KMITL Innovation Expo 2025 Logo

เซนเซอร์ตรวจวัดสารซาลบูทามอลทางเคมีไฟฟ้าโดยใช้เทคนิคพอลิเมอร์ลอกแบบโมเลกุลร่วมกับวัสดุนาโนคอมพอสิตคอปเปอร์ออกไซด์และกราฟิติกคาร์บอนไนไตรด์

รายละเอียด

การใช้เซนเซอร์ทางเคมีไฟฟ้าร่วมกับแสงเพื่อตรวจวัดสารเร่งเนื้อแดงที่มีชื่อว่า "ซาลบูทามอล(Salbutamol)" โดยอาศัยเทคนิคพอลิเมอร์ลอกแบบโมเลกุลในการตรวจวัดร่วมกับวัสดุนาโนคอมพอสิตคอปเปอร์ออกไซด์และกราฟิติกคาร์บอนไนไตรด์(CuO/g-C₃N₄ Nanocomposite) ในการเพิ่มประสิทธิภาพของเซนเซอร์

วัตถุประสงค์

ความปลอดภัยทางด้านอาหารเป็นหนึ่งปัจจัยที่มีผลสำคัญต่อสุขภาพและการดำเนินชีวิตประจำวัน เนื่องมาจากปัญหาการปนเปื้อนของสารเคมีในอาหารซึ่งก่อให้เกิดปัญหาตามมา อาทิเช่น อาการเจ็บป่วยเล็กน้อย ผลข้างเคียงหรือโรคที่เกี่ยวกับทางเดินอาหาร ไปจนถึงทำให้เสียชีวิตได้ สารซาลบูทามอลเป็นสารที่หาซื้อได้ง่ายเนื่องจากเป็นยาที่ถูกใช้กับผู้ที่เป็นโรคหอบหืดหรือโรคที่เกี่ยวกับระบบหายใจเรื้อรัง โดยสารชนิดนี้ถูกใช้ในทางที่ผิด เช่น การโดปของนักกีฬาหรือเพื่อการเร่งเนื้อแดงในสัตว์ได้

นวัตกรรมอื่น ๆ

การตรวจโปรตีนในน้ำลายเพื่อการวินิจฉัยโรคไมเกรน

คณะแพทยศาสตร์

การตรวจโปรตีนในน้ำลายเพื่อการวินิจฉัยโรคไมเกรน

โรคปวดศรีษะไมเกรน เป็นโรคที่พบได้บ่อย และ ส่งผลต่อการทำงาน การดำเนินชีวิตประจำวันของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก โรคปวดศรีษะไมเกรนแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะอาการเตือน (Prodrome หรือ premonitory) ระยะออร่า (Aura) ระยะปวดศีรษะ (Headache) และระยะฟื้นตัว (Postdrome) โดยระยะอาการเตือน (premonitory stage) สามารถเกิดขึ้นก่อนการปวดศีรษะได้นานถึง 72 ชั่วโมง และถือเป็นช่วงเวลาสำคัญอย่างมาก เนื่องจากมีการศึกษาพบว่าการใช้ยาในระยะนี้สามารถช่วยป้องกันการปวดศรีษะได้ อย่างไรก็ตาม อาการในระยะนี้มักไม่จำเพาะเจาะจง ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถรู้ได้แน่ชัดว่ากำลังอยู่ในระยะอาการเตือนของไมเกรนหรือไม่ โปรตีน Calcitonin gene-related peptide (cGRP) เป็นโมเลกุลสำคัญที่มีบทบาทในการเกิดไมเกรน โดยมีงานวิจัยพบว่าระดับ cGRP ในน้ำลายเพิ่มขึ้นในช่วงระยะอาการเตือน (premonitory stage) การศึกษานี้มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาและประเมินชุดทดสอบแบบ Lateral Flow Immunoassay สำหรับตรวจหาระดับ cGRP ในน้ำลายของผู้ป่วยไมเกรนในระยะอาการเตือน ซึ่งอาจเป็นเครื่องมือช่วยยืนยัน เพื่อให้ผู้ป่วยมั่นใจ และ ใช้ยาก่อนที่จะมีอาการปวดหัว

นวัตกรรมเครื่องยนต์สเตอร์ลิงพลังงานสะอาด

คณะวิศวกรรมศาสตร์

นวัตกรรมเครื่องยนต์สเตอร์ลิงพลังงานสะอาด

เนื่องจากความต้องการพลังงานที่มีมากขึ้น แต่เชื้อเพลิงฟอสซิลซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักมีอยู่อย่างจำกัดและเป็นสาเหตุหนึ่งของมลพิษและภาวะโลกร้อน ดังนั้นพลังงานทางเลือกจึงเป็นกุญแจสำคัญเพื่อความยั่งยืนด้านพลังงาน ประเทศไทยมีศักยภาพของพลังงานชีวมวลจากเกษตรกรรม ดังนั้นการพัฒนาระบบผลิตไฟฟ้าที่มลพิษต่ำและสามารถใช้ได้กับแหล่งพลังงานทดแทนจึงจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเครื่องยนต์สเตอร์ลิงซึ่งมีโครงสร้างชิ้นส่วนไม่ซับซ้อน ปราศจากการสันดาปภายในเครื่องยนต์จึงเป็นเครื่องยนต์ที่มีศักยภาพผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานสะอาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อ งานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นพัฒนาออกแบบและสร้างต้นแบบเครื่องยนต์สเตอร์ลิงร่วมกับแหล่งพลังงานทดแทนหรือพลังงานสะอาดเพื่อผลิตไฟฟ้าและสาธิตการทำงานจริง เกิดองค์ความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีเครื่องยนต์ผลิตไฟฟ้าปราศจากมลพิษในประเทศ ตลอดจนสามารถขยายผลนำไปใช้ประโยชน์กับคนไทย

ระบบสำรวจปริมาณยุงแบบเรียลไทม์ด้วยหลักการตรวจสอบแรงกระเพื่อมทางไฟฟ้า

คณะวิศวกรรมศาสตร์

ระบบสำรวจปริมาณยุงแบบเรียลไทม์ด้วยหลักการตรวจสอบแรงกระเพื่อมทางไฟฟ้า

งานวิจัยนี้นำเสนอการออกแบบเครื่องมือระบบการนับยุง ยุงที่ถูกนับตายเพื่อไม่ให้วัดข้อมูลการนับซ้ำ ทันทีที่เครื่องนับแหล่งที่มาอินพุตตรวจจับยุงได้ สัญญาณทริกเกอร์เดี่ยวจะถูกส่งไปยังระบบ IOT เพื่อขัดจังหวะเซิร์ฟเวอร์ทันที จำนวนยุงจริงไม่ได้ส่งสัญญาณไปยัง IOT แต่เป็นเพียงสัญญาณรบกวนเซิร์ฟเวอร์เท่านั้น เซิร์ฟเวอร์จะบันทึกจำนวนสัญญาณขัดจังหวะด้วยนาฬิกาแบบเรียลไทม์ จากนั้นข้อมูลขัดจังหวะจะได้รับการจัดการต่อไป เครื่องนับส่วนหน้าประกอบด้วยเครื่องสร้างไฟฟ้าแรงสูงที่มีค่าแรงดันไฟฟ้าและระยะห่างของอิเล็กโทรดที่เหมาะสมกับขนาดยุงที่ต้องการ สัญญาณพัลส์ทริกเกอร์ต่ำของยุงที่ถูกฆ่าด้วยไฟฟ้าแรงสูงจะถูกส่งไปยังชุดควบคุม ทันที สัญญาณการนับจำนวนยุงรบกวนจะถูกส่งไปยังการรวบรวมข้อมูลกระแสใหญ่บนระบบ IOT โดยเทคนิคการประทับเวลา สร้างผลการตรวจวัดตัวอย่างยุงตัวเป็นๆ จำนวน 10 ตัว ในกล่องพื้นที่จำกัดในการบิน โดยเครื่องนับแสดงว่าผลการนับถูกต้อง 100%