สาหร่ายขนาดเล็กอุดมไปด้วยสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ สารเหล่านี้อาจมีผลช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของโพรไบโอติกที่จำเป็นต้องอาศัยสารอาหารที่เหมาะสม หรือที่เรียกว่าพรีไบโอติก งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดหยาบจากสารภายในเซลล์ของสาหร่ายขนาดเล็ก Chlorella sp. KLSc61 ต่อการส่งเสริมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์โพรไบโอติก Lactiplantibacillus plantarum JCM1149 ภายใต้สภาวะระบบย่อยอาหารจำลอง โดยทำการสกัดสารจากภายในเซลล์สาหร่าย ด้วยเอทานอลเข้มข้น 70% (v/v) เพื่อเตรียมสารสกัดสำหรับการทดสอบผลต่อการเจริญของโพรไบโอติกแบคทีเรีย จากนั้นนำสารสกัดจากสาหร่าย ที่ความเข้มข้น 0.1%, 0.75% และ 1.5% มาทดสอบการเจริญเติบโตของโพรไบโอติกแบคทีเรีย Lactiplantibacillus plantarum JCM1149 โดยวัดการเจริญของโพรไบโอติกแบคทีเรีย ด้วยวิธีการดรอปเพลท ผลการศึกษานี้จะช่วยให้เข้าใจถึงศักยภาพของสารสกัดจาก Chlorella sp. KLSc61 ในการส่งเสริมการเจริญของโพรไบโอติก ซึ่งอาจนำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่มีคุณสมบัติเป็นซินไบโอติก (Synbiotic) ที่มีทั้งโพรไบโอติกและพรีไบโอติกในอนาคต อีกทั้งยังสามารถเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการศึกษาต่อยอดเกี่ยวกับบทบาทของสารสกัดจากสาหร่ายต่อสุขภาพระบบทางเดินอาหารและระบบภูมิคุ้มกัน
ในปัจจุบันผู้บริโภคมีความตระหนักถึงความสำคัญของการรักษาสมดุลในระบบย่อยอาหารมากขึ้น เนื่องจากระบบย่อยอาหาร มีผลต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันและสุขภาพโดยรวม เซลล์ภูมิคุ้มกันของร่างกายอาศัยอยู่ในระบบทางเดินอาหารประมาณ 70-80% (Bergenhenegouwen et al., 2021) การดูดซึมสารอาหาร การเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน และสุขภาพจิต หนึ่งในกลไกที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพลำไส้ คือการบริโภคโพรไบโอติกหรือจุลินทรีย์มีชีวิตที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เมื่อบริโภคในปริมาณที่เหมาะสม จะช่วยส่งเสริมสุขภาพของผู้บริโภคโดยการรักษาสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้อย่างไรก็ตาม เพื่อให้โพรไบโอติกสามารถเจริญเติบโตและทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ จำเป็นต้องมีสารอาหารที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของโพรไบโอติก นั่นคือ พรีไบโอติก พรีไบโอติก เป็นใยอาหารชนิดพิเศษที่ร่างกายไม่สามารถย่อยได้ แต่เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของโพรไบโอติก เมื่อโพรไบโอติกได้รับสารอาหารที่เพียงพอจากพรีไบโอติก จุลินทรีย์เหล่านี้จะสามารถเติบโตและทำหน้าที่ในการปรับสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ได้ดีขึ้น การบริโภคผลิตภัณฑ์ที่มีทั้งพรีไบโอติกและโพรไบโอติก หรือ ซินไบโอติกจึงเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการส่งเสริมสุขภาพลำไส้และป้องกันปัญหาต่าง ๆ เช่น อาการท้องผูก การอักเสบในลำไส้ และการเกิดโรคลำไส้อักเสบ โดยพรีไบโอติกส์ที่เป็นที่นิยมส่วนใหญ่พบในสาหร่าย น้ำผลไม้ เปลือก เมล็ด พืชสมุนไพรจีนดั้งเดิม และจุลินทรีย์ที่เกี่ยวข้องกับโพลีแซกคาไรด์ โพลีฟีนอล และโพลีเปปไทด์ (Wang et al., 2021) ดังนั้น ผู้จัดทำนี้จึงสนใจที่จะทำการศึกษาสารสกัดหยาบจากสารภายในเซลล์สาหร่ายขนาดเล็ก Chlorella sp. KLSc61 เพื่อประเมินความสามารถในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์โพรไบโอติกสายพันธุ์ Lactobacillus plantarum JCM 1149 ภายใต้สภาวะระบบย่อยอาหารจำลอง เพื่อทราบถึงประสิทธิภาพสารสกัดสาหร่าย Chlorella sp. KLSc61 ในการส่งเสริมสุขภาพของระบบย่อยอาหาร และเป็นแนวทางในการพัฒนา ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่มีโพรไบโอติกและพรีไบโอติกในอนาคต
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
ในปัจจุบันปัญหาด้านภาวะพัฒนาการบกพร่องด้านการเขียนที่เกิดขึ้นในเด็กนั้น เป็นปัญหาที่ควรให้ความ สําคัญอย่างมากสําหรับเด็กในวัยเรียนรู้ โดยการวินิจฉัยว่าตัวเด็กนั้นมีความผิดปกติทางภาวะพัฒนาการบกพร่องด้านการเขียนหรือไม่นั้น จำต้องอาศัยแบบประเมินทักษะในการเขียน ซึ่งจะถูกนำไปให้ผู้ที่ต้องการวินิจฉัยทำ และถูกประเมินโดยแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีข้อจำกัดในเรื่องของรูปแบบในการวินิจฉัยที่ต้องอาศัยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จึงทำให้มีความต้องการทางด้านทรัพยากรบุคคลเป็นอย่างมาก เราจึงทำการออกแบบวิธีในการให้คะแนนผ่านแบบประเมินทักษะในการเขียน โดยใช้เทคโนโลยีประมวลผลภาพและอาศัยเกณฑ์การให้คะแนนจากเกณฑ์ดังเดิม โดยมีเกณฑ์การให้คะแนนที่สามารถหาได้ปัจจุบันอยู่ 3 เกณฑ์ตอนนี้ คือ ตําแหน่ง การเขียนบทความ รูปแบบบทความ และความเร็วในการคัดลอก อีกทั้งเรายังทำการจัดสร้างเว็บแอปพลิเคชันเพื่อให้สามารถให้งานระบบได้ง่ายยิ่งขึ้น
คณะวิศวกรรมศาสตร์
ปัญหาการขาดแคลนน้ำจืดเป็นวิกฤตระดับโลก เนื่องจากปริมาณน้ำจืดที่สามารถใช้ในการอุปโภคได้มีจำกัด ขณะที่ความต้องการใช้น้ำเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การแยกเกลือออกจากน้ำทะเลเป็นแนวทางสำคัญในการแก้ไขปัญหานี้ อย่างไรก็ตาม กระบวนการดังกล่าวต้องใช้พลังงานสูงและพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล ส่งผลให้ต้นทุนสูงและกระทบต่อสิ่งแวดล้อม งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์หลักคือเพื่อศึกษาการใช้พลังงานความร้อนจากตัวเก็บพลังงานแสงอาทิตย์แบบท่อสุญญากาศในการผลิตน้ำจืด โดยใช้กระบวนการระเหยและควบแน่นเพื่อนำน้ำบริสุทธิ์ออกจากสารละลายปนเปื้อน การศึกษานี้มุ่งเน้นการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของระบบโดยเปรียบเทียบปริมาณน้ำจืดที่ผลิตได้กับพลังงานที่ใช้ ผลลัพธ์ของงานวิจัยนี้อาจนำไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตน้ำจืดที่มีความยั่งยืนและเหมาะสมสำหรับพื้นที่ที่มีทรัพยากรน้ำจืดจำกัด
คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ
ซีรีย์ภาพถ่ายที่สื่อถึงสภาวะนามธรรมของตนเอง ที่ตั้งคำถามถึงการดำรงอยู่ อันเกิดจากการถูกรายล้อมไปด้วยความคาดหวัง ทั้งในแง่ของเสรีภาพในการแสดงออก และการยอมจำนน การมุ่งความสนใจไว้ที่ตนเอง ทำให้เกิดความรู้สึกนึกถึงอดีตที่แทบจะลืมเลือนไปแล้ว ให้กลับมาจนชัดเจนอีกครั้ง