KMITL Innovation Expo 2025 Logo

ความสงสัยในตนเอง

รายละเอียด

ซีรีย์ภาพถ่ายที่สื่อถึงสภาวะนามธรรมของตนเอง ที่ตั้งคำถามถึงการดำรงอยู่ อันเกิดจากการถูกรายล้อมไปด้วยความคาดหวัง ทั้งในแง่ของเสรีภาพในการแสดงออก และการยอมจำนน การมุ่งความสนใจไว้ที่ตนเอง ทำให้เกิดความรู้สึกนึกถึงอดีตที่แทบจะลืมเลือนไปแล้ว ให้กลับมาจนชัดเจนอีกครั้ง

วัตถุประสงค์

การที่เติบโตมาจากครอบครัวที่คาดหวังในตัวเรา ที่สมาชิกคาดหวังในตัวเราไม่เหมือนกัน ถ้าเราทำแบบใดแบบหนึ่งที่คนใดคนหนึ่งต้องการอีกคนจะไม่พอใจ จนเราเกิดสงสัยว่าเราต้องเป็นแบบไหน เมื่อเข้ามาอยู่ในสังคมใหม่ทำให้เราตั้งคำถามกับตนเองเมื่อเข้าหาผู้คนว่าเราต้องเป็นไปแบบที่เขาต้องการหรือเปล่าเราถึงจะเข้าถึงเขาได้ ทำให้เราสับสนกับตัวเองและต้องสร้างตัวตนใหม่ไปตามที่คนคนนั้นพอใจ จนเราเองเริ่มเกิดคำถามว่าจริงๆแล้วตัวตนของเราจริงๆเป็นแบบไหน

นวัตกรรมอื่น ๆ

ซอฟต์แวร์ AI สำหรับการตรวจคัดกรองโรคจากใบทุเรียน

วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์

ซอฟต์แวร์ AI สำหรับการตรวจคัดกรองโรคจากใบทุเรียน

ทุเรียนเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของประเทศไทยที่ได้รับผลกระทบจากโรคทางใบ เช่น โรคใบสนิม ใบไหม้ และใบจุด ซึ่งส่งผลให้คุณภาพผลผลิตลดลงและเพิ่มต้นทุนการจัดการ งานวิจัยนี้มุ่งเน้นการพัฒนาซอฟต์แวร์ AI สำหรับตรวจคัดกรองโรคใบทุเรียน โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการเรียนรู้เชิงลึกในการจำแนกชนิดของรอยโรคในใบทุเรียน

อีโคแมงโก้แพ็ค: บรรจุภัณฑ์มะม่วงรักษ์โลก

คณะเทคโนโลยีการเกษตร

อีโคแมงโก้แพ็ค: บรรจุภัณฑ์มะม่วงรักษ์โลก

โครงการ "อีโคแมงโก้แพ็ค: บรรจุภัณฑ์รักษ์โลกเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน" มุ่งเน้นการพัฒนานวัตกรรมบรรจุภัณฑ์สำหรับมะม่วงน้ำดอกไม้ โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของผลไม้ อายุการเก็บรักษา และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม วัสดุที่เลือกใช้ประกอบด้วยตัวกล่องที่ทำจากไม้กาบมะพร้าว นอกจากนี้ โครงการยังได้นำก้านผักตบชวาอบแห้งมาประยุกต์ใช้เป็นวัสดุรองรับภายในบรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มความสามารถในการกันกระแทก ตลอดจนการนำกากกาแฟอบแห้งใส่ในบรรจุภัณฑ์เพื่อยืดอายุของผลมะม่วง ทั้งนี้ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ยังคำนึงถึงการใช้งานของเกษตรกรรายย่อย โดยพัฒนาให้สามารถผลิตได้ในระดับวิสาหกิจชุมชนและลดต้นทุนการผลิต โครงการนี้มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของไทย สนับสนุนแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน และส่งเสริมการใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์

การตรวจสอบการปลอมปนของอายุการเก็บรักษาข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105  ด้วยเทคนิคเนียร์อินฟราเรดสเปกโทรสโกปี

คณะวิศวกรรมศาสตร์

การตรวจสอบการปลอมปนของอายุการเก็บรักษาข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ด้วยเทคนิคเนียร์อินฟราเรดสเปกโทรสโกปี

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบปลอมปนของข้าวสารพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ตามอายุการเก็บรักษา ด้วยเทคนิคเนียร์อินฟราเรดสเปกโทรสโกปี โดยใช้ฟูเรียร์ทรานฟอร์มเนียร์อินฟราเรดสเปกโทรสโกปี (FT-NIR) จำนวนคลื่น 12,500 – 4,000 cm-1 (800 – 2,500 nm) ซึ่งอายุการเก็บรักษาของข้าวที่แตกต่างกันส่งผลต่อคุณภาพข้าวหุงสุก งานวิจัยนี้แบ่งเป็น 2 ส่วน 1) เพื่อตรวจสอบความเป็นไปในการแยกข้าวสารตามอายุการเก็บรักษา 1 2 และ 3 ปี แบบจำลองที่ดีที่สุดสร้างด้วย Ensemble ร่วมกับ Second Derivative มีค่าความถูกต้อง (Accuracy) เท่ากับ 96.3% 2) ตรวจสอบการปลอมปนตามอายุการเก็บรักษา โดยปลอมปนที่ 0% (ข้าว 2 และ 3 ปีทั้งหมด), 10%, 20%, 30%, 40%, 50%, 60%, 70%, 80%, 90% และ 100% (ข้าว 1 ปีทั้งหมด) แบบจำลองที่ดีที่สุดสร้างด้วย Gaussian Process Regression (GPR) ร่วมกับ Smoothing + Multiplicative Scatter Correction (MSC) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การกำหนด (r²) ค่ารากที่สองของความคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ยของการทำนาย (RMSEP) ค่าความคลาดเคลื่อนเฉลี่ย (Bias) และค่าความสามารถในการทำนาย (RPD) เท่ากับ 0.92 8.6% 0.9% และ 3.6 ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าแบบจำลองการปลอมปนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้สำหรับการตรวจสอบการแยกประเภทข้าวตามอายุการเก็บรักษา 1 ปี 2 ปี และ 3 ปี นอกจากนั้นค่าสีของข้าวที่อายุการเก็บรักษาต่างกันมีค่าสี L* และ b* ต่างกันอีกด้วย