KMITL Innovation Expo 2025 Logo

ความแปรผันภายในชนิดของปลากระเบน Brevitrygon heterura (Chondrichthyes: Dasyatidae) ในบริเวณอ่าวไทย

รายละเอียด

ปลากระเบนตุ๊กตา (Brevitrygon heterura) เป็นปลากระเบนที่พบได้บ่อยในตลาดท้องถิ่น แต่เช่นเดียวกับปลากระเบนชนิดอื่นๆ ปลากระเบนตุ๊กตาก็เผชิญกับการคุกคามจากการประมงเกินขนาดและการทำลายแหล่งที่อยู่อาศัย ดังนั้น การระบุชนิดของปลาที่ถูกต้องจึงมีความสำคัญ เนื่องจากมาตรการอนุรักษ์อาจแตกต่างกันตามชนิดของปลา งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความแปรผันทางลักษณะภายนอกของ B. heterura ในอ่าวไทยโดยการศึกษาทางสัณฐานวิทยาและการวิเคราะห์พันธุกรรม ในระหว่างเดือนตุลาคม 2565 ถึงกุมภาพันธ์ 2566 ได้เก็บตัวอย่างจำนวน 49 ตัวอย่างจากท่าเรือที่จอดเรือ พบว่ามีสองกลุ่มที่แตกต่างกันตามลักษณะทางสัณฐานวิทยาโดยพิจารณาจาก 40 สัดส่วน ตัวอย่างจากจังหวัดจันทบุรี ระยอง ชลบุรี สมุทรสาคร นครศรีธรรมราช และสงขลา ซึ่งเรียกว่ากลุ่ม A มักมีความยาวปากยาวกว่าตัวอย่างจากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเรียกว่ากลุ่ม B ตามลักษณะทางสัณฐานภายนอกที่ใช้ในการระบุชนิดของปลา มีสัดส่วนทางสัณฐานวิทยา สาม สัดส่วนที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญระหว่างกลุ่ม A และกลุ่ม B ลักษณะหลักที่อธิบายความแปรผันภายในชนิดระหว่างกลุ่ม A และกลุ่ม B จะได้รับการอภิปรายเพิ่มเติม การศึกษารหัสพันธุกรรมดีเอ็นเอบาร์โค้ดจากชิ้นส่วนของยีน cytochrome c oxidase subunit I (COI) จากตัวอย่าง 41 ตัวอย่างจากกลุ่ม A และ 8 ตัวอย่างจากกลุ่ม B พบว่าเปอร์เซ็นต์ความแตกต่างของลำดับรหัสพันธุกรรม (p-distance) ระหว่างกลุ่ม A และกลุ่ม B อยู่ที่ 0.0-2.5 การศึกษานี้ช่วยเพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับความแปรผันของรูปแบบและพันธุกรรมของ B. heterura ในอ่าวไทย

วัตถุประสงค์

ปลากระเบนสกุล Brevitrygon เป็นกลุ่มปลากระเบนที่จัดอยู่ในชั้น (class) Chondrichthyes อันดับ Myliobatiformes จัดอยู่ในกลุ่มปลากระดูกอ่อน สามารถพบได้ ทั้งในน้ำจืด น้ำกร่อยและทะเล ลักษณะส่วนใหญ่ของปลาอันดับนี้ ครีบอกจะแผ่ออกทางด้านข้าง ลำตัวค่อนข้างแบนลงคล้ายกับจาน มีเหงือกจำนวน 5 คู่อยู่ล่างของลำตัวช่วงส่วนหัวบริเวณที่ต่อจากส่วนท้ายตาจะมีช่องสำหรับน้ำเข้า (spiracle) ในแต่ละวงศ์ (family) จะมีลักษณะเด่นที่แตกต่างกัน ปลากระเบนสกุล Brevitrygon จัดอยู่ ในวงศ์ Dasyatidea ซึ่งมีลักษณะเด่นอยู่ที่หางยาวคล้ายแส้ ปลากระเบนสกุลนี้จากการศึกษามีทั้งหมด 4 ชนิด (Last et al. 2016) จากการรวบรวมข้อมูลจากต่างประเทศพบว่า ปลากระเบนสกุล Brevitrygon สามารถเจอใน ประเทศไทย 2 ชนิด ได้แก่ ปลากระเบนตุ๊กตา (B. heterura) และกระบาง (B. imbricata) (Last et al. 2016) โดยปลากระบางสามารถพบที่ทะเลฝั่งอันดามันเท่านั้น ซึ่งแตกต่างกับปลากระเบน ตุ๊กตาที่จะพบได้ทั้งบริเวณฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน แต่จากการรวบรวมรายงานข้อมูลปลากระดูกอ่อน ที่พบในน่านน้ำไทยและน่านน้ำใกล้เคียงโดยมีการจัดลำดับทางอนุกรมวิธาน (ทัศพล และคณะ, 2562) ได้พบว่ามีการเจอปลา กระเบนที่มีลักษณะที่คล้ายคลึง (Look- alike species) กับปลากระบางอาศัยใน บริเวณอ่าวไทย จึงได้มีการเรียกชื่อปลากระเบนชนิดนี้ว่า B. cf. imbricate ดังนั้นจึงจ้าเป็นต้องมี การศึกษาเพื่อยืนยันชนิดของปลากระเบนสกุล Brevitrygon ที่พบในน่านน้ำไทย และเพื่อตรวจสอบและ เปรียบเทียบความแตกต่างของลักษณะทางอนุกรมวิธานจากสัณฐานวิทยาภายนอกของปลากระเบนสกุลนี้ จากการการสำรวจโดยกรมประมงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ไปจนถึง 2560 มีแนวโน้มที่มีการศึกษาและค้นพบ ปลากระดูกอ่อนชนิดใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ (Krajangdara, 2017) ตรงกันข้ามกับการศึกษา ชนิดของปลากระดูกอ่อนที่คล้ายคลึงกันในประเทศไทย ซึ่งมีแนวโน้มลดลงและไม่ได้รับความนิยม ทำให้ข้อมูลทางวิชาการด้านอนุกรมวิธานยังมีไม่เพียงพอ รวมไปถึงปลากระเบนสกุล Brevitrygon ที่เป็นปลากระเบนที่พบจำนวนมากในประเทศไทย แต่ยังมีความไม่ชัดเจนและคล้ายคลึงกันของลักษณะภายนอก ในแต่ละชนิดของปลา กระเบนสกุลนี้ ซึ่งควรได้รับการตรวจสอบเพื่อยืนยันถึงสายพันธุ์ของปลากระเบน สกุลนี้เพื่อความถูกต้องของฐานข้อมูลในประเทศไทย การศึกษาในครั้งนี้จึงได้ทำการศึกษาการ อนุกรมวิธานทั้งลักษณะภายนอกและการวัดสัดส่วนในสัดส่วนต่าง ๆ ของปลากระเบนเพื่อเปรียบเทียบและหาความแตกต่างและนำเทคนิคทางชีวโมเลกุลมาศึกษาเพื่อตรวจสอบและยืนยันความถูกต้องของชนิดปลากระเบนในสกุลนี้ การศึกษาในครั้งนี้จึงมีความสำคัญสำหรับงานด้านการอนุกรมวิธานเพื่อใช้ในการจัดการทรัพยากรปลากระเบนที่ไม่ได้รับความสนใจเพื่อเป็นฐานข้อมูลในการอนุรักษ์และความหลากหลายของปลากระดูกอ่อน รวมไปถึงเพื่อยืนยันชนิดของปลากระเบนสกุล Brevitrygon ในประเทศไทย

นวัตกรรมอื่น ๆ

หุ่นจำลองเด็กอัจฉริยะสำหรับฝึกการกู้ชีพ (หุ่นเด็ก CPR)

วิทยาลัยนวัตกรรมการผลิตขั้นสูง

หุ่นจำลองเด็กอัจฉริยะสำหรับฝึกการกู้ชีพ (หุ่นเด็ก CPR)

หุ่นจำลองเด็กสำหรับใช้ฝึกการกู้ชีพ (CPR) ภายในตัวหุ่นมีกลไกหลอดลม กลไกคอ กลไกปอด กลไกการปั้มหัวใจ ผิวหนังเทียม และระบบเซนเซอร์ ทั้งหมดทำงานร่วมกันทำหน้าที่คล้ายเด็กจริง สามารถใช้ฝึกการปั้มหัวใจ และการผายปอดได้ โดยหุ่นได้รับการออกแบบและตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญการกู้ชีพ มีระบบประเมินความถูกต้องของการฝึกพร้อมแสดงผลในคอมพิวเตอร์สำหรับการตรวจสอบแบบทันที

การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากเสม็ดขาวอย่างยั่งยืน

คณะเทคโนโลยีการเกษตร

การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากเสม็ดขาวอย่างยั่งยืน

เป็นการศึกษาภูมิปัญญา ชีววิทยา และ สารสำคัญ เพื่อนำพืชเสม็ดขาว (Melaleuca cajuputu Powell) เพื่อการอนุรักษ์ และนำมาใช้ประโยช์ด้านเการเกษตร สุขภาพ และพลังงานชีวมวล

ระบบทำนายผลไม้เน่าเสียสำหรับภาคอุตสาหกรรม

คณะวิทยาศาสตร์

ระบบทำนายผลไม้เน่าเสียสำหรับภาคอุตสาหกรรม

ระบบตรวจจับผลไม้เน่ามีที่มาจากความต้องการในการลดการสูญเสียผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทั่วโลกโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมการเกษตรและการจัดจําหน่ายอาหาร ผลไม้ที่เน่าเสียจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์และสามารถก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจได้อย่างมาก การพัฒนาระบบตรวจจับผลไม้เน่าจึงมีเป้าหมายเพื่อช่วยในการคัดกรองและแยกผลไม้ที่ไม่เหมาะสมออกจากกระบวนการจัดส่ง เพื่อรักษาคุณภาพของสินค้าและตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคที่ต้องการผลไม้สดใหม่ ทางผู้จัดจึงได้จำลองระบบคัดแยกผลไม้เน่าเสียออกจากผลไม้สดโดยใช้รูปภาพเป็นปัจจัย ผลการทดลองออกมาอย่างมีประสิทธิภาพและมีความเร็วในการทำนายสูง