KMITL Innovation Expo 2025 Logo

การพัฒนาเรื่องความปลอดภัยการใช้เอ็กซ์ลิฟท์ในสายการประกอบรถยนต์

การพัฒนาเรื่องความปลอดภัยการใช้เอ็กซ์ลิฟท์ในสายการประกอบรถยนต์

รายละเอียด

บริษัทมิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด เป็นบริษัทที่มีนโยบายเกี่ยวกับความปลอดภัย คือ ความเสี่ยงเป็นศูนย์ อุบัติเหตุเป็นศูนย์ และบริษัทมีการเก็บสถิติของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นภายในโรงงานเมื่อปี พ.ศ.2567ที่ผ่านมามีการเกิดอุบัติเหตุทั้งหมด 5 ครั้ง โดยหนึ่งในนั้นเป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นที่สายการประกอบที่อยู่ในการดูแลของแผนก Production Engineer Assembly ที่ดิฉันได้ฝึกงานอยู่ ดิฉันจึงมีการนำปัญหานี้มาแก้ไข โดยการวิเคราะห์ปัญหา แจกแจง เลือกวิธีการแก้ไขปัญหา จนได้มาเป็นการใช้ระบบกล้องวงจรปิดที่ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เข้ามาตรวจจับพฤติกรรมของพนักงาน เพื่อป้องกันการเกิดเหตุการณ์ที่จะมีความเสี่ยงเกิดขึ้น โดยการสอนปัญญาประดิษฐ์ด้วยภาพที่มีการทำงานผิดปกติของพนักงาน หรือความผิดปกติของอุปกรณ์จำพวกสายพาน, ลิฟท์ขากรรไกร, พาเลท (pallet) จากนั้นถึงออกแบบแนวคิดการพัฒนาซอฟต์แวร์(Software) จนทำ ให้ระบบกล้องวงจรปิดที่ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ สามารถตรวจจับได้ ส่งผลให้หลังจากการติดตั้ง ไม่เกิดอุบัติเหตุในบริเวณนั้นอีก ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ ลดการสูญเสียที่จะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายจากการเกิดอุบัติเหตุ การเทรนพนักงานใหม่ ทรัพยากรที่ใช้ในการทำงาน หรืออื่นๆอีกมากมาย

วัตถุประสงค์

จากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 6 กันยายน ค.ศ. 2023 ลิฟท์ขากรรไกรตัวที่ 1 ที่กระบวนการประกอบ ณ ตำแหน่ง 4A92 Engine dress up โดยปกติสายพานจะลำเลียงพาเลทมาบนตัวลิฟท์ขากรรไกรแล้วมีเซนเซอร์ (senser) ตรวจจับการมีอยู่ของพาเลท และเคลื่อนที่ขึ้น-ลงตามขั้นตอนที่การวางไว้แต่มีความผิดปกติกับตัวลิฟท์ ขากรรไกรในวันดังกล่าวคือมีพาเลทเคลื่อนที่ติดกันมาจากด้านล่างของสายพาน (โดยปกติจะมีระยะห่างระหว่างกันที่พอสมควร) ทำให้ตัวหยุดด้านล่างไม่สามารถหยุดพาเลทได้ ทำให้เมื่อพาเลทที่ 1 เคลื่อนที่มาบนลิฟท์ขากรรไกรแล้วมีเซนเซอร์ตรวจจับทำให้ลิฟท์ขากรรไกร เคลื่อนที่ขึ้นพาเลทที่ 2 เลยเคลื่อนที่ขึ้นมาด้วย ทำให้ติดอยู่ระหว่าง สายพาน และเอกซ์ลิฟท์ เมื่อคนงานเห็นจึงรีบมาแก้ไขโดยการนำมือเข้าไปผลักพาเลทที่ 2 พอมันหลุดออกเอกซ์ลิฟท์ จึงทำงานปกติและเคลื่อนที่ขึ้น ทำให้หนีบมือคนงานจนทำให้กระดูกนิ้วมือร้าว จึงเป็นที่มาของการทำโครงงานสหกิจนี้ขึ้นมา เพื่อป้องกันเหตุการณ์ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยการนำปัญหาที่ได้มาวิเคราะห์ และเลือกวิธีหรืออุปกรณ์ที่จะนำมาแก้ไขปัญหา พอได้อุปกรณ์ที่มีความเหมาะสมแล้วคือ ระบบกล้องวงจรปิดที่ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI Camera) จากนั้นออกแบบแนวคิดของซอฟต์แวร์ที่จะนำไปเชื่อมต่อกับและเชื่อมกับระบบ Pokayoke เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นกับสายการผลิตและประกอบรถยนต์ จากนั้นนำตัวซอฟต์แวร์ของปัญญาประดิษฐ์มาสอนด้วยเหตุการณ์ผิดปกติทั้งหมดที่อาจจะเกิดขึ้นได้เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ และสามารถตรวจจับได้ในภายหลัง

นวัตกรรมอื่น ๆ

โครงการวิจัยการออกแบบยานยนต์ไฟฟ้าสามล้อโดยการประยุกต์ใช้วัสดุจากธรรมชาติเพื่อตกแต่งทดแทนการใช้สีเคมี

คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ

โครงการวิจัยการออกแบบยานยนต์ไฟฟ้าสามล้อโดยการประยุกต์ใช้วัสดุจากธรรมชาติเพื่อตกแต่งทดแทนการใช้สีเคมี

-

หุ่นจำลองเด็กอัจฉริยะสำหรับฝึกการกู้ชีพ (หุ่นเด็ก CPR)

วิทยาลัยนวัตกรรมการผลิตขั้นสูง

หุ่นจำลองเด็กอัจฉริยะสำหรับฝึกการกู้ชีพ (หุ่นเด็ก CPR)

หุ่นจำลองเด็กสำหรับใช้ฝึกการกู้ชีพ (CPR) ภายในตัวหุ่นมีกลไกหลอดลม กลไกคอ กลไกปอด กลไกการปั้มหัวใจ ผิวหนังเทียม และระบบเซนเซอร์ ทั้งหมดทำงานร่วมกันทำหน้าที่คล้ายเด็กจริง สามารถใช้ฝึกการปั้มหัวใจ และการผายปอดได้ โดยหุ่นได้รับการออกแบบและตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญการกู้ชีพ มีระบบประเมินความถูกต้องของการฝึกพร้อมแสดงผลในคอมพิวเตอร์สำหรับการตรวจสอบแบบทันที

โครงสร้างแบบโครงคร่าวแบบรวมสำหรับคำบรรยายอัตโนมัติและการแบ่งส่วนความเสียหายในการวิเคราะห์ความเสียหายของรถยนต์

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ

โครงสร้างแบบโครงคร่าวแบบรวมสำหรับคำบรรยายอัตโนมัติและการแบ่งส่วนความเสียหายในการวิเคราะห์ความเสียหายของรถยนต์

งานวิจัยนี้นำเสนอวิธีการเรียนรู้เชิงลึกเพื่อสร้างคำบรรยายอัตโนมัติจากการแบ่งส่วนความเสียหายของชิ้นส่วนรถยนต์ โดยการวิเคราะห์จากข้อมูลภาพของรถยนต์โดยใช้โครงสร้างแบบโครงคร่าวแบบรวม (Unified Framework) เพื่อช่วยให้สามารถระบุตำแหน่งและอธิบายความเสียหายที่เกิดขึ้นกับรถยนต์ได้อย่างแม่นยำและรวดเร็ว โดยการพัฒนาประยุกต์จากพื้นฐานงานวิจัยที่มีชื่อว่า ”GRiT: A Generative Region-to-text Transformer for Object Understanding” ที่ผู้วิจัยได้ทำการพัฒนาและปรับแต่งให้เหมาะสมกับการวิเคราะห์ภาพที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์โดยเฉพาะ การปรับปรุงนี้มีจุดประสงค์เพื่อทำให้แบบจำลองสามารถสร้างคำบรรยายสำหรับบริเวณต่างๆ ของรถยนต์ได้อย่างแม่นยำ ตั้งแต่บริเวณที่ได้รับความเสียหายไปจนถึงการระบุส่วนประกอบต่างๆ บนรถยนต์ ทางผู้วิจัยได้เน้นการพัฒนาเทคนิคการเรียนรู้เชิงลึกเพื่อสร้างคำบรรยายอัตโนมัติและการแบ่งส่วนความเสียหายในการวิเคราะห์ความเสียหายของรถยนต์ เพื่อช่วยให้สามารถระบุตำแหน่งและอธิบายความเสียหายที่เกิดขึ้นกับยานยนต์ได้อย่างแม่นยำ ช่วยเพิ่มความรวดเร็ว ลดภาระของผู้เชี่ยวชาญในการประเมินความเสียหาย โดยวิธีการเเบบดั้งเดิมอาศัยการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น มีค่าใช้จ่ายสูงและใช้เวลานาน เพื่อลดปัญหานี้ ทางเราเสนอให้ใช้ประโยชน์จากการสร้างข้อมูลเพื่อฝึกฝนการสร้างคำบรรยายาย เเละ แบ่งส่วนความเสียหายอย่างอัตโนมัติ โดยใช้ โครงสร้างแบบโครงคร่าวแบบรวม ซึ่งการพัฒนานี้เป็นการขยายความสามารถของแบบจำลองให้สามารถประยุกต์ใช้ได้กว้างขวางมากขึ้นในภาคส่วนของยานยนต์ ทางผู้วิจัยได้สร้างชุดข้อมูลใหม่จาก CarDD ซึ่งเป็นชุดข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงสำหรับการตรวจจับความเสียหายของรถยนต์ ในชุดข้อมูลนี้มีการติดป้ายกำกับความเสียหายบนรถยนต์ และผู้วิจัยได้นำข้อมูลชุดดังกล่าวมาเข้าสู่แบบจำลองเพื่อแยกส่วนของรถยนต์เป็นชิ้นส่วนต่างๆ เพื่อจัดทำการติดป้ายกำกับคำอธิบายที่แม่นยำสำหรับแต่ละชิ้นส่วนและหมวดหมู่ความเสียหาย ผลลัพธ์เบื้องต้นจากเเบบจำลอง แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการสร้างคำบรรยายอัตโนมัติและการแบ่งส่วนความเสียหายในการวิเคราะห์ความเสียหายของรถยนต์ได้อยู่ในเกณฑ์พอใช้ ด้วยผลลัพธ์นี้ เเบบจำลองนี้ถือเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะถูกพัฒนาต่อยอดในอนาคต การพัฒนาต่อยอดนี้ไม่เพียงแต่มุ่งเน้นที่การเพิ่มประสิทธิภาพในการแบ่งส่วนความเสียหายและสร้างคำบรรยายเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการปรับปรุงความสามารถในการตอบสนองต่อความหลากหลายของความเสียหายที่เกิดขึ้นบนพื้นผิวและส่วนต่างๆ ของรถยนต์ ซึ่งจะช่วยให้ระบบสามารถประยุกต์ใช้ได้กับยานยนต์หลากหลายรูปแบบและสภาพความเสียหายที่แตกต่างกันมากขึ้นในอนาคต