ในยุคที่เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายด้าน การใช้เว็บไซต์เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนจึงเป็นสิ่งจำเป็น โดยในกรณีศึกษานี้ ได้ทำการพัฒนาเว็บไซต์สำหรับวิชา Object Oriented Programming (OOP) ที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้สอนและผู้ช่วยสอนในการกรอกคะแนน ตรวจงาน และติดตามความก้าวหน้าของนักศึกษา ซึ่งระบบที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถช่วยลดข้อผิดพลาดในการกรอกคะแนน การตรวจงานได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ รวมถึงสามารถติดตามผลการเรียนและการส่งงานของนักศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังเพิ่มความสะดวกในการจองคิวส่งงานและโปรเจคของนักศึกษา รวมถึงการแสดงข้อมูลสถิติคะแนนของนักศึกษา ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการยกระดับคุณภาพการเรียนการสอนให้มีความทันสมัย
ในปัจจุบันคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้เปิดการเรียนการสอนวิชา object oriented programming และให้บริการเว็บไซต์ สำหรับรายวิชา เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สอน และ ผู้เรียน โดยทางทีมผู้พัฒนาได้เล็งเห็นว่า ขั้นตอนในกรอกคะแนนเก็บของนักศึกษาว่าอาจเกิดปัญหาจากการกรอกคะแนนจากการส่งงานหรือการส่งโปรเจคผิดอาจส่งผลกระทบถึงเกรดของนักศึกษา ปัญหาต่อที่ผู้สอนได้พบเจอคือผู้ช่วยสอนเดินตรวจงานของนักศึกษาได้ลำบากเพราะตำแหน่งการแสดงผลในระบบไม่ชัดเจนจึงทำให้เกิดความล่าช้าในการตรวจงาน
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
การสร้างระบบเลี้ยงและบำบัดน้ำไปในตัวโดยใช้รูปแบบFlow water system โดยข้อจำกัดคือเพาะเลี้ยงในพื้นที่เล็กๆแต่ได้ผลจริง
คณะวิทยาศาสตร์
ในยุคที่ข้อมูลรีวิวสินค้าบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซมีจำนวนมาก การสรุปความคิดเห็นให้เข้าใจง่ายและใช้งานได้จริงจึงเป็นสิ่งสำคัญ งานวิจัยนี้นำเสนอระบบวิเคราะห์รีวิวสินค้าด้วย Aspect-Based Sentiment Analysis (ABSA) ซึ่งเป็นเทคนิคใน Natural Language Processing (NLP) ที่สามารถแยกแยะแง่มุมสำคัญของรีวิว (เช่น การจัดส่ง คุณภาพสินค้า บรรจุภัณฑ์) และวิเคราะห์อารมณ์ (บวก ลบ หรือเป็นกลาง) ของแต่ละแง่มุม ระบบนี้ช่วยให้ผู้บริโภคและร้านค้าสามารถเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกได้อย่างมีประสิทธิภาพ โครงการนี้ได้พัฒนา AI สำหรับการวิเคราะห์ ABSA ภาษาไทย โดยใช้ WangchanBERTa ซึ่งฝึกบนข้อมูลภาษาไทย และเปรียบเทียบกับโมเดลต่างๆ เช่น TF-IDF + Logistic Regression, Word2Vec + BiLSTM, และ Multilingual BERT (mBERT/XLM-R) เพื่อประเมินประสิทธิภาพในด้านความแม่นยำ ความเร็ว และการใช้ทรัพยากร นอกจากนี้ยังมีการแสดงผลผ่าน Dashboard Visualization เพื่อให้ผู้ใช้เข้าใจแนวโน้มของรีวิวได้อย่างรวดเร็ว ผลลัพธ์ที่คาดหวังคือการพัฒนาเครื่องมือ AI ที่ใช้งานจริงในอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซ ช่วยให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อสินค้าได้ง่ายขึ้น และช่วยร้านค้าในการปรับปรุงผลิตภัณฑ์และบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คณะวิทยาศาสตร์
การสรรหาบุคลากรเป็นกระบวนการสำคัญที่ช่วยให้องค์กรสามารถคัดเลือกบุคลากรที่มีคุณสมบัติตรงตามความต้องการของตำแหน่งงาน อย่างไรก็ตาม กระบวนการนี้มักเผชิญกับปัญหาด้านการจัดการข้อมูล ความล่าช้า และอคติของมนุษย์ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันอัจฉริยะสำหรับการสรรหาพนักงานโดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อช่วยประเมินและให้คะแนนความเหมาะสมของผู้สมัครกับตำแหน่งงาน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลจากประวัติย่อ (Resume) และกระบวนการจับคู่คุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด ระบบที่พัฒนาขึ้นตามหลักการอาไจล์ (Agile ) ใช้เทคโนโลยีการประมวลผลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing: NLP) ในการวิเคราะห์ประวัติย่อ พิจารณาคุณสมบัติ ทักษะ และประสบการณ์ของผู้สมัคร พร้อมทั้งใช้การเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning) ในการคาดการณ์และจัดลำดับความเหมาะสม ระบบสามารถรวบรวมข้อมูลจากหลายแหล่งให้อยู่ในฐานข้อมูลเดียวกัน เพื่อลดความซ้ำซ้อนและข้อผิดพลาดจากการป้อนข้อมูล และนำเสนอข้อมูลผ่านแดชบอร์ดเพื่อให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคลสามารถตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ