โครงการนี้มุ่งสำรวจศักยภาพของการบำบัดด้วยไบนัวรอลบีท (Binaural Beats) ในสภาพแวดล้อมเสียงสามมิติ โดยมุ่งเน้นผลกระทบของการกำหนดตำแหน่งเสียงบีท (Beat) ในมิติซ้าย-ขวา (L-R) ในตำแหน่งต่างๆ โดยใช้เทคโนโลยี Dolby Atmos เพื่อสร้างประสบการณ์เสียงที่สมจริง งานวิจัยนี้มีเป้าหมายเพื่อศึกษาว่าการจัดตำแหน่งเสียงบีท (Beat) ในมิติต่าง ๆ ในการบำบัดด้วยไบนัวรอลบีท (Binaural Beats) จะมีผลอย่างไรต่อจิตใจและอารมณ์ ไบนัวรอลบีท (Binaural Beats) เป็นรูปแบบหนึ่งของการเหนี่ยวนำคลื่นสมอง (Auditory Brainwave Entrainment) ซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถช่วยให้เกิดการผ่อนคลาย ลดความวิตกกังวล และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของสมองได้ อย่างไรก็ตาม ยังมีการศึกษาเพียงเล็กน้อยเกี่ยวกับวิธีที่เทคโนโลยีเสียงสามมิติ งานวิจัยนี้จะตรวจสอบว่าการกำหนดตำแหน่งเสียงบีท (Beat) ในมิติซ้าย-ขวาที่แตกต่างกันในสภาพแวดล้อมเสียงสามมิติจะส่งผลอย่างไรต่อการรับรู้และผลลัพธ์ในการบำบัด ผู้เข้าร่วมจะได้รับประสบการณ์การบำบัดด้วยไบนัวรอลบีท (Binaural Beats) ในตำแหน่งซ้าย-ขวาต่าง ๆ ของบีท (Beat) โดยจะมีการวัดผลด้านสรีรวิทยา เช่น ความแปรปรวนของอัตราการเต้นของหัวใจ และการประเมินระดับความผ่อนคลายตามการรายงานของผู้เข้าร่วม ผลการวิจัยคาดว่าจะให้ข้อมูลเชิงลึกใหม่เกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมเสียงสามมิติกับการบำบัดด้วยเสียง ซึ่งอาจช่วยพัฒนาการบำบัดด้วยเสียงให้ดียิ่งขึ้นด้วยการใช้เทคโนโลยีเสียงขั้นสูง
การบำบัดด้วยเสียงเป็นหนึ่งในวิธีการบำบัดที่ได้รับความนิยมและมีการใช้งานในหลายสาขา ไม่ว่าจะเป็นในด้านการแพทย์, การบำบัดทางจิตวิทยา, หรือในศูนย์ฟื้นฟูสุขภาพต่าง ๆ การบำบัดด้วยเสียงมีประสิทธิภาพในการช่วยลดความเครียด, ส่งเสริมการนอนหลับ, และปรับปรุงสมาธิ นอกจาก ดนตรีบำบัด (Music therapy) ที่ใช้กันมาอย่างแพร่หลาย เสียงไบนัวรอลบีท (Binaural beat) ยังเป็นหนึ่งในรูปแบบเสียงที่ได้รับความสนใจจากนักวิจัย เนื่องจากมีหลักฐานที่บ่งชี้ว่าสามารถช่วยปรับปรุงสภาวะจิตใจและร่างกายของผู้ฟังได้ เสียงไบนัวรอลบีทเกิดขึ้นเมื่อมีการเปิดเสียงที่มีความถี่ต่างกันเพียงเล็กน้อยในแต่ละหู ทำให้สมองสร้างคลื่นเสียงใหม่ที่มีความถี่เท่ากับความแตกต่างระหว่างความถี่ทั้งสอง คลื่นเสียงนี้สามารถกระตุ้นสมองในลักษณะที่ช่วยในการผ่อนคลาย, การเพิ่มสมาธิ, และการนอนหลับที่ดีขึ้น ระบบเสียงรอบทิศทาง (Immersive sound system) เป็นเทคโนโลยีที่สามารถสร้างประสบการณ์การฟังที่มีความสมจริงและสมบูรณ์มากขึ้น โดยการใช้ลำโพงหลายตัวหรือหูฟังแบบพิเศษ เพื่อสร้างเสียงที่มาจากทุกทิศทาง การนำเสียงไบนัวรอลบีทมาใช้ในระบบเสียงรอบทิศทางนั้นมีศักยภาพที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบำบัด เนื่องจากเสียงที่มีความสมจริงและลึกซึ้งมากขึ้นช่วยให้ผู้ฟังดื่มด่ำและมีปฏิกิริยาตอบสนองที่ดีกว่า นอกจากนี้ การศึกษานี้ยังมีความสำคัญในการเป็นฐานข้อมูลและแนวทางสำหรับการวิจัยในอนาคตเกี่ยวกับการใช้เสียงในด้านต่าง ๆ การวิจัยที่เกิดขึ้นสามารถนำไปสู่การค้นพบวิธีการใหม่ ๆ ในการบำบัดด้วยเสียงและการใช้เสียงเพื่อปรับปรุงสภาวะจิตใจและร่างกายของผู้คนในสังคม
คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ
-
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี
นวัตกรรมเมืองสีเขียว "Green and Smart City Innovation" การบูรณาการนวัตกรรมเพื่อสังคม (Social Innovation) และนวัตกรรมเพื่อเมืองอัจฉริยะ (Innovation for Smart City) อย่างเป็นรูปธรรมในพื้นที่ต้นแบบ จ.เชียงราย โดยมีฐานการวิจัยและพัฒนาการเรียนรู้ในพื้นที่แบบสหวิทยาการ (Interdisiplinary collabarative learning approach) โดยชุมชน เพื่อชุมชนอันมีกลไกของหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องช่วยหนุนเสริม และขับเคลื่อน วัฒนผลิตภัณฑ์สู่่การประยุกต์ใช้ในงานออกแบบสถาปัตยกรรม Project Title : “APOLE” Cultural Product Design: The Cultural Product Design Beyond. เสาอัจฉริยะ A POLE ตอบโจทย์ SMART CITY ครอบคลุมวิถีชีวิตคนรุ่นใหม่ “การพัฒนาเมืองที่มีความประสงค์ที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยการเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการ การบริหารจัดการเมือง การลดค่าใช้จ่าย และการใช้ทรัพยากร โดยเน้นกลไกการมีส่วนร่วมของภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และภาควิชาการ ภายใต้แนวคิดการพัฒนาเมืองน่าอยู่ ทันสมัย อย่างยั่งยืน ให้ประชาชนในเมืองมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นเครื่องมือ” เพื่อก้าวสู่เมืองอัจฉริยะ Smart City ในอนาคต ภาครัฐบาลใช้เทคโนโลยีมาเป็นตัวขับเคลื่อน โดยเน้นการสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นอยู่ของคนในท้องถิ่น โดยดำเนินการวางโครงสร้างพื้นฐานสื่อสารโทรคมนาคม เสาอัจฉริยะ การจัดระเบียบสายไฟฟ้าและสายสื่อสารลงดิน การติดตั้งระบบกล้องวงจรปิดอัจฉริยะ ระบบปรับปรุงคุณภาพอากาศ อุปกรณ์ Internet of Things (IoT) และระบบการควบคุมเทคโนโลยี Internet of Things (IoT) ซึ่งช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนให้สามารถใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพมากขึ้น เสาไฟอัจฉริยะ A Pole สามารถรองรับนวัตกรรมที่ทันสมัยได้อย่างไร้ขีดจำกัดและมีประสิทธิภาพ เป็นหนึ่งสัญญาณหลักว่าเมืองกำลังพัฒนาไปสู่ยุคเทคโนโลยีอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อพัฒนาไปสู่ความเป็นเมืองอัจฉริยะ
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
ทุเรียนเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทยและเป็นสินค้าส่งออกที่มีปริมาณสูงที่สุดในโลก อย่างไรก็ตาม การผลิตทุเรียนให้มีคุณภาพสูงจำเป็นต้องอาศัยการดูแลสุขภาพของต้นทุเรียนให้แข็งแรงและปราศจากโรค เพื่อให้สามารถให้ผลผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ และลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับทั้งต้นและผลทุเรียน โรคที่พบได้บ่อยและสามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว มักเป็นโรคที่เกิดขึ้นบริเวณใบ ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเจริญเติบโตของต้นทุเรียนและคุณภาพของผลผลิต การตรวจสอบและควบคุมโรคทางใบจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการรักษาคุณภาพของทุเรียน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเทคโนโลยีการวิเคราะห์ภาพถ่ายร่วมกับปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) มาประยุกต์ใช้ในการจำแนกโรคที่เกิดขึ้นในใบทุเรียน เพื่อให้เกษตรกรสามารถตรวจสอบโรคได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญ โดยจำแนกใบออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ใบสุขภาพดี (Healthy: H) ใบที่ติดเชื้อแอนแทรคโนส (Anthracnose: A) และใบที่ติดเชื้อจุดสาหร่าย (Algal Spot: S) ทั้งนี้ ได้นำอัลกอริทึม Convolutional Neural Networks (CNN) ได้แก่ ResNet-50, GoogleNet และ AlexNet มาใช้ในการพัฒนาแบบจำลองเพื่อจำแนกประเภทของโรค ผลการทดลองพบว่า แบบจำลองที่ใช้ ResNet-50, GoogleNet และ AlexNet ให้ค่าความแม่นยำในการจำแนกใบเท่ากับ 93.57%, 93.95% และ 68.69% ตามลำดับ