เเนวความคิดของงานนี้ ผมได้มาจากความสงสัยที่ว่า ถ้าในการเดินทางข้ามมิติในอวกาศใช้ระบบเทเลพอร์ต ซึ่งก็คือการลบมวลสารจากจุดนึงไปยังอีกจุดนึงโดยคงสภาพมวลสารนั้นไว้ เกิดความผิดพลาด ซึ่งก็คือมวลสารเหล่านั้นถูกสร้างขึ้นมาใหม่รวมกันจะสิ่งที่ออกมาจะเป็นสัตว์ทดลองหลอมรวมเข้ากับตัวยาน ผมเลือกตัวหมีน้ำเป็นสัตว์ทดลองตัวเเรกที่ใช้ระบบเทเลพอร์ตเพราะหมีน้ำเคยถูกส่งไปอวกาศมาเเล้วเเละรอดกลับมาได้ด้วย เลยคิดว่าถ้าความจริงเรากำลงจะทดลองระบบเทเลพอร์ตนี้ หมีน้ำก็คงจะมีโอกาสโดนจับไปทดลองสูง
โดยส่วนตัวผมเป็นคนที่ค่อนข้างชอบสื่อเเละนิยาย ที่เกี่ยวกับไซไฟ ผมเลยอยากนำมาต่อยอดเข้ากับการสร้างงานโมเดลของตนเองเพื่อตอบสนองความชอบเเละความเป็นไปได้ต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในโลกความเป็นจริง
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี
การจะเต้นบัลเลต์ได้ดีจำเป็นต้องมีการจัดระเบียบร่างกายที่ชัดเจน ดังนั้น เพื่อเป็นการสร้างมาตรฐานและแรงบันดาลใจสำหรับนักเรียนหรือนักเต้นชาวไทย ผู้วิจัยจึงสร้างอุปกรณ์นี้ขึ้นมาเพื่อให้นักเต้นและบุคคลทั่วไปสามารถเรียนรู้และตรวจสอบพัฒนาการในการเต้นของตัวเอง โดยเทียบเคียงกับนักบัลเลต์ที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติได้ โดยไม่จำเป็นที่จะต้องเรียนแบบ Face-to-face กับนักบัลเลต์ท่านนั้นโดยตรง เพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงตัวเองให้มีความสามารถสูงขึ้นตามจุดประสงค์ของแต่ละคน โดยเครื่องนี้สามารถพกพาได้สะดวก เพียงแค่ต่ออุปกรณ์กับจอภาพแล้วเปิดเครื่องก็สามารถใช้งานได้ทันที
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
ปลากระเบนตุ๊กตา (Brevitrygon heterura) เป็นปลากระเบนที่พบได้บ่อยในตลาดท้องถิ่น แต่เช่นเดียวกับปลากระเบนชนิดอื่นๆ ปลากระเบนตุ๊กตาก็เผชิญกับการคุกคามจากการประมงเกินขนาดและการทำลายแหล่งที่อยู่อาศัย ดังนั้น การระบุชนิดของปลาที่ถูกต้องจึงมีความสำคัญ เนื่องจากมาตรการอนุรักษ์อาจแตกต่างกันตามชนิดของปลา งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความแปรผันทางลักษณะภายนอกของ B. heterura ในอ่าวไทยโดยการศึกษาทางสัณฐานวิทยาและการวิเคราะห์พันธุกรรม ในระหว่างเดือนตุลาคม 2565 ถึงกุมภาพันธ์ 2566 ได้เก็บตัวอย่างจำนวน 49 ตัวอย่างจากท่าเรือที่จอดเรือ พบว่ามีสองกลุ่มที่แตกต่างกันตามลักษณะทางสัณฐานวิทยาโดยพิจารณาจาก 40 สัดส่วน ตัวอย่างจากจังหวัดจันทบุรี ระยอง ชลบุรี สมุทรสาคร นครศรีธรรมราช และสงขลา ซึ่งเรียกว่ากลุ่ม A มักมีความยาวปากยาวกว่าตัวอย่างจากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเรียกว่ากลุ่ม B ตามลักษณะทางสัณฐานภายนอกที่ใช้ในการระบุชนิดของปลา มีสัดส่วนทางสัณฐานวิทยา สาม สัดส่วนที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญระหว่างกลุ่ม A และกลุ่ม B ลักษณะหลักที่อธิบายความแปรผันภายในชนิดระหว่างกลุ่ม A และกลุ่ม B จะได้รับการอภิปรายเพิ่มเติม การศึกษารหัสพันธุกรรมดีเอ็นเอบาร์โค้ดจากชิ้นส่วนของยีน cytochrome c oxidase subunit I (COI) จากตัวอย่าง 41 ตัวอย่างจากกลุ่ม A และ 8 ตัวอย่างจากกลุ่ม B พบว่าเปอร์เซ็นต์ความแตกต่างของลำดับรหัสพันธุกรรม (p-distance) ระหว่างกลุ่ม A และกลุ่ม B อยู่ที่ 0.0-2.5 การศึกษานี้ช่วยเพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับความแปรผันของรูปแบบและพันธุกรรมของ B. heterura ในอ่าวไทย
คณะบริหารธุรกิจ
หนังสือเล่มนี้มุ่งให้ความรู้พื้นฐานการจัดการธุรกิจเทคโนโลยี โดยมีกรณีศึกษาที่ครอบคลุมธุรกิจเทคโนโลยีในหลากหลายสาขา