เจลลี่ลูกชกที่ผลิตจากผลไม้ท้องถิ่นของจังหวัดพังงา โดยใช้ความหวานจากหญ้าหวานแทนน้ำตาล ถือเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปที่มีมูลค่าเพิ่มจากทรัพยากรท้องถิ่น ช่วยตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพและต้องการลดการบริโภคน้ำตาล นอกจากนี้ ยังเป็นผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืน เนื่องจากใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น และมีศักยภาพในการเป็นของฝากที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดพังงา ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการเกษตรในท้องถิ่นและกระตุ้นเศรษฐกิจของภูมิภาค"
การพัฒนาผลิตภัณฑ์เจลลี่จากผลลูกชก ซึ่งเป็นผลไม้ท้องถิ่นของจังหวัดพังงาที่มีความโดดเด่นและหายาก วงจรชีวิตที่สั้นและให้ผลผลิตเพียงปีละครั้ง การนำลูกชกมาแปรรูปเป็นเจลลี่จึงเป็นการเพิ่มมูลค่าและยืดอายุการเก็บรักษาของผลผลิตทางการเกษตรท้องถิ่น นอกจากนี้ การใช้หญ้าหวานเป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาลยังสอดคล้องกับแนวโน้มของผู้บริโภคที่หันมาใส่ใจสุขภาพและต้องการผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำตาลต่ำอีกด้วย ลูกชกมีคุณสมบัติทางโภชนาการที่น่าสนใจ โดยมีเนื้อสัมผัสที่นุ่มและมีสรรพคุณช่วยลดไขมันในเลือด ลดระดับน้ำตาลในเลือด และช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในร่างกายได้เป็นอย่างดี การนำลูกชกมาแปรรูปเป็นเจลลี่จึงเป็นการนำเสนอผลิตภัณฑ์อาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง และตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่ต้องการดูแลสุขภาพ โครงการวิจัยนี้คาดว่าจะก่อให้เกิดผลประโยชน์หลายประการ ได้แก่ การอนุรักษ์พันธุ์พืชท้องถิ่น การสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร และการส่งเสริมการท่องเที่ยวในจังหวัดพังงา นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์เจลลี่ลูกชกยังมีศักยภาพที่จะสามารถสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนได้อย่างยั่งยืน
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของการนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาโมเดล Machine Learning และแนวทางการพัฒนาโมเดลทำนายลูกค้าที่มีแนวโน้มที่จะยกเลิกการใช้บริการบัตรเครดิตของธนาคารมาประยุกต์ใช้กับข้อมูลจริงในอุตสาหกรรมบัตรเครดิตของสถาบันทางการเงิน ผ่านการฝึกงานที่สถานประกอบการทางการเงินแห่งหนึ่ง ซึ่งผู้จัดทำได้ทำการพัฒนาโมเดลทำนายลูกค้าที่มีแนวโน้มที่จะยกเลิกการใช้บริการบัตรเครดิตของสถาบันทางการเงินจากข้อมูลลูกค้าจริงผ่านระบบที่สถานประกอบการใช้งาน ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การสร้างโมเดลที่สามารถทำนายการเลิกใช้บริการของลูกค้าได้อย่างแม่นยำ โดยมีการเลือกฟีเจอร์ข้อมูลให้เหมาะสมกับโมเดลการทำนายและลักษณะเฉพาะของข้อมูลในอุตสาหกรรมบัตรเครดิต เพื่อโมเดลที่มีประสิทธิภาพและถูกต้องมากที่สุด โดยรายงานฉบับนี้ยังครอบคลุมถึงการนำโมเดลที่ได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการการพัฒนาเว็บไซต์เพื่อช่วยให้แผนกอื่นๆที่เกี่ยวข้องสามารถใช้งานโมเดลทำนายได้อย่างสะดวก โดยผู้ใช้สามารถอัปโหลดข้อมูลสำหรับการทำนายและรับผลลัพธ์จากโมเดลได้ทันที นอกจากนี้ยังมีการสร้าง Dashboard เพื่อนำเสนอข้อมูลเชิงลึกที่เกิดจากการทำนายของโมเดล เช่น การระบุกลุ่มลูกค้าที่มีความเสี่ยงสูงในการเลิกใช้บริการ รวมถึงข้อมูลเชิงวิเคราะห์ที่มีความสำคัญต่อการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการวางแผนการตลาดและการรักษาลูกค้าในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
คณะวิศวกรรมศาสตร์
ระบบไฮโดรโปนิกส์แบบควบคุมอัตโนมัติสำหรับใช้ในครัวเรือนได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อตอบโจทย์ผู้ที่มีพื้นที่น้อยแต่ต้องการปลูกผักสลัดเองในบ้านอย่างสะดวกและง่ายดาย ระบบนี้ออกแบบมาให้สามารถควบคุมการให้ธาตุอาหารโดยอัตโนมัติผ่านการตั้งค่าสภาพการนำไฟฟ้า (EC) และ pH ที่เหมาะสมสำหรับผักสลัดที่ต้องการปลูก มีแสงประดิษฐ์ร่วมเพื่อให้สามารถปลูกในพื้นที่จำกัดที่อาจมีแสงอาทิตย์ไม่เพียงพอได้ และยังเป็นระบบที่มีต้นทุนต่ำกว่าที่มีจำหน่ายในท้องตลาด จากการตรวจสอบระบบการควบคุมค่า EC และ pH พบว่าระบบปลูกนี้สามารถทำงานได้ดีและควบคุมการให้ธาตุอาหารจนถึงค่า EC และ pH ที่ตั้งไว้ได้ภายในเวลาไม่เกิน 30 นาที และรักษาค่าที่ตั้งไว้ได้ตลอดการเปิดทำงานของระบบ ในการทดลองปลูกผักสลัดกรีนโอ๊คโดยจำลองการตั้งระบบปลูกบริเวณระเบียง พบว่าต้นกรีนโอ๊คมีการเจริญเติบโตด้วยอัตราการเติบโตที่สูงกว่าการปลูกตามปกติ โดยเฉพาะเมื่อใช้แสงประดิษฐ์ร่วม
คณะวิศวกรรมศาสตร์
โครงงานนี้มุ่งเน้นการพัฒนาอุปกรณ์ทดสอบเครื่องอัดประจุของยานยนต์ไฟฟ้าแบบกระแสสลับ (AC Charger) ตามมาตรฐาน IEC 61851-1 ภาคผนวก A โดยการจำลองวงจรทดสอบภายในยานยนต์ไฟฟ้าตามมาตฐาน เพื่อใช้ทดสอบการทำงานของเครื่องอัดประจุไฟฟ้ากระแสสลับ โดยในหัวข้อการทดสอบเกี่ยวข้องกับการสื่อสารระหว่างยานยนต์ไฟฟ้ากับเครื่องอัดประจุผ่านระบบวงจรควบคุมด้วยสัญญาณ Pulse Width Modulation (PWM) และจัดทำคู่มือปฏิบัติงาน (WI) เพื่อเตรียมการทดสอบให้เป็นไปตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 ซึ่งเป็นข้อกำหนดทั่วไปว่าด้วยความสามารถห้องปฏิบัติการในการดำเนินการทดสอบและ/ หรือสอบเทียบ ซึ่งภาพรวมของโครงการนี้คือ พัฒนาอุปกรณ์ทดสอบและจัดทำคู่มือปฏิบัติงาน โดยได้นำเอาองค์ความรู้และอุปกรณ์ต่างๆมาทำการเก็บข้อมูล จากนั้นนำข้อมูลมาเปรียบเทียบให้เป็นไปตามมาตรฐานข้างต้น เพื่อทดสอบเครื่องอัดประจุไฟฟ้ากระแสสลับ Type II ในแต่ละสถานะ อุปกรณ์การทดสอบประกอบไปด้วยส่วนของการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ทดสอบกับเครื่องอัดประจุไฟฟ้ากระแสสลับ โดยใช้ PLC S7-1200 และ HMI เพื่อควบคุมการทำงานของสวิตช์ในวงจรอุปกรณ์ทดสอบ รวมถึงการควบคุมพารามิเตอร์และแสดงผล ส่วนของอุปกรณ์ที่ใช้วัดค่าออสซิโลสโคปและมัลติมิเตอร์ที่ผ่านกระบวนการสอบเทียบเครื่องมือวัด เพื่อให้สอดคล้องกับมาตฐานที่กำหนดไว้