดโครงสร้างรูพรุนในเมมเบรน โครงสร้างของเมมเบรนที่ได้ขึ้นอยู่กับวิธีการทำให้เกิดการแยกเฟส โดยวิธี Phase-Inversion เป็นหนึ่งในกระบวนการผลิตเมมเบรนที่มีความยืดหยุ่นสูง ต้นทุนต่ำ และสามารถควบคุมโครงสร้างของเมมเบรนได้ดี เหมาะสำหรับงานด้านการบำบัดน้ำ การแยกสาร และการกรองของเหลวหรือก๊าซในระดับอุตสาหกรรม กราฟีนออกไซด์ (Graphene Oxide, GO) เป็นวัสดุที่ได้รับความสนใจอย่างมากในด้านการนำมาผลิตเมมเบรนเพื่อใช้สำหรับบำบัดน้ำและการกำจัดของเสีย เนื่องจากมีโครงสร้างเป็นชั้นบางระดับนาโนเมตร ทำให้สามารถควบคุมการซึมผ่านของโมเลกุลน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังมีคุณสมบัติพิเศษ เช่น - การคัดแยกโมเลกุลที่มีประสิทธิภาพสูง: สามารถกรองอนุภาคนาโน ไอออนโลหะหนัก สารอินทรีย์ และจุลินทรีย์ได้ - ความสามารถในการซึมผ่านน้ำสูง: เนื่องจากโครงสร้างของกราฟีนออกไซด์มีช่องว่างระหว่างชั้นที่เอื้อต่อการเคลื่อนที่ของโมเลกุลน้ำ - ความทนทานทางเคมีและเชิงกลสูง: ทำให้สามารถใช้งานในสภาพแวดล้อมที่รุนแรง เช่น น้ำเสียอุตสาหกรรม หรือของเสียที่มีค่า pH สูงหรือต่ำได้ - คุณสมบัติการป้องกันการเปรอะเปื้อน (Antifouling): ลดการสะสมของสารปนเปื้อนบนพื้นผิวเมมเบรน - กราฟีนออกไซด์มีความชอบน้ำสูงเนื่องจากมีปริมาณหมู่ฟังชันของออกซิเจนอย่าง (OH-) ที่พื้นผิวที่ค่อนข้างมาก ส่งผลให้เป็นเป็นสารเติ่มแต่งที่ดีสำหรับการผลิตเมมเบรนด้วยเทคนิค Phase-Inversion Method การประยุกต์ใช้เมมเบรนกราฟีนออกไซด์ในการกำจัดของเสีย - การบำบัดน้ำเสียอุตสาหกรรม เช่น การกรองโลหะหนัก (Pb2+, Cr6+, Hg2+) และสารอินทรีย์ที่เป็นพิษ - การกำจัดสารปนเปื้อนทางชีวภาพ เช่น แบคทีเรีย ไวรัส และสารพิษจากจุลินทรีย์ - การแยกเกลือออกจากน้ำทะเล (Desalination) โดยสามารถใช้แทนเมมเบรนแบบดั้งเดิมเพื่อเพิ่มอัตราการซึมผ่านของน้ำและลดพลังงานที่ใช้ - การกำจัดสารปนเปื้อนทางเภสัชกรรม เช่น ยาปฏิชีวนะและฮอร์โมนที่ตกค้างในน้ำ