KMITL Innovation Expo 2025 Logo

อุปกรณ์สำหรับช่วยเหลือผู้มีความบกพร่องทางสายตา ในการใช้ชีวิตภายในอาคาร

อุปกรณ์สำหรับช่วยเหลือผู้มีความบกพร่องทางสายตา ในการใช้ชีวิตภายในอาคาร

รายละเอียด

ปริญญานิพนธ์นี้นำเสนอการใช้การเรียนรู้เชิงลึกสำหรับการจำแนกวัตถุ โดยอัลกอริทึมการเรียนรู้เชิงลึกมีโครงสร้างที่เลือกศึกษา ได้แก่ Convolution Neural Network (CNN) และ ResNet18 รวมถึงการเตรียมข้อมูล การดึงคุณลักษณะ การปรับพารามิเตอร์เพื่อเปรียบเทียบความแม่นยำ และการประเมินประสิทธิภาพของโมเดลที่เลือก เพื่อนำเสนอโมเดลที่มีประสิทธิภาพสำหรับการใช้งานกับอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้มีความบกพร่องทางสายตาในการจำแนกวัตถุภายในอาคารและส่งเสียงเตือน

วัตถุประสงค์

ในปัจจุบันปัญหาในการเคลื่อนที่และการรับรู้สภาพแวดล้อมรอบตัวสำหรับผู้บกพร่องทางสายตายังคงเป็นอุปสรรคสำคัญในสังคมส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อการเดินชนสิ่งกีดขวางและได้รับอันตราย ด้วยการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เข้ามาใช้ในการเรียนรู้ การวิเคราะห์ และประมวลผลข้อมูลได้อย่างรวดเร็วเพื่อจำแนกวัตถุ ปริญญานิพนธ์นี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อสร้างอุปกรณ์สำหรับช่วยเหลือผู้บกพร่องทางสายตาที่ใช้อัลกอริทึมการเรียนรู้เชิงลึกแบบต่างๆ เพื่อนำไปจำแนกวัตถุที่เป็นอุปสรรคสำหรับผู้บกพร่องทางสายตาในการทำกิจวัตรประจำวันภายในอาคารและส่งสัญญาณเตือนให้ผู้ใช้งานทราบให้เคลื่อนที่อย่างปลอดภัย

นวัตกรรมอื่น ๆ

คีเฟอร์นมรสมัลเบอร์รี่

คณะอุตสาหกรรมอาหาร

คีเฟอร์นมรสมัลเบอร์รี่

ขนมเจลลี่ทางเลือกใหม่ของคนรักสุขภาพ อร่อยง่าย พกพาสะดวก ดีต่อลำไส้ อุดมไปด้วยโพรไบโอติกและพรีไบโอติก มีสารต้านอนุมูลอิสระ และยังมีวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกาย เหมาะกับคนที่รัสุขภาพ และผู้ที่แพ้แลคโตสสามารถรับประทานได้ ไม่ใส่แต่งสี และแต่งกลิ่น

ลอยไปลอยมา

คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ

ลอยไปลอยมา

-

ผลิตภัณฑ์นายฮ้อยหัวฟู

วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์

ผลิตภัณฑ์นายฮ้อยหัวฟู

การศึกษาปรสิตในปลาหมอคางดำและการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า ปรสิตเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อสุขภาพของปลาและความสมดุลของระบบนิเวศทางทะเล การศึกษาปรสิตในปลาจึงมีบทบาทสำคัญในการประเมินสถานภาพประชากรปลาและผลกระทบต่อระบบนิเวศ งานวิจัยนี้มุ่งเน้นการสำรวจปรสิตเบื้องต้นในปลาหมอคางดำ (Sarotherodon melanotheron) ในน่านน้ำจังหวัดชุมพร เพื่อตรวจสอบว่าปลาชนิดนี้มีการติดเชื้อปรสิตหรือไม่ ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาจะช่วยเป็นแนวทางสำคัญสำหรับการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเล รวมถึงแนวทางในการนำปลาหมอคางดำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร เพื่อลดจำนวนประชากรของปลาชนิดนี้ในระบบนิเวศ หนึ่งในแนวทางการแปรรูปปลาหมอคางดำ คือ ผลิตภัณฑ์ "นายฮ้อยหัวฟู" ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อนำเนื้อปลามาทอดให้กรอบและฟู ก่อนนำมายำกับมะม่วงเพื่อเพิ่มรสชาติให้น่ารับประทานมากยิ่งขึ้น การแปรรูปนี้ไม่เพียงช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับปลา แต่ยังเป็นแนวทางในการบริหารจัดการประชากรปลาหมอคางดำที่อาจมีผลกระทบต่อระบบนิเวศ จากผลการศึกษา พบว่าไม่มีการติดเชื้อปรสิตทั้งภายในและภายนอกของปลาหมอคางดำที่เก็บตัวอย่าง ซึ่งบ่งชี้ว่าสภาพแวดล้อมทางทะเลในพื้นที่ศึกษามีความเหมาะสมต่อสุขภาพของปลา อย่างไรก็ตาม ควรมีการศึกษาต่อเนื่องเพื่อเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศในระยะยาว และประเมินผลกระทบของปลาหมอคางดำต่อความสมดุลของระบบนิเวศ เพื่อให้สามารถจัดการทรัพยากรได้อย่างยั่งยืน