KMITL Innovation Expo 2025 Logo

เนรมิตา

รายละเอียด

แบบจำลองเชิงแนวคิด (conceptual model) ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากศิลปะอาร์ตเดโค (Art Deco) โดยนำความหรูหรา ความสง่างาม ความสมดุล และการใช้สีดำตัดกับสีทองซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของศิลปะอาร์ตเดโคมาสร้างสรรค์เป็นแบบจำลองเชิงแนวคิดที่มีลักษณะสมดุล มั่นคง สง่างาม ไล่ลำดับให้ดูมีความเคลื่อนไหว และใช้สีดำกับสีทองเพื่อแสดงถึงความหรูหราแบบอาร์ตเดโค

วัตถุประสงค์

เพื่อศึกษาเอกลักษณ์และความงามของศิลปะอาร์ตเดโคและนำมาประยุกต์ใช้ในงานออกแบบ

นวัตกรรมอื่น ๆ

การหาสภาวะที่เหมาะสมของกระบวนการผลิตน้ำอัญชันเข้มข้นด้วยการระเหยสุญญากาศ

คณะวิศวกรรมศาสตร์

การหาสภาวะที่เหมาะสมของกระบวนการผลิตน้ำอัญชันเข้มข้นด้วยการระเหยสุญญากาศ

โครงการปริญญานิพนธ์นี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาหาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตน้ำอัญชันเข้มข้นด้วยกระบวนการระเหยสุญญากาศ โดยเพื่อรักษาคุณภาพของสารสำคัญในดอกอัญชัน เช่น แอนโทไซยานิน ซึ่งเป็นสารสีธรรมชาติที่มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระสูง โดยใช้วิธีการวางแผนการทดลองแบบBox-Behnken Design ซึ่งเป็นวิธีทางสถิติที่ช่วยในการวิเคราะห์ปัจจัยหลายตัว การศึกษานี้เน้นการพิจารณาอัตราส่วนของดอกอัญชันแห้งต่อน้ำ อุณหภูมิการสกัด และอุณหภูมิการระเหย ซึ่งมีผลโดยตรงต่อการคงคุณภาพของสารสำคัญ สี กลิ่น และรสชาติ ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า การใช้อัตราส่วนดอกอัญชันแห้งต่อน้ำที่ 1:15 อุณหภูมิการสกัด 60 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิการระเหย 40 องศาเซลเซียส ภายใต้ความดันต่ำสามารถลดการสูญเสียสารสำคัญและรักษาคุณสมบัติของน้ำอัญชันเข้มข้นได้ดีที่สุด ข้อมูลที่ได้จากงานวิจัยนี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนากระบวนการผลิตน้ำอัญชันเข้มข้นในระดับอุตสาหกรรมและเพิ่มศักยภาพในการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่จากดอกอัญชัน

การประเมินโปรไบโอจีโนมิกส์ของความสามารถของโปรไบโอติกเอนเทอโรคอคคัส แลคติก RRS4 ที่มีศักยภาพที่แยกได้จากหัวไช้เท้าดองในการรักษาเอนเทอโรคอคคัสที่ดื้อต่อแวนโคไมซิน

คณะวิทยาศาสตร์

การประเมินโปรไบโอจีโนมิกส์ของความสามารถของโปรไบโอติกเอนเทอโรคอคคัส แลคติก RRS4 ที่มีศักยภาพที่แยกได้จากหัวไช้เท้าดองในการรักษาเอนเทอโรคอคคัสที่ดื้อต่อแวนโคไมซิน

เนื่องจากสายพันธุ์ Enterococcus lactis มีความใกล้ชิดกับ E. faecium และ ด้านคุณสมบัติที่เป็นประโยชน์และมีผลทางโปรไบโอติก ในการศึกษานี้ สายพันธุ์ RRS4 ถูกแยกจากหัวไช้เท้าดอง (Raphanus sativus Linn.) และทำการระบุชนิดโดยอาศัยลักษณะทางฟีโนไทป์และจีโนไทป์ สายพันธุ์ RRS4 แสดงความสามารถในการอยู่รอดในสภาวะแวดล้อมที่มี NaCl 2-8% ค่า pH ระหว่าง 4 ถึง 9 และอุณหภูมิระหว่าง 4°C ถึง 45°C การวิเคราะห์จีโนมแบบครอบคลุมยืนยันว่า RRS4 เป็น E. lactis นอกจากนี้ E. lactis RRS4 ยังแสดงฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ E. faecalis JCM 5803 ที่ดื้อต่อวานโคมัยซิน การประเมินความปลอดภัยโดยใช้วิธี in silico รวมถึงการวิเคราะห์ด้วย KEGG annotation พบว่า E. lactis RRS4 ไม่มียีนที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงของเชื้อหรือยีนที่ไม่พึงประสงค์ การวิเคราะห์ด้วย VirulenceFinder พบว่ายีนที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงของเชื้อมีความสอดคล้องกับยีนใน E. lactis สามสายพันธุ์ และ E. faecium สี่สายพันธุ์ แม้ว่าจะพบว่ายีนต้านทานยาปฏิชีวนะยังคงมีอยู่ แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับลักษณะการก่อโรคที่สำคัญ นอกจากนี้ การประเมินความปลอดภัยยังชี้ให้เห็นว่า E. lactis RRS4 มีความปลอดภัยโดยทั่วไป แม้ว่าจะมียีนที่เกี่ยวข้องกับการดื้อยาปฏิชีวนะก็ตาม สุดท้ายนี้ เราขอเสนอแนวทางในการประเมินความปลอดภัยของสายพันธุ์จุลินทรีย์โดยใช้การวิเคราะห์จีโนมทั้งหมด ซึ่งผลการศึกษานี้เป็นก้าวสำคัญในการวิจัยโปรไบโอติก

การออกแบบและพัฒนานวัตกรรมในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำไปใช้ในการตรวจสอบคุณภาพการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่

คณะวิศวกรรมศาสตร์

การออกแบบและพัฒนานวัตกรรมในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำไปใช้ในการตรวจสอบคุณภาพการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่

เนื่องจากสำนักงานดูแลกิจการโทรคมนาคม (ดท.) ของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) มีหน้าที่กำกับดูแลและการควบคุมคุณภาพการให้บริการโทรคมนาคมตามมาตรฐานกฎหมาย จึงมีการตรวจสอบคุณภาพการให้บริการโทรคมนาคมผ่านโครงข่ายโทรคมนาคมเคลื่อนที่ส่งผลให้ต้องเก็บข้อมูลของคุณภาพการให้บริการโทรคมนาคมจำนวนมหาศาล โดยโปรแกรม Microsoft Excel ซึ่งโปรแกรมหลักที่สำนักงานดูแลกิจการโทรคมนาคม (ดท.) ของสำนักงาน กสทช. ใช้ในการประมวลผลวิเคราะห์ข้อมูลที่ผ่านมานั้นประมวลผลได้ช้า ทางผู้จัดพัฒนามีความเห็นว่าในปัจจุบันได้มีนวัตกรรมที่ดีกว่าในการใช้งานเพื่อวิเคราะห์ข้อมูล ผู้พัฒนาเลือกใช้ Python Programing ในการประมวลผล วิเคราะห์ และจัดเตรียมข้อมูลต้นทางจากโปรแกรม Syberiz ของสำนักงาน กสทช. ในรูปของไฟล์ CSV จากนั้นนำไฟล์ที่ได้ไปทำการแสดงผลในรูปแบบของหน้าจอแสดงผล (Dashboard) ซึ่งประกอบไปด้วยส่วนของ กราฟ รายงานผลการทดสอบการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อน และแผนที่ เป็นไปตามประกาศมาตรฐานคุณภาพการให้บริการโทรคมนาคมของสำนักงาน กสทช. ในการแสดงผลค่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ โดยใช้โปรแกรม Power BI ในการออกแบบส่วนของการแสดงผล ส่งผลให้หน้าจอแสดงผล (Dashboard) ที่ได้นั้นมีความสวยงาม ง่ายต่อการใช้งาน และที่สำคัญคือความเร็วในการแสดงผลที่ดีกว่า Microsoft Excel โดยโครงงานได้ออกแบบเฉพาะเจาะจงเพื่อใช้งานในส่วนของสำนักงานดูแลกิจการโทรคมนาคม (ดท.) ของสำนักงาน กสทช. เท่านั้น