KMITL Innovation Expo 2025 Logo

โครงการเสนอแนะการออกแบบสถาปัตยกรรมภายใน ร้านค้าและนิทรรศการส่งเสริมเกษตรกร คชาทัย จังหวัดสุรินทร์

รายละเอียด

โครงการคชาทัย จังหวัดสุรินทร์ ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อเป็นพื้นที่ส่งเสริมและสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร โดยนำแนวคิดการออกแบบที่สะท้อนอัตลักษณ์ของจังหวัดสุรินทร์มาใช้เป็นแนวทางหลัก

วัตถุประสงค์

จังหวัดสุรินทร์เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพด้านการเกษตรและเป็นที่รู้จักในฐานะแหล่งเลี้ยงช้างที่สำคัญของประเทศไทย อีกทั้งยังมีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่น โดยเฉพาะวิถีชีวิตของชาวพื้นเมืองและการเกษตรแบบดั้งเดิม อย่างไรก็ตาม เกษตรกรในพื้นที่ยังคงเผชิญกับปัญหาด้านรายได้และการตลาดของสินค้าเกษตร โครงการคชาทัยจึงถูกพัฒนาขึ้นเพื่อเป็นกลไกในการส่งเสริมและสนับสนุนเกษตรกร รวมถึงช่วยเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในท้องถิ่น

นวัตกรรมอื่น ๆ

ห้องนิทรรศการจำลอง

คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ

ห้องนิทรรศการจำลอง

-

นวัตกรรมชุดการเลี้ยงหอยหวานทองในแนวตั้งเชิงพาณิชย์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วยระบบอควาโปนิกส์

คณะเทคโนโลยีการเกษตร

นวัตกรรมชุดการเลี้ยงหอยหวานทองในแนวตั้งเชิงพาณิชย์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วยระบบอควาโปนิกส์

นวัตกรรมชุดการเลี้ยงหอยหวานทองในแนวตั้งด้วยระบบอควาโปนิกส์เป็นรูปแบบของการเกษตรแบบผสมผสานระหว่างการเลี้ยงหอยหวานทองกับการปลูกผัก โดยระบบดังกล่าวโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อใช้พื้นที่ในแนวดิ่งให้เกิดประโยชน์สูงสุด ประหยัดน้ำในการเลี้ยงและผลิตพืชผักที่ปลอดภัยทั้งเพื่อการบริโภคหรือจำหน่าย รวมทั้งเป็นการเกื้อกูลระหว่างสิ่งมีชีวิตในระบบ ซึ่งหอยหวานทองจะขับถ่ายของเสียออกมา/เศษอาหารที่หลงเหลือจะถูกกรองบนวัสดุ ที่ใช้ในการบำบัดน้ำ ในขณะเดียวกันแบคทีเรียตามธรรมชาติจะช่วยเปลี่ยนของเสียต่างๆ เหล่านี้ให้อยู่ในรูปธาตุอาหารที่พืชนำมาใช้ประโยชน์ ดังนั้นระบบดังกล่าวจึงเป็นมิตรต่อต่อสิ่งแวดล้อม

การพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์ เรื่องขุนช้างขุนแผนตอนขุนช้างถวายฎีกาสำหรับเยาวชน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้วรรณคดี การท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในจังหวัดสุพรรณบุรี

คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ

การพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์ เรื่องขุนช้างขุนแผนตอนขุนช้างถวายฎีกาสำหรับเยาวชน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้วรรณคดี การท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในจังหวัดสุพรรณบุรี

ปัจจุบันเยาวชนขาดความสนใจและไม่เห็นความสำคัญของการเรียนวรรณคดี เพราะคิดว่าเป็นเรื่องยาก, ซับซ้อน และขาดสื่อการเรียนรู้ที่ทันสมัยและน่าสนใจ ดังนั้นผู้วิจัยจึงเลือกวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผนตอนขุนช้างถวายฎีกาที่ใช้สอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มาพัฒนาเนื่องจากเป็นวรรณคดีที่สะท้อนวิถีชีวิต ประวัติศาสตร์ ขนบธรรมเนียมประเพณี สถานที่ท่องเที่ยวที่มีอยู่จริง โดยจะพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์ให้ทันสมัย เหมาะกับเยาวชนเพื่อแก้ปัญหาจากการเรียนวรรณคดีดังที่กล่าวมา นอกจากนี้สื่อประชาสัมพันธ์ที่สร้างขึ้นสามารถใช้เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดสุพรรณบุรี โดยกลุ่มเป้าหมายของงานวิจัยคือเยาวชนอายุ 15-25 ปี มีจุดประสงค์ "เพื่อสร้างสื่อประชาสัมพันธ์สำหรับเยาวชนเรื่องขุนช้างขุนแผนตอนขุนช้างถวายฎีกา ที่สามารถ 1. สร้างความสนใจในการเรียนรู้วรรณคดี และ 2. สร้างแรงจูงใจในการท่องเที่ยวจังหวัดสุพรรณบุรีให้แก่เยาวชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05” งานวิจัยโครงการนี้จะแบ่งออกเป็น 3 โครงการย่อยที่ผสมทั้งงานวิจัยเชิงคุณภาพ เชิงปริมาณ และการปฏิบัติเข้าด้วยกันได้แก่ 1. การสร้างองค์ความรู้กรอบแนวคิดในการวิจัยสำหรับการออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์วรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน (เชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 10 ท่าน และเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถาม 600 ชุด) 2. การผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ที่ผสมสื่อมัลติมีเดียสำหรับเยาวชน ที่เชื่อมโยงกับสื่อโซเชียลมีเดียเรื่องขุนช้างขุนแผนตอนขุนช้างถวายฎีกา (การวิจัยเชิงปฏิบัติเพื่อสร้างสรรค์ผลงานประกอบด้วย e-book 1 ฉบับ, Youtube channel จำนวน 5 ตอน, Page Facebook และ Instagram) 3. การเผยแพร่และประเมินผลสื่อประชาสัมพันธ์เรื่องขุนช้างขุนแผน (เชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถาม 600 ชุดกับเยาวชนใน 6 ภาค)