ครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มีวิสัยทัศน์สู่ความเป็นเลิศอย่างยั่งยืน พันธกิจพัฒนาผู้เรียนให้มีความพร้อมสำหรับโลกดิจิทัล พัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาโดยใช้วิจัยเป็นฐาน บริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ด้วยหลักธรรมาภิบาล บริการวิชาการที่มุ่งประโยชน์ต่อสังคม ในกิจกรรมครั้งนี้ได้นำคณะนักศึกษาร่วมกับสถานทูตสหพันธรัฐรัสเซีย ประจำราชอาณาจักรไทย คณะทำงานสมาคมส่งเสริมผ้าไหม และวัฒนธรรมไทย คณะทำงานสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) บูรณาการความรู้เพื่อออกแบบชุดผ้าไหมร่วมวัฒนธรรมไทย รัสเซีย สร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านศิลปวัฒนธรรม เทคโนโลยี นวัตกรรม และการเผยแพร่องค์ความรู้ และความงามของผ้าไหมไทย โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาศักยภาพของอาจารย์ และนักศึกษาในการออกแบบเชิงสร้างสรรค์ ประชุมรับฟังแนวทางดำเนินงาน จากคณะทำงานสมาคมส่งเสริมผ้าไหม และวัฒนธรรมไทย คณะทำงานสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ผ่านการประชุมออนไลน์ทีมงานกลุ่มอาจารย์ และนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ภายใต้ชื่อกลุ่ม “รักแพรไหม” ดำเนินการออกแบบชุดผ้าไหมไทยแบบร่วมวัฒนธรรม ด้วยอัตลักษณ์ผ้าไหมไทยร่วมกับการเรียนประเพณี วัฒนธรรมชุดเสื้อผ้าสหพันธรัฐรัสเซียได้ศึกษาเอกสารวรรณกรรมงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง บูรณาการความรู้สู่กระบวนการออกแบบสร้างแรงบันดาลใจจากแนวคิดชุดราชปะแตน ที่เริ่มใช้ตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชการที่ 5) เมื่อปี พ.ศ. 2415 ร่วมกับวัฒนธรรมชุดเสื้อผ้าสหพันธรัฐรัสเซียโดยเน้นผ้าไหมไทยเป็นแนวคิดนี้ได้ผ่านกระบวนการสร้าง และเลือกแนวคิดในการออกแบบ (Concept Generation and Selection) นำแนวคิดที่ได้เข้ารับฟังข้อเสนอแนะ จากสถานทูตฯ ครั้งแรกวันที่ 25 กรกฎาคม 2567 มีข้อเสนอเสนอแนะให้เพิ่มเติมความเป็นเอกลักษณ์ผ้าไหมไทยให้มากขึ้นผ่านการนำเสนอด้วยการเดินแบบแฟชั่นโชว์โดยภรรยา และหลานชาย ท่านทูตสหพันธรัฐรัสเซียเป็นผู้เดินแบบชุดที่ออกแบบจึงเป็นชุดสุภาพสตรี 1 ชุด ชุดเด็กชาย 1 ชุด ชุดสุภาพสตรีรูปแบบเสื้อด้านในประยุกต์มาจากชุดราชนิยมใช้ผ้าผ้าไหม มัดหมี่ ลายโกนกะเอ็ด มีลักษณะสองชิ้นแยกกัน เป็นเสื้อ 1 ชิ้นกระโปรง 1 ในส่วนเสื้อคลุมทรงสูทยาวประยุกต์ ผ้าไหมสีพื้นเนื้อเรียบ สีแดงชมพูเข้ม ชุดเด็กชายเสื้อประยุกต์จากทรงราชประแตนร่วมสมัยแขนยาว ตัดเย็บด้วยผ้าไหมสีครีม กางเกงขายาวทรงสแล็คตัดเย็บด้วยผ้าไหมสีหมากดิบเสื้อคลุมไม่มีปกผ้าไหมสีฟ้าลายกาบบัว ประยุกต์มาจากชุดราชปะแตนมีปกตัวยาวเป็นรูปแบบสากล วันที่ 2 สิงหาคม 2567 นำชุดที่ออกแบบ และตัดเย็บชุดต้นแบบผ้าดิบตาม ให้ภรรยา และหลานชายท่านทูตฯ ลองสวมใส่ในวันที่ 30 สิงหาคม 2567 พบท่านทูตครั้งที่ 4 เพื่อนำชุดผ้าไหมที่ตัดเป็นชุดผ้าไหมจริง ส่งมอบเสื้อให้ภรรยา และหลานชายท่านทูตทดลองสวมใส่ สวมใส่เพื่อร่วมงานเดินแฟชั่นโชว์ในงาน มหกรรมขับเคลื่อนกิจกรรมมหกรรมผ้าไหม “ไหมไทยสู่เส้นทางโลก” ครั้งที่ 13 ณ หอประชุมกองทัพเรือซึ่งคณะอาจารย์ และนักศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เข้าร่วมเดินแบบในรอบฟินนาเล่ด้วยซึ่งงานดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย หลังงานนั้นคณะทำงานสมาคมส่งเสริมผ้าไหม และวัฒนธรรมไทยได้นำชุดเสื้อผ้าที่ออกแบบตัดเย็บโดยทีมงาน “รักแพรไหม” จัดแสดงนิทรรศการไหมไทยสู่เส้นทางโลก ระหว่างวันที่ 1-8 กันยายน 2567 ณ ศูนย์การค้าเอ็มสเฟียร ทีมงานสรุปรายงานจัดทำรูปเล่มรายงานฉบับสมบูรณ์ ในการดำเนินโครงการในครั้งนี้ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้รับการสนับสนุนอำนวยความสะดวกในการดำเนินงานตลอดโครงการ การสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) การสนับสนุนผ้าในการตัดเย็บจากสมาคมส่งเสริมผ้าไหม และวัฒนธรรมไทย ข้อมูลประกอบการออกแบบชุดเสื้อผ้าไหมอันทรงคุณค่าสถานทูตสหพันธรัฐรัสเซีย ประจำราชอาณาจักรไทย นับว่าเป็นส่วนสำคัญยิ่งที่ทำให้การดำเนินงานครั้งนี้สำเร็จด้วยความราบรื่น เป็นประสบการณ์ที่สำคัญยิ่งสำหรับทีมงานอาจารย์ และนักศึกษา ครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง หวังอย่างยิ่งว่าจะได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งในโอกาสต่อไป
ตามสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้ดำเนินโครงการขับเคลื่อนกิจกรรมมหกรรมผ้าไหม “ไหมไทยสู่เส้นทางโลก” ปีที่ 13 จัดขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงทุ่มเทเป็นระยะเวลามากกว่า 50 ปี ในการส่งเสริม และให้ความสำคัญแก่ผ้าไหมไทย จนกลายเป็นเอกลักษณ์ของไทยที่เป็นที่นิยม และได้รับการยอมรับจากชาวต่างชาติอย่างกว้างขวาง เพื่อเป็นการส่งเสริม และเผยแพร่ความสวยงามของผ้าไหมไทยผ่านเส้นทางการทูต และสื่อมวลชนจากต่างประเทศ รวมถึงให้ศิลปวัฒนธรรมไทยเป็นที่ประจักษ์ของคนทั่วโลก ซึ่งได้เปิดโอกาสให้นิสิต นักศึกษา รวมถึงสถาบันการศึกษาด้านการออกแบบแฟชั่นสิ่งทอ และสาขาที่เกี่ยวข้องกันทั่วประเทศ เข้าร่วมโครงการดังกล่าว สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สาขาวิชาครุศาสตร์การออกแบบ ได้มีการเปิดโอกาสให้นักศึกษาในสาขาเข้าร่วมในการพัฒนาการออกแบบ โดยการผสมผสานศิลปวัฒนธรรมผ้าไหมไทยเข้ามาต่อยอดให้เข้ากับชุดประจำชาติของประเทศรัสเซีย จากข้อมูลข้างต้น สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มีความพร้อมในการส่งเสริมพัฒนาเป็นการศักยภาพของนักศึกษา เพื่อการสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านศิลปวัฒนธรรม เทคโนโลยี นวัตกรรม และการเพิ่มศักยภาพ เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยในการเผยแพร่องค์ความรู้ และความงามของผ้าไหมไทยผ่านสถานทูตหรือสถานกงสุลที่เข้าร่วมโครงการ รวมถึงคณะรัฐมนตรี เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมร่วมกับคณะเอกอัครราชทูต และการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ เพื่อการออกแบบชุดผ้าไหมแบบร่วมสมัยที่สำคัญ และการส่งเสริมให้นักศึกษา ทราบถึงพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ซึ่งเป็นการอนุรักษ์ และสืบสานภูมิปัญญาการทอผ้าไหมให้เป็นเอกลักษณ์คู่ชาติไทย
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
สารสกัดเปลือกมังคุด (Garcinia mangostana Linn.) โดยใช้น้ำร้อน (MPE) ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีศักยภาพในการต่อต้านแบคทีเรียในลูกปลากะพงขาว (Lates calcarifer) ที่เลี้ยงในน้ำจืดซึ่งติดเชื้อ Aeromonas hydrophila การศึกษาในหลอดทดลองพบว่า MPE มีความเข้มข้นต่ำสุดในการยับยั้ง (MIC) อยู่ที่ 25 ppm และความเข้มข้นต่ำสุดในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (MBC) อยู่ที่ 25 ppm สำหรับ In vivo ลูกปลากะพงขาวจะถูกแช่ใน MPE ความเข้มข้นต่างๆ กันที่ 0 ppm (ควบคุม), 20 ppm, 40 ppm และ 60 ppm ตามลำดับ เป็นเวลา 7 วันด้วย A. hydrophila ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่ากลุ่มที่ได้รับ MPE มีอัตราการรอดชีวิตสูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม พารามิเตอร์ทางโลหิตวิทยาแสดงให้เห็นว่ากลุ่มที่ได้รับ MPE มีระดับเม็ดเลือดแดง (RBC), เม็ดเลือดขาว (WBC) และความเข้มข้นของฮีโมโกลบิน (Hb) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม นอกจากนี้ พารามิเตอร์คุณภาพน้ำไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ยกเว้นความเข้มข้นของแอมโมเนีย โดยที่ MPE ความเข้มข้นของแอมโมเนียที่ 60 ppm ถือเป็นระดับต่ำสุด ผลลัพธ์ทั้งหมดสามารถบ่งชี้ได้ว่า MPE สามารถปรับปรุงศักยภาพในการต่อต้านแบคทีเรียและศักยภาพในการเพาะเลี้ยงลูกปลากะพงได้
คณะวิศวกรรมศาสตร์
แพลตฟอร์มที่มีจุดประสงค์ในการเชื่อมโยงนักศึกษาจากทุกคณะและสาขาวิชาเพื่อส่งเสริมการทำ กิจกรรมร่วมกัน และพัฒนาทักษะทางสังคมและการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเน้นไปที่การ ส่งเสริมการเรียนรู้และการพัฒนาตนเองผ่านการทบทวนบทเรียนและการเรียนรู้ร่วมกันที่มีความสัมพันธ์กับ ทุกคณะและสาขาวิชาในมหาวิทยาลัย สร้างพื้นที่สำหรับการเจรจาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสนับสนุนการ ทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อสร้างสัมพันธภาพและความร่วมมือในกลุ่มนักศึกษา
คณะวิศวกรรมศาสตร์
โครงการนี้นำเสนอระบบจัดเก็บแผ่นเหล็กแนวตั้งอัตโนมัติ ทำงานโดยเรียนรู้วิธีการออกแบบและสร้างระบบจัดเก็บแผ่นเหล็กแนวตั้งอัตโนมัติที่รวมเข้ากับอุปกรณ์ไมโครคอนโทรลเลอร์ โครงการประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก คือ โครงสร้างและระบบควบคุมระบบจัดเก็บแผ่นเหล็กแนวตั้งอัตโนมัติ ซึ่งจะออกแบบและเขียนแบบด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์และสร้างโดยใช้โครงสร้างหลักอะลูมิเนียมตามขนาดจริงที่ออกแบบในโปรแกรม และระบบควบคุมไมโครคอนโทรลเลอร์ใช้โปรแกรม GX Works 2 ของ Mitsubishi PLC เพื่อออกแบบระบบที่ควบคุมการขึ้นและลง เข้าและออกของพาเลท สามารถชั่งน้ำหนักได้และมีหน้าจอสัมผัสแสดงข้อมูลแผ่นเหล็กและใช้ควบคุมระบบจัดเก็บแผ่นเหล็กแนวตั้งอัตโนมัติและม่านแสงนิรภัยเพื่อป้องกันด้านความปลอดภัยของผู้ใช้งาน ทดสอบการทำงานของเครื่องจัดเก็บแผ่นเหล็กแนวตั้งอัตโนมัติ แล้วพบว่าทำงานได้ตามปกติ มีข้อผิดพลาดเพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่อยู่ในขอบเขตที่ยอมรับได้